Home ทริบเทคนิค/บทความ เปิดใจ” ฐิติมา แซ่เตีย” เผยเคล็ดลับ สอบเนติฯให้ได้คะแนนเกือบเต็ม “เวลานอนยังมีอีกมากในหลุมศพ”

เปิดใจ” ฐิติมา แซ่เตีย” เผยเคล็ดลับ สอบเนติฯให้ได้คะแนนเกือบเต็ม “เวลานอนยังมีอีกมากในหลุมศพ”

18941

 

เกียรตินิยม อันดับ 1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 63 ได้แก่ “ฐิติมา แซ่เตีย”

เธอทำให้ คณะนิติศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ภาคภูมิใจอย่างที่สุด

เพราะเธอเป็นคนที่สาม ในรอบ 30 ปีที่คว้าเกียรตินิยม อันดับ 1

ชั่วโมงนี้ ในเส้นทางของนักศึกษากฎหมายที่กำลังมุ่งหน้าสู่สนามสอบผู้พิพากษา ไม่มีใครไม่รู้จักเธอ

จริงๆ แล้ว เรื่องราวของ ฐิติมา แซ่เตีย หรือ หลา น่าสนใจกว่า คำว่าเรียนเก่ง เรียนดี

เพราะเธอ ยังมีแง่คิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนใคร ?

เมื่อเธอผ่านวิกฤตด้านสุขภาพ มาได้อย่างมีสติและมีความมั่นคงในจิตใจ

ถ้าคุณเป็นนักกฎหมาย หรือ มีลูกเรียนกฎหมาย ต้องอ่านเรื่องราวต่อไปนี้
หลา เกิดและเติบโตขึ้นมาที่จังหวัดสกลนคร เริ่มต้นชั้นอนุบาลที่ ร.ร. เซนต์โยเซฟสกลนคร จนถึง ป.4 พอขึ้น ป.5 หลา ย้ายไปเรียนที่ ร.ร. เชิงชุมราษฎร์นุกูล จ.สกลนคร และเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาที่ ร.ร. สกลราช วิทยานุกูล จนจบ ม.6 หลังจากนั้น ในปี 2544 เข้าศึกษาต่อในคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาบัญชี

หลังจากสำเร็จการศึกษา เข้าทำงานเป็น ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่บริษัทสำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างที่ทำงาน มาสมัครเข้าศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเข้าศึกษา ในปีการศึกษา 2550และสำเร็จการศึกษาในปี 2553 และปีเดียวกันนั้นเองเรียนต่อระดับชั้นเนติบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาในปี 2554

ในช่วงเวลาที่เข้ามาเรียนบัญชีจุฬาฯจนกระทั่งจบนิติศาสตร์ อยู่หอพักคนเดียวมาตลอด มี เหงาบ้าง แต่ก็ใช้การอ่านหนังสือ เพราะรักการอ่าน ไม่ว่าจะ เป็นหนังสือ นวนิยาย หรือหนังสือธรรมะ สิ่งที่โชคดีที่สุดในชีวิต คือการที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อแม่ เพราะท่านทำให้มีทุกวันนี้ ครอบครัวไม่เคยทำให้รู้สึกเครียด หรือกดดันในเรื่องของการเรียนหรือการสอบเลยแม้แต่น้อย ทำให้มีความสุขและมีสมาธิกับการอ่าน และสามารถจดจำเนื้อหาที่อ่านได้ดี

เรื่องเล่าของหลา

สิ่งที่ ดิฉันจะบอกเล่าต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ตัวเองได้ปฏิบัติในช่วงที่เรียนชั้นเนติบัณฑิต อาจจะฟังดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อสำหรับใครหลายๆ คนแต่สำหรับคนที่ใกล้ชิดและรู้จักดิฉันเป็นอย่างดี จะไม่แปลกใจเลย สิ่งเหล่านี้มิได้มาเริ่มต้นที่ชั้นเนติบัณฑิต แต่ได้ปฏิบัติมาสม่ำเสมอ ตั้งแต่ชั้นปริญญาตรีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการท่องตัวบท เกือบทุกมาตราที่ท่องที่เนติบัณฑิต

ดิฉันเคยท่องมาก่อนแล้วทั้งสิ้น (ยกเว้นกฎหมายพิเศษบางฉบับ) ดังนั้น เมื่อมาท่องอีกครั้ง จึงใช้เวลาไม่มากเลย นอกจากนี้เรื่องของการเขียนตอบ ข้อสอบก็ได้ฝึกการตอบแบบ “ล้อตัวบท” มาตั้งแต่ปีแรกที่ศึกษานิติศาสตร์เช่นกัน และได้ฝึกทำข้อสอบเก่าส่งให้ท่านอาจารย์ช่วยตรวจอยู่เสมอ ส่วนเรื่องของการมีระเบียบวินัยในตนเอง ก็ฝึกมาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาเรื่อยมา

จนกระทั่งเรียนบัญชี ทำงาน เรียนนิติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน มิได้ต้องการให้ใครเชื่อหรือ ปฏิบัติตาม สิ่งที่ดิฉันทำค่อนข้างจะแตกต่างกับคนอื่นๆ เกือบจะทุกเรื่อง
ดังนั้น ขอให้ทุกท่านใช้วิจารณญาณ ศึกษาแนวทางของผู้ที่ประสบความสำเร็จ ท่านอื่นๆ ประกอบด้วย ขอให้ทุกท่านหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับอุปนิสัยของ
ตนเองให้พบ เพราะสิ่งที่เหมาะสมกับคนๆ หนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกคนหนึ่งก็เป็นได้

เคล็ด (ไม่) ลับ

ดิฉันยึดตัวบทเป็นสรณะ จะท่องตัวบทเป็นประจำในชั้นเนติบัณฑิต เริ่มท่องตัวบทตั้งแต่วันเปิดภาคเรียนวันแรก ภาคที่หนึ่ง วันละประมาณ 10 มาตรา (แพ่งและอาญา) ภาคที่สอง วันละประมาณ 6 มาตรา (วิแพ่งและวิอาญา) โดยไม่ได้ท่องทุกมาตราแต่จะท่องเฉพาะมาตราที่ออกสอบในช่วง 15 ปีย้อนหลังนอกจาก นี้ก็ดูใน
รวมคำบรรยายของภาคกลางวันและการเข้าเรียนในภาคค่ำว่ามีมาตราใดที่อาจารย์สอนหรือให้ความสำคัญนอกเหนือไปจากนี้หรือไม่ และท่องเพิ่มเติม

ข้อดีของการท่องตัวบท

1. ก า ร เขีย น ต อ บ ข้อ ส อ บ จ า กประสบการณ์ที่เคยทำข้อสอบ ทำให้พบว่าการเขียนตอบโดย “ล้อตัวบท” คือ ใช้ถ้อยคำในกฎหมาย จะทำให้ได้คะแนนสูง

2. เมื่อเข้าฟังคำบรรยาย หรืออ่านหนังสือ ถ้าเป็นมาตราที่ท่องมาแล้วจะทำให้สามารถฟังที่อาจารย์อธิบาย และอ่านหนังสือ โดยทำความเข้าใจได้เร็วขึ้นโดยที่ไม่ต้องพลิกเปิดตัวบท ซึ่งอาจทำให้เสียสมาธิในการฟังและอ่าน

3. หากแม่นหลักกฎหมายแล้ว แม้ข้อสอบ จะออกคำพิพากษาฎีกาที่ไม่เคยอ่านมาก่อน อย่าง น้อยเขียนหลักกฎหมายตอบไป ก็จะพอได้คะแนน อย่างเช่น ตัวเอง เมื่อครั้งที่สอบข้อสอบกลุ่มกฎหมายแพ่ง สมัย 63 ข้อ 2 ซึ่งเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ดิฉันไม่เคยเห็นคำพิพากษาฎีกาที่นำมาออกข้อสอบข้อนี้มา
ก่อน ตอนแรกก็คิดไม่ออกว่าเป็นเรื่องอะไร จึงทำแผนภูมิรูปภาพ ตัวละครที่เกี่ยวข้องว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และลองไล่มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ นิติกรรมหรือหนี้ ก็เห็นว่าน่าจะเป็นมาตรา 374 , 375 ก็ลองตอบไปและได้มาถึง 8 คะแนน

4 . การที่แม่นตัวบทเวลาทำข้อสอบจะทำให้จับประเด็นในข้อสอบได้ว่าแต่ละประโยคกำลังถามเรื่องอะไร หรือหลอกเรื่องอะไร

วิธีการท่อง

หนึ่ง . จะพกตัวบทเล่มเล็กๆ ติดตัวเป็นประจำ ว่างเมื่อไหร่ก็หยิบขึ้นมาท่อง ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่นั่งรออาจารย์สอนในห้องบรรยาย ขณะเดินทาง ขณะออกกำลังกาย
หรือแม้แต่ขณะรับประทานอาหารในบางครั้ง (ช่วงใกล้สอบ) เป็นการใช้เวลาแต่ละนาทีให้คุ้มค่าที่สุด

สอง. ท่องประมาณวันละ 10 มาตรา แต่ก่อนขึ้นมาตราใหม่ ต้องทวนของเก่าก่อนเสมอซึ่งจะทวนย้อนหลังประมาณ 3 วันและทุกวันอาทิตย์จะไม่ขึ้นมาตราใหม่ แต่จะทวนของเก่าที่เคยท่องมาทั้งหมด

เทคนิคการจำตัวบท

ดิฉันจะจำตำแหน่งของแต่ละมาตราใน ตัวบทไปด้วย เวลาทวน นึกภาพให้ออกว่ามาตรา ที่กำลังท่องอยู่ อยู่ตำแหน่งไหน หน้าซ้ายหรือ ขวา บน กลาง หรือล่าง มีกี่
วรรค คือ พยายาม จำเป็นรูปภาพจะทำให้จำได้ง่ายและไม่ค่อยลืม

อ่านหนังสืออะไรบ้าง

ด้วยความสัตย์จริง ดิฉันอ่านเพียงรวม คำบรรยาย สมุดเล็กเชอร์ในวิชาที่เข้าเรียนและ ข้อสอบเก่าเท่านั้น โดยสิ่งเหล่านี้ มิได้อ่าน เพียงรอบเดียว มีคนชอบถามว่าอ่านจูริส (พิสดาร) รึเปล่า ขอตอบได้ทันทีว่าไม่ได้อ่าน และไม่รู้ จักด้วยซ้ำไป ส่วนตำราของอาจารย์ผู้บรรยาย ดิฉันก็ไม่ได้อ่านเช่นกัน แม้ว่าจะมีคนเมตตามอบ ให้มา
หลายเล่ม แต่ก็ไม่มีเวลาอ่านจริงๆ

รวมคำบรรยาย

ดิฉันอ่านรวมคำบรรยายได้หลายรอบ เพราะโชคดีที่ได้รวมคำบรรยายของสมัย ก่อนมาตั้งแต่เปิดภาคเรียน เมื่อเห็นว่าคำบรรยาย ในแต่ละปีไม่ค่อยแตกต่างกันมากจึงยึด คำบรรยาย (สมัยก่อน) เป็นตำราหลักในการอ่าน และรับคำบรรยายใหม่ด้วย โดยนำมาเปรียบเทียบกับของเก่า แล้วทำเครื่องหมายในส่วนที่เพิ่มเติม ขึ้นมา และในคำบรรยายใหม่ ก็จะอ่านเฉพาะที่เพิ่มเติมขึ้นมาเท่านั้น

ข้อสอบเก่า

ช่วง 6 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบ จะเริ่มนำข้อสอบเก่ามาฝึกทำ โดยทำสลับกับการ อ่านคำบรรยาย คือ ไม่ได้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียง อย่างเดียว ก็ยังอ่านรวมคำบรรยายเป็นหลัก ช่วง เวลาที่ใช้สำหรับข้อสอบเก่ามีเพียงวันละประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น จะดูข้อสอบเก่าย้อน หลังไป 20 ปี อ่าน 2 รอบ รอบที่ 1 ฝึกคิดไป ด้วย ยังไม่เปิดดูธงคำตอบในทันที พยายามหา คำตอบเองก่อน และจะฝึกเขียนจริงๆ ประมาณ 40 ข้อ โดยลองจับเวลา เสมือนหนึ่งว่ากำลังนั่ง อยู่ในห้องสอบจริง รอบที่ 2 เป็นการอ่านธงคำตอบอย่างเดียวในช่วง 1-2 วันก่อนสอบ เพราะเป็นไปได้ ที่ประเด็นที่ได้ออกข้อสอบไปแล้ว จะถูกนำมาออกอีกในปีนี้ จึงดูเผื่อไว้และดูสำนวน

การเขียนในธงคำตอบด้วย

การฝึกทำข้อสอบเก่า จะมีส่วนช่วยให้สามารถหาประเด็นในข้อสอบได้เร็ว เพราะเราฝึกสมองมาบ้างแล้ว นอกจากนี้ ดิฉันมีความคิดว่าการตอบข้อสอบกฎหมาย
เป็นทักษะอย่างหนึ่ง ซึ่งจะมีความชำนาญได้ ก็ต่อเมื่อได้มีการฝึกฝน ดังนั้น การฝึกเขียน จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
การเขียนตอบ

