Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ แพ้อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ ฟ้องได้ไหม?

แพ้อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ ฟ้องได้ไหม?

8583

แพ้อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ ฟ้องได้ไหม?

hq
ข้อเท็จจริงและประเด็นคำถาม:
ข้อเท็จจริง คุณพ่ออายุ 75 ปี เคยมีประวัติเป็นโรคประจำตัวเมื่อ5-6 ปีที่แล้วแต่ได้ทำการรักษาจนอาการเกือบเป็นปกติแล้ว โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ( พ.ศ 2554-2555 ) ไม่เคยเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคไตเลยมีเพียงไปทำการตรวจเช็คและรับการรักษาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเป็นประจำ ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม 25555 มีผู้นำอาหารเสริมมาจำหน่ายให้ หลังจากรับประทานไป 5-6วัน เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน จนต้องนำส่งไปรักษาตัวในโรงพยาบาล จนอาการปลอดภัย โดยเสียค่ารักษาไปเป็นจำนวนมากจากการสอบถามและตรวจสอบข้อมูล พบว่าพนักงานขายได้แนะนำให้รับประทานในปริมาณที่มากว่าที่ระบุไว้ด้านช้างกล่องหลายเท่า เลยทำให้เกิดผลข้างเคียงจนเกิดอาการไตวาย โดยมีหลักฐานเป็นลายมือเขียนแนะนำปริมาณการกินและมีพนักงานขายอีกคนหนึ่งอยู่ในระหว่างที่แนะนำด้วย

ประเด็นคำถาม
1. เราสามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากพนักงานที่แนะนำให้รับประทานเกินขนาดได้หรือไม่
2. หากไม่สามารถเรียกร้องจากพนักงานขายได้ สามารถร้องเรียนไปทางบริษัทเพื่อให้รับผิดชอบได้หรือไม่
3. หากทั้งพนักงานและบริษัทไม่รับผิดชอบ เราสามารถร้องเรียนหรือฟ้องร้องได้หรือไม่ และจะต้องร้องเรียนหรือฟ้องร้องกับหน่วยงานใด

ความเห็นและข้อเสนอแนะ:
ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 “ ผู้ใดจงไจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น “

มาตรา 425 “นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางที่จ้างนั้น ”
มาตรา 426 “ นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะชดใช้จากลุกจ้างนั้น “
มาตรา 527 “ บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วย โดยอนุโลม ”
มาตรา 820 “ ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน “

การดำเนินการให้คำปรึกษา
ข้อ 1 ท่านสามารถเรียกสามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากพนักงานที่แนะนำให้รับประทานเกินขนาดได้ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าพ่อของท่านเกิดอาการไตวายเฉียบพลัน เกิดจากการรับประทานอาหารเสริมจากการแนะนำของพนักงานขายอาหารเสริมดังกล่าวจริง
ข้อ 2. ถ้าไม่สามารถเรียกร้องจากพนักงานขายได้ ท่านสามารถร้องเรียนไปทางบริษัทเพื่อให้รับผิดชอบได้ เพราะพนักงานขายเป็นตัวแทนของบริษัท บริษัทต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น
ข้อ 3. หากทั้งพนักงานและบริษัทไม่รับผิดชอบ ท่านสามารถร้องเรียนหรือฟ้องร้องตามกฎหมายได้ และสามารถร้องเรียนหรือฟ้องร้องกับหน่วยงานที่ดูแลโดยตรงคือสำนักงานคณะะกรรมการอาหารและยา หรือที่อยู่ 88/24 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 สายด่วน 1556 โทรศัพท์ 0 2590 7354-55 โทรสาร 0 2590 1556
สำหรับผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถร้องเรียนหรือแจ้งข้อมูล โดยแจ้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมรายละเอียดของเรื่องที่ต้องการร้องเรียน ไปที่
1. สายด่วน อย. โทรศัพท์ 1556
2. โทรศัพท์ 0 2590 7354-5

3. โทรสาร 0 2590 1556
4. จดหมาย/หนังสือ (ร้องเรียน)
5. ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข 11004
6. อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th
7. ร้องเรียนด้วยตนเอง (หรือกรณีมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์มามอบให้)
7.1 ผู้บริโภคที่อยู่ในเขต กรุงเทพฯ สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอาคาร A ชั้น 1
7.2 ผู้บริโภคที่อยู่ในต่างจังหวัด แจ้งร้องเรียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

** กรณีนอกเวลาราชการ สำหรับโทรศัพท์ 0 2590 7354 และ สายด่วน อย. 1556 จะมีเทปบันทึกให้ฝากข้อความอัตโนมัติ**

เรื่องร้องเรียนที่ส่งเข้ามา เมื่อทราบผลการดำเนินการ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนได้ทราบ ดังนั้น ผู้ร้องเรียนจึงควรแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ นอกจากประโยชน์ในการแจ้งผลการดำเนินการแล้ว กรณีที่ข้อมูลไม่เพียงพอ หรือต้องการหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อกับผู้ร้องได้ โดยชื่อ ที่อยู่ ดังกล่าว จะได้รับการเก็บรักษาเป็นความลับ
ส่วนกรณีผู้ร้องเรียนต้องการสินบนนำจับ จะต้องแจ้งความนำจับเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดไว้ว่าเรื่องใดจึงจะมีสินบนนำจับไม่ใช่ทุกเรื่องจะมีสินบนนำจับ และการจะจ่ายสินบนนำจับ จะต้องรอจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ผู้ถูกแจ้งความมีความผิดจริง ซึ่งบางเรื่องอาจใช้เวลานานเป็นปี โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ดำเนินการคือ กลุ่มกฎหมาย อาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งผู้แจ้งความนำจับจะได้รับสินบนตามอัตราที่กำหนดดังนี้
1. กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด และได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายแล้ว ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินสินบนจำนวน 1 ใน 4 ส่วนในอัตราร้อยละ 60 ของเงินค่าปรับที่ได้รับ
2. กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด และได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายแล้ว ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินสินบนจำนวน 1 ใน 4 ส่วนในอัตราร้อยละ 80 ของเงินค่าปรับที่ได้รับ
เครดิต http://www.tulawcenter.org/

Facebook Comments