Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ เคล็ดวิชา เรียนเนติอย่างไรให้ได้ดี

เคล็ดวิชา เรียนเนติอย่างไรให้ได้ดี

8711

เคล็ดวิชาเรียนเนติอย่างไรให้ได้ดี
image
ภวิศร์ เชาวลิตถวิล

เรามักจะเคยได้ยินคนพูดกันเสมอว่า การเรียนที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และการสอบผ่านเพื่อเป็นเนติบัณฑิตนั้นเป็นเรื่องยากแต่ผมคิดว่าความยากอยู่ที่ว่า
“เราสามารถชนะใจของเราได้หรือไม่” และเรามี “การวางแผนการเรียน การอ่านหนังสือที่ดีหรือไม่ อย่างไร” มากกว่า
เราไม่สามารถรู้ได้ว่า เราต้องขยันสักเพียงใด เราจึงจะสอบผ่าน แต่ขอให้ทุกคนคิดว่าหากเราทำเต็มความสามารถของเราแล้ว ผลจะออกมาเป็นอย่างไรเป็นเรื่องของอนาคต คำถามคือ “เราพยายามเต็มที่แล้วหรือยัง” ต่างหาก
การเรียนเนติฯ ให้ประสบความสำเร็จ เปรียบเสมือน “การเตรียมตัวอย่างไรให้รบชนะ” จำต้องมีการวางแผน และต้องทำให้ได้ตามแผนที่เราวางไว้ด้วย แต่ขอทำความเข้าใจในเบื้องต้นนี้ก่อนว่าเราไม่ได้มุ่งจะเอาชนะเพื่อนของเรา
หากแต่เรามุ่งที่จะชนะตัวเองและเพื่อผ่านการทดสอบ(การที่เพื่อนช่วยเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งของการประสบความสำเร็จในการเรียนเนติฯ)
ในบทความนี้ผมจะเล่าถึงแผนการเรียนของผมแต่อย่าเชื่อ ขอให้คิด ไตร่ตรอง ทบทวน และปรับให้เข้ากับวิธีการเรียนของแต่ละท่านตามความเหมาะสม
๑.) การทำจิตใจให้สงบ ข้อนี้เป็นพื้นฐานสำคัญ เพราะการเรียนเนติฯ โดยเฉพาะน้อง ๆ ที่เรียนเป็นปีแรก ย่อมมีความกลัวเป็นเรื่องธรรมดาเช่นเดียวกับผมเมื่อปีแล้ว การขอพรต่อสิ่งที่ท่านเคารพนับถืออาจช่วยท่านได้ เพราะจะทำให้จิตใจ
ของท่านสงบ มีสมาธิในการอ่านตัวบท อ่านฎีกา อ่านตำรา อ่านข้อสอบ โดยปฏิญาณตนว่าจะอ่านหนังสือให้ได้ตามแผนที่วางไว้ เช่น ตอนกลางคืน ก่อนนอน ตอนเช้าก่อนไปเรียนหรือไปทำงานเป็นต้น และผมมั่นใจว่าผลของการกระทำเช่นว่าจะ
ส่งผลให้ท่านสอบผ่านอย่างแน่นอน ตามหลัก “causation” (หลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำผละผล)
๒.) การกำจัดจุดอ่อน เราต้องสำรวจตัวเองว่าเรามีจุดบกพร่องตรงไหน (ห้ามตอบว่ามีจุดอ่อนทุกจุด) ควรทำความเข้าใจในวิชานั้นให้มากที่สุดสำหรับผมนั้น จุดอ่อนคือกฎหมายพิเศษจึงพยายามเข้าเรียนคาบที่เป็นกฎหมายพิเศษ
ที่เรายังไม่เข้าใจโดยเฉพาะภาคทบทวนวันอาทิตย์ซึ่งท่านอาจารย์จะสอนหลักสำคัญ ๆ ทำให้ง่ายต่อการอ่านหนังสือด้วยตนเองต่อไป
ขอเน้นย้ำ ณ ที่นี้ว่า จงอย่าทิ้งวิชาใดวิชาหนึ่งแม้แต่วิชาเดียว เพราะคะแนนเพียง ๑ – ๒ คำแนนบางครั้งอาจมีค่ามาก ส่งผลให้เราสอบผ่านหรือตกได้เลยทีเดียว
๓.) รวมคำบรรยาย คำบรรยายเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งแต่ผมแนะนำว่าควรมีคำบรรยายของปีก่อนหน้านี้ประกอบด้วย เพราะจะทำให้เราสามารถอ่านล่วงหน้าได้โดยไม่จำเป็นต้องรอคำอธิบายอาทิตย์ต่ออาทิตย์ อีกทั้งเราสามารถเตรียม
ตัวอ่านมาก่อนเข้าเรียนได้อีกด้วย (สำหรับผู้ทึ่ไม่สามารถซื้อได้ สามารถหาศึกษาได้ที่ห้องสมุดเนติฯ)
แต่ทั้งนี้ คำอธิบายปีปัจจุบันก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัย โดยเฉพาะบทบรรณาธิการของท่านอาจารย์ ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ ซึ่งมีการรวบรวมคำพิพากษาฎีกาไว้อย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ส่วนในตัวของคำบรรยาย
นั้นขอแนะนำว่าอย่าไปเคร่งเครียดกับมันมาก เพราะการอ่านจบให้ครบทุกตัวอักษร เป็นการเกินความจำเป็นเพราะจุดประสงค์ของการเรียนเนติฯ คือการที่เราสามารถปรับบทกฎหมายใช้ได้ในทางปฏิบัติ กล่างคือ การศึกษาจากคำพิพากษาฎีกา
นั่นเองที่เป็นหลักดังนั้นหากเรามีพื้นฐานความรู้เป็นอย่างดีในเรื่องใดแล้ว ควรเน้นที่คำพิพากษาศาลฎีกาเป็นหลัก
๔.) การเข้าเรียน ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนเนติฯ เพราะดังที่กล่าวข้างต้นการปรับกฎหมายในทางปฏิบัติเป็นเรื่องสำคัญกระบวนการคิด การทำความเข้าใจในคำพิพากษาฎีกา บางครั้งการอ่านหนังสืออยู่บ้านแต่
เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลที่ดีมากนัก การที่ได้เข้าเรียน ได้ฝึกความคิดพร้อม ๆ กับท่านอาจารย์ มีปัญหาปรึกษาเพื่อนผมคิดว่าเป็นวิธีที่ดี ทำให้เราเข้าใจและสามารถนำกฎหมายไปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง
สำหรับผม การเข้าเรียนให้มีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์สูงสุด คือ
(๔.๑) การจดเล็กเชอร์ไปด้วยทุกครั้งที่เข้าเรียน ไม่ควรนั่งฟังการบรรยายแต่เพียงอย่างเดียวเพราะสมาธิจะหลุดไปหาครอบครัว คนรัก การงานการบ้าน การเรือนได้อย่างง่ายดาย การจดเล็กเชอร์จะช่วยให้เราฝึกคิด ฝึกจับประเด็น
ฝึกเขียนภาษากฎหมาย ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ทั่งสิ้นเมื่อเราต้องเข้าสู่สนามสอบ
(๔.๒) ควรพกประมวลกฎหมายมาเรียนด้วยทุกครั้งให้เปรียบเสมือนเป็นดาบคู่กาย ขณะเข้าเรียนท่านอาจารย์สอนมาตราใด ให้อ่านประมวลไปด้วบโดยอ่านหลาย ๆ รอบจนคุ้นเคยกับมาตรานั้น ๆ เพื่อแบ่งเบาภาระเมื่อใกล้สอบ
จะได้ไม่ต้องท่องมากเพราะได้อ่านจนคุ้นเคยแล้ว บางท่านใช้วิธีท่องก่อนสอบเพียง ๔ – ๕ วัน การจดจำให้แม่นยำเป็นเรื่องยากมาก
(๔.๓) เข้าเรียนเฉพาะวิชาที่ท่านคิดว่าฟังแล้วเข้าใจ( ควรเข้าเรียนด้วยตนเองทุกคาบก่อน) เพราะการเข้าเรียนมากเกินไป อาจกลายเป็นผลเสียได้เพราะเราต้องแบ่งเวลาในการศึกษาด้วยตนเองด้วยดดังนั้นควรมีการวางแผนจัด
ตารางเรียนเป็นของตนเองและควรเข้าเรียนในวิชานั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ
(๔.๔) เมื่อเข้าเรียนแล้ว หากมีข้อสงสัยห้ามเก็บได้เด็ดขาด ให้ปรึกษาเพื่อน ปรึกษาท่านอาจารย์ผู้บรรยาย กากรได้คำตอบจากความสงสัยของเราเองหรือแม้แต่การปรึกษาปัญหากฎหมายในกลุ่มเพื่อน จะทำให้เราจดจำปัญหา
กฎหมายนั้นได้แม่นยำ
๕.) การอ่านหนังสือ การอ่านตัวบท ทุกคนควรมีตารางอ่านหนังสือเป็นของตัวเอง วางแผนให้ดีว่า สัปดาห์นี้จะอ่านวิชาใด เมื่ออ่านคำบรรยาย (เท่าที่จำเป็น) แล้ว จะอ่านรวมคำพิพากษาฎีกาเรื่องอะไร สำคัญที่สุดคือ “ตัวบท”
การอ่านหนังสือควรมรตัวประกอบด้วยทุกครั้ง อ่านตัวบทบ่อย ๆ ให้ชินกับขอความในตัวบท เพราะการตอบข้อสอบให้ได้ผลดีนั้นนอกจากวินิจฉัยผลแห่งกรณีถูกต้องแล้วยังต้องวางหลักกฎหมายให้ถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำด้วย
มักจะมีคำถามว่า ต้องอ่านหนังสือทั้งหมดที่รอบ… ผมคงไม่อาจตอบเป็นจำนวรที่แน่ชัดได้ทั้งนี้เพราะเวลาว่างอ่านหนังสือของแต่ละคนไม่เท่ากันแต่ผมแนะนำว่าควรอ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้แต่ข้อสำคัญคือต้องอ่านให้ถูก
จุด เน้นในประเด็นที่สำคัญ ๆ “อย่าอ่านทุกอย่างที่มี แต่ให้อ่านทุกอย่างที่สำคัญ”
การอ่านตัวบทต้องตำเลขมาตราหรือไม่…ผมคิดว่าการจำเลขมาตราได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าหากจดจำไม่ได้จริง ๆ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เพียงวางหลักกฎหมายให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงก็เพียงพอแล้ว
๖.) คำพิพากษาฎีกา การจดจำหลักสำคัญ ๆ ของคำพิพากษาฎีกาที่วางหลักเป็นบรรทัดฐานเป็นสิ่งสำคัญ โดยท่านไม่จำเป็นต้องท่องเลขคำพิพากษาฎีกา ตัวอย่างเช่น
“บุคคลที่อยู่ในภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ที่กำลังหนีภัยจากการกลุ้มรุมทำร้าย ย่อมจะเกณฑ์ให้มีความระมัดระวังเหมือนอย่างบุคคลธรรมดาย่อมไม่ได้”
“การลงมือกระทำความผิดต้องเป็นการกระทำที่ผู้กระทำได้กระทำลงจนใกล้ชิดกับผลสำเร็จอันพึงเห็นได้ประจักษืแล้ว”
“คำว่า “ที่ตนได้เข้าไป” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ หมายถึงว่า ผู้กระทำจะต้องเข้าไปในเคหสถานทั้งตัว มิใช่เพียงแต่ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้กระทำล่วงล้ำเข้าไปในเคหสถาน” (ล้วงมือไปหยิบเงินในเคห
สถานไม่ผิด มาตรา ๓๓๕ (๘))
“การขอให้ศาลกำหนดวิธีการชั่วคราวตามมาตรา ๒๖๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องเป็นการขอคุ้มครองเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพากษาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา”
คำสำคัญเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากเวลาตอบข้อมสอบฉะนั้นเมื่ออาจารย์ผู้บรรยายเน้นมาตราใดหรือคำพิพากษาฎีกาฉบับใด ควรจดจำไว้และนำมาอ่านอยู่เสมอ ๆ

๗.)การฝึกทำข้อสอบ ถามว่าจำเป็นหรือไม่…… ตอบว่าจำเป็นแต่ไม่มากนัก ผมคิดว่านักศึกษากฎหมายทุกท่านย่อมมีแนวทางการเขียนเป็นของตัวเอง แต่จะดีหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้นการฝึกเขียยนเพื่อให้ท่านอาจารย์ช่วย
ตรวจให้เป็นเรื่องที่สำคัญ จะทำให้เรารู้ตัวเองว่าเรามีจุดบกพร่องตรงไหนอย่างไร แต่อย่าเคร่งเครียดกับมันมากนัก ไม่จำเป็นต้องฝึกตอบข้อสอบทุกวัน ผมคิดว่าการเข้าเรียนและจดเล็กเชอร์เป็นการฝึกทักษะในการเขียรภาษากฎหมายรูป
แบบหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการตอบข้อสอบ เพียงแต่ว่าในการตอบนั้น ควรตอบให้กระชับ สั้น ได้ใจความ ตรงประเด็นกับผู้ออกข้อสอบต้องการถาม
การอ่านข้อสอบย้อนหลังก็มีความสำคัญ เช่นเดียวกันควรให้เวลากับการอ่านข้อสอย้อนหลังสัก ๕ ปี เพื่อที่เราจะได้รู้ถึงแนวข้อสอบว่าเป็นอย่างไรควรให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือในประเด็นไหนแต่ข้อสำคัญ คือถ้าทำไม่
ได้อย่าเสียกำลังใจเพราะข้อสอบที่เราอ่านนั้นมีไว้สำหรับผู้ที่เตรียมตัวสอบพร้อมแล้ว แต่เราเพิ่งเริ่มอ่านเท่านนั้น ฉะนั้นเพียงแค่อ่านผ่าน ๆ เพื่อรู้แนวทางเท่านั้น ฉะนั้นเพียงแค่อ่านผ่าน ๆ เพื่อรู้แนวทางเท่านั้น อย่าคิดมาก
๘.)การเก็งข้อสอบ การเข้าเรียน การอ่าน หนังสือ การถกเถียงประเด็นตามคำพิพากษาฎีกากับเพื่อน ๆ จะเป็นการเก็งข้อสอบไปด้วยในตัว ซึ่งตรงบ้างไม่ตรงบ้างเป็นธรรมดาของการสอบเนติฯแต่เราควรเตรียมตัวให้พร้อม อ่าน
ครอบคลุมให้หมอและการเก็งข้อสอบมีข้อดีคือ เรามีสิ่งที่ควรเน้นย้ำท่องมาตราตามฎีกาให้แม่นยำ แต่ทั้งนี้ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะอ่านเท่าที่เก็ง ควรเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
๙.) การทำข้อสอบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละคน แต่วิธีการของผมคือ
(๙.๑) เมื่อได้ข้อสอบมาแล้ว อ่านข้อสอบให้ครบทุกข้อก่อนเขียนมาตราที่จะปรับใช้ลงไว้ในกระดาษข้อสอบ ทั้งนี้เพราะหากเราคิดเสร็จเรียบร้อยทุกข้อแล้ว การเขียนตอบข้อสอบไม่น่าจะยากผมคิดว่าการอ่านแล้าทำทีละข้อเพราะ
ข้อท้ายเราอาจจะไม่มีเวลาคิด ส่งผลให่การเขียนจอบข้อสอบไม่ดีตามไปด้วย
(๙.๒) ต้องจำกัดเวลาไม่เกิน ๒๐ นาทีต่อหนึ่งข้อ บริหารเวลาให้ดี ไม่ควรให้เวลากับบางข้อนานเกินไป เพราะทุกข้อล้วนมีคะแนนที่เท่ากัน
(๙.๓) ข้อใดมั่นใจให้ทำข้อนั้นก่อน โดยการตอบข้อสอบของผมจะใช้ “วิธีผสม” กล่าวคือ ข้อใดที่มั่นใจทั้งเรื่อง หลักกฎหมายและธงคำตอบจะใช้วิธีวางหลักกฎหมายก่อนเพราะผมถือว่าเป็นการสร้างความประทับใจเป็นครั้งแรก
(First Impression) ให้กับผู้ตรวจข้อสอบ จากนั้นจึงปรับหลักกฎหมายนั้นเข้ากับข้อเท็จจริง และสรุปในตอนท้าย
หากข้อใดที่ไม่มั่นใจในธงคำตอบและหลักกฎหมายผมจะใช้วิธีปรับหลักกฎหมายกับชิ้เท็จจริงไปพร้อมกัน ความสำคัญในการตอบข้อสอบคือการอ้างหลักกฎหมาย จะผิดจะถูกอย่างไรให้อ้างหลักกฎหมายไปด้วยทุกครั้ง และ
อย่าตอบแต่เพียงธงคำตอบโดยเด็ดขาด (ถ้าจำเป็นจะต้องเดาธงคำตอบ ให้เดาตามสามัญสำนึกโดยอ้างหลักกฎหมายประกอบด้วย)
หลักสำคัญอีกประการหนึ่งคือ อย่าลอกคำถามลงไปในสมุดคำตอบ เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ด้วย
กล่าวโดยสรุป เคล็ดลับการเรียนเนติฯ ให้ได้ดีต้องยึอ “หลัก ๔ ส.” กล่าวคือ
สงบ มีสมาธิทุกครั้งที่เข้าเรียน อ่านหนังสือ อ่านฎีกา อ่านตำรา อ่านข้อสอบ
สุข ในเมื่อจะต้องอยู่กับมัน ขอให้อยู่กับมันด้วยความสุข มีความสุขที่ได้เรียน มีความสุขที่ได้มาเจอเพื่อน ยิ้มให้กับทุกคน อย่าเครียดมากจะเสียสุขภาพ
สม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการเรียนเนติฯ ชนะใจตัวเองให้ได้ “คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้” “สม่ำเสมอเพื่รเป็นเนติบัณฑิต”
สุขภาพ รักษาสุขภาพให้ดี อย่าเครียดจนเกินไป พักผ่อน ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกายบ้าง โดยเฉพาะช่วงใกล้สอบ หากเราเตรียมตัวมาดีแล้ว ไม่มีอะไรที่ต้องกลัว
สุดท้ายนี้ ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่าน ทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้และคุณธรรม ในการศึกษากฎหมายให้แก่ผม โดยเฉพาะท่าน
อาจารย์จรัญภักดีธนากุล และท่านอาจารย์ธานิศ เกษวพิทักษ์ ผูเเป็นแบบอย่าง (Role Model) ให้ผมยืนหยัดอยู่บนเส้นทางวิชาชีพกฎหมาย ด้วยความภาคภูมิใจ

ที่มา หนังสือระพี 50

Facebook Comments