รูปแบบการเขียน ฟังดูแล้วก็เหมือนกับการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายทั่วไปคือ เริ่มจากการวางหลักกฎหมาย ปรับบท และสรุป แต่สิ่งที่ ดิฉันทำต่างไปจากคนทั่วๆ ไป รวมทั้งที่อาจารย์หลายท่านแนะนำ คือ จะเขียนตอบค่อนข้างยาว ข้อหนึ่งเฉลี่ยประมาณ 2-3 หน้ากระดาษ ลำพังแค่วางหลักกฎหมายก็ประมาณหนึ่งหน้ากระดาษแล้ว โดยที่ผ่านมา ทุกข้อ จะใส่ตัวเลขทุกมาตราที่ต้องใช้ ข้อดีของการจำเลขมาตรา ก็คือ เมื่อเรากล่าวซ้ำอีก จะช่วยประหยัดเวลา ไม่ต้องอธิบายหลักกฎหมายอีก

ในส่วนของการปรับบท จากการที่ท่องตัวบทได้จึงปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายโดย “ล้อตัวบท” ดังนั้น ภาษาที่ใช้จึงสละสลวย ซึ่งดิฉันเชื่อว่าจุดนี้ทำให้ได้คะแนนดี สำหรับการสรุป จะกลับไปอ่าน คำถามซ้ำอีกครั้งว่าถามว่าอย่างไรบ้าง และตอบ สรุปให้ครบทุกประเด็น

การพักผ่อน

เนื่องจาก ดิฉันไม่ต้องทำงานไปด้วย จึง อ่านหนังสือไปเรื่อยๆ แบบไม่เครียดมากนัก ล้า ก็พัก ง่วงก็นอน ละครหลังข่าวก็ดูทุกคืน แต่ก่อนนอนจะสวดมนต์ แล้วจึงเข้านอน จะเห็นได้ว่าช่วงเวลาที่ใช้สำหรับการอ่าน คำบรรยายจริงๆ จะอยู่ในช่วง 08.00 น. ถึง 16.00 น. เป็นส่วนใหญ่ ช่วงเวลานอกนั้นก็จะเน้นที่การท่องตัวบท
นอกจากนี้ในวันอาทิตย์ จะให้เวลากับตัวเองโดยการเข้าวัด ฟังพระธรรมเทศนา และ เข้าร้านหนังสือเพื่ออ่านนวนิยาย หรือหนังสือ ธรรมะที่ออกใหม่ ความสุขของแต่ละคนย่อมไม่ เหมือนกัน สำหรับตัวเองมีความสุขกับการ อยู่กับตัวเอง อยู่กับครอบครัว วัด และหนังสือ ซึ่งอาจดูแปลกสำหรับคนวัยนี้

ชีวิตโรยด้วยกลีบกุหลาบ? ถ้าวันหนึ่งผิดหวังจะรับได้รึเปล่า?

อยากบอกว่าไม่มีใครที่จะสมบูรณ์ไปหมด ทุกอย่างหรอกนะคะ สำหรับตัวเอง ก็เคยมีอุปสรรคขวากหนามเข้ามาในชีวิตบ้าง เคยมีปัญหาสุขภาพหลายอย่างพร้อมๆ กัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกับคนอื่น บางคนอาจหาทางออกไม่ได้และ คิดสั้นก็มี แต่สำหรับตัวดิฉันเองโชคดีที่ได้ศึกษาธรรมะมาในระดับหนึ่ง ประกอบกับกำลังใจจากครอบครัว เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ที่จะรับมือกับทุก สิ่งทุกอย่างในชีวิตนี้

คิดว่าคงไม่ได้พบเจออะไรที่ ร้ายแรงไปกว่าตอนที่ป่วยตอนนั้นอีกแล้ว แม้ตอนที่ไม่สบาย ดิฉันจะต้องอ่านหนังสือไป กินยา ไป บางทีก็ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ แต่ก็ไม่เคยทุกข์หรือท้อกับตรงนั้น กลับคิดว่าโชคดี เสียอีก ที่ได้มีโอกาสพิจารณาธรรมในหลายๆ เรื่อง

ที่สำคัญที่สุดคือปัจฉิมโอวาทขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า “สังขารทั้งหลายมี ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท เถิด” ดิฉันเข้าใจกระจ่างชัดก็ตอนนั้นเอง ทุกวันนี้ ยังคงขอบคุณความเจ็บป่วยที่เข้ามา เตือนว่าจงอย่าประมาทกับการใช้ชีวิตนะ

คติประจำใจอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่รู้ หรอกว่าพรุ่งนี้กับชาติหน้า อะไรจะมาถึง ก่อนกันสำหรับใครที่เป็นห่วงดิฉันขอบอกว่า ไม่ต้องเป็นห่วงแล้วนะคะ ทุก วันนี้ ดิฉันหายป่วยจากทุกโรคที่เคยเป็นแล้วตอนนี้พร้อมทั้งกำลังกายและกำลังใจที่จะดำรง ชีวิตต่อไปแล้วค่ะ

เวลาท้อทำอย่างไร

จริงๆ แล้ว ดิฉันไม่ค่อยท้อ ทำไปเรื่อยๆ ตามกำลังและสติปัญญา ดิฉันโชคดีที่รักการอ่านมานานแล้ว จึงค่อนข้างจะมีความสุขกับการ ได้อ่าน แต่จะมีบ้างเวลาที่เหนื่อย หรือล้า จะระลึกถึงคุณพ่อคุณแม่เป็นกำลังใจ นึกถึงความเหนื่อยยากลำบากที่ท่านเลี้ยงดูมาและความหวังว่าจะได้ทดแทนพระคุณของท่านในภายหน้า เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้รู้สึกว่า เหนื่อยไม่ได้นะ ขี้เกียจไม่ได้นะ นอกจากนี้ เวลาที่ขี้เกียจหรืออยากนอน จะระลึกถึงคำสอนของอาจารย์ที่ว่า “เวลานอนยังมีอีกมากในหลุมศพ” พอนึกได้อย่างนี้ ก็จะมีความพยายามที่จะอ่านต่อมากขึ้น

สิ่งที่ยึดถือเป็นสรณะ (นอกจากตัวบท)

ดิฉัน เชื่อมาโดยตลอดว่า คนที่มีความ กตัญญูกตเวที ย่อมประสบความสำเร็จแน่นอน การกตัญญูไม่ใช่แค่กับบุพการีเท่านั้น หมายรวมถึงผู้มีพระคุณทุกท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ เป็นผู้ที่จะล่วงเกินมิได้ ดิฉันเห็นน้องๆ หลายคนเรียกอาจารย์ด้วยชื่อเฉยๆ ทำให้รู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่งอาจารย์ ซึ่งสอนธรรมะให้แก่

ดิฉัน เคยกล่าวไว้ว่า ผู้ใดก็ตามที่ให้ความรู้กับเรา แนะนำสั่งสอนเรา แม้เพียงประโยคเดียวหรือชั่วเวลาสั้นๆ ถ้าสิ่งที่ท่านกล่าวนั้นเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เราต้องเรียกท่านผู้นั้นว่า “ครู” ดิฉันขอฝากไว้อีกนิดว่า เราเป็นศิษย์ ต้องเคารพครู เป็นลูก ก็ต้องเคารพคุณพ่อคุณแม่ แล้วชีวิตจะมีแต่คำว่า “เจริญ”

สุดท้ายที่อยากฝาก

อีกสิ่งที่เชื่อเพราะประสบมาด้วยตัวเองก็คือ คนเรา เก่งอย่างเดียว ไม่สามารถมีความสุขได้ ในอดีตเคยเรียนหนังสือเก่งมากๆชีวิตมีครบทุกอย่างขาดเพียงอย่างเดียว คือ “ความสุข” ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้น และก็ไม่เข้าใจคนอื่น จึงได้เริ่มศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากวันนั้นจนวันนี้
เป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว ชีวิตก็ได้พบกับความสุขที่ควรจะเป็นเรื่องการปฏิบัติธรรมนั้น

ดิฉันไม่ได้เก่งกล้าอะไรเลย รู้เพียงงูๆ ปลาๆประหนึ่งเด็กอนุบาลเท่านั้น แต่อย่างน้อยก็บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว คือแค่อยากมีความสุข ซึ่งความสุขของคนเรานั้น ไม่ได้ อยู่ที่ว่า เราได้ เรามี หรือเราเป็นอะไรหรอกนะคะ แต่อยู่ที่ใจของเรานี่เองว่าคิดอย่างไร เคยได้ยินไหมคะว่า “สุข หรือทุกข์อยู่ที่ใจ” นอกจากนี้ ถ้าเราคิดดี พูดดี ทำดี แล้วสิ่งดีๆ ในชีวิตก็จะตามมาเอง โดยที่เราไม่ต้องดิ้นรนไขว่คว้าเลย

(จาก จุลสารสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ )
=============================
Tag hit
ตั๋วทนาย.com การสอบใบอนุญาตทนายความ ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย สอบทนาย ตั๋วรุ่น ตั๋วปี
สอบภาคทฤษฎี สอบภาคปฏิบัติ ตั๋วทนาย สอบตั๋ว

Facebook Comments