Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ขายต่อใบจองบ้างเองได้หรือไม่

ขายต่อใบจองบ้างเองได้หรือไม่

3730
ขายต่อใบจองบ้างเองได้หรือไม่ เป็นปัญหาทั่วไปที่ตอนจองก็คิดว่ามีคิดว่าได้ หากไม่ได้ตามที่คิดเราจะมีวิธีแก้อย่างไรเพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางกฎหมาย
407101910
ข้อเท็จจริงและประเด็นคำถาม: 

ข้อเท็จจริง 
ผู้ร้องได้ทำสัญญาวางมัดจำเพื่อซื้อบ้านของเพื่อนบ้าน ต่อมาผู้ร้องมีปัญหาทางการเงินจึงต้องการหาเพื่อนมาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวแทน โดยทำสัญญาขายสิทธิเงินมัดจำดังกล่าว เนื่องจากเจ้าของที่ไม่คืนเงินมัดจำ

ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถทำสัญญาขายสิทธิเงินมัดจำได้หรือไม่ และจะมีผลบังคับทางกฎหมายอย่างไร

ความเห็นและข้อเสนอแนะ: 

ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453, 456, 350

การดำเนินการให้คำปรึกษาให้คำปรึกษา 
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องทำตามแบบตามมาตรา 456 สิทธิในเงินมัดจำเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ เมื่อผู้ร้องในฐานะผู้ขายจะทำการโอนสิทธิให้แก่ผู้ซื้อก็สามารถทำสัญญาซื้อขายสิทธิในเงินมัดจำดังกล่าวได้ แต่สัญญาดังกล่าวจะมีผลต่อกันเพียงคู่สัญญาเท่านั้น กล่าวคือ สามารถใช้สิทธิเรียกร้องต่อกันได้ระหว่าง ผู้ร้องในฐานะผู้ขาย เท่านั้น เพื่อนบ้านที่ผู้ร้องได้ทำสัญญาวางมัดจำเพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาซื้อขายบ้านเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายสิทธิในเงินมัดจำ ย่อมไม่ผูกพันในการซื้อขายสิทธิในเงินมัดจำของผู้ร้องกับผู้ซื้อสิทธิแต่อย่างใด
การที่จะให้เพื่อนบ้านเข้ามาผูกพันในการขายสิทธิในเงินมัดจำไปให้ผู้ซื้อ ผู้ร้องต้องทำการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตามมาตรา 350 กล่าวคือ จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ ผู้ร้องต้องเรียกเพื่อนบ้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในสัญญาวางมัดจำและผู้ซื้อสิทธิซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่มาทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้เพื่อทำการโอนสิทธิในสัญญาวางมัดจำไปยังผู้ซื้อสิทธิ โดยสัญญาแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวจะมีผลผูกพันครอบคลุมไปถึงเพื่อนบ้านด้วย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ผู้ร้องควรที่จะทำหนังสือสัญญาระหว่างเพื่อนบ้านผู้ร้องกับผู้ที่มาซื้อสิทธิกับผู้ร้องเป็นสัญญาฉบับใหม่

เครดิต ศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Facebook Comments