Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ เงินเดือนข้าราชการยึดได้หรือไม่

เงินเดือนข้าราชการยึดได้หรือไม่

5078
เงินเดือนข้าราชการยึดได้หรือไม่ เมื่อถึงขั้นตอนของการบังคับคดีแล้วไปดูกันครับ
ข้อเท็จจริงและประเด็นคำถาม: 

ข้อเท็จจริง 
ผู้ร้องเป็นหนี้จากการลงทุนธุรกิจ  ต่อมาประสบปัญหาเศรษฐกิจ และน้ำท่วม ช่วงนี้ไม่สามรถชำระหนี้ได้

ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องทำงานในตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย ( ของรัฐ ) สายวิชาการ เจ้าหนี้จะสามารถฟ้องอายัดเงินเดือนได้หรือไม่

ความเห็นและข้อเสนอแนะ: 

ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  268
มาตรา ๒๘๖
*ภายใต้บังคับ บทบัญญัติ แห่งกฎหมายอื่น เงิน หรือ สิทธิเรียกร้อง เป็นเงิน ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ต่อไปนี้ ไม่อยู่ใน ความรับผิด แห่ง การบังคับคดี
(๑) เบี้ยเลี้ยงชีพ ซึ่ง กฎหมายกำหนดไว้ และ เงินรายได้ เป็นคราวๆ อันบุคคลภายนอก ได้ยกให้ เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวน รวมกันไม่เกินเดือนละ หนึ่งหมื่นบาท หรือ ตามจำนวนที่ ศาล เห็นสมควร
(๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และ เบี้ยหวัด หรือ รายได้อื่น ในลักษณะเดียวกัน ของ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือ ลูกจ้าง ในหน่วยราชการ และ เงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือ บำเหน็จ ที่หน่วยราชการ ได้จ่าย ให้แก่ คู่สมรส หรือ ญาติ ที่ยังมีชีวิต ของ บุคคลเหล่านั้น
(๓) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือ รายได้อื่น ในลักษณะเดียวกัน ของ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ คนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (๒) ที่ นายจ้าง จ่ายให้แก่ บุคคลเหล่านั้น หรือ คู่สมรส หรือ ญาติ ที่ยังมีชีวิต ของ บุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวน รวมกันไม่เกิน เดือนละ หนึ่งหมื่นบาท หรือ ตามจำนวนที่ ศาล เห็นสมควร
(๔) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ที่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้รับ อันเนื่องมาแต่ ความตาย ของบุคคลอื่น เป็นจำนวน ตามที่จำเป็น ในการดำเนินการ ฌาปนกิจศพ ตามฐานะ ของ ผู้ตาย ที่ศาล เห็นสมควร
*ในกรณีที่ ศาล เป็นผู้กำหนด จำนวนเงิน ตาม (๑) และ (๓) ให้ ศาล กำหนดให้ ไม่น้อยกว่า อัตราเงินเดือน ขั้นต่ำสุด ของ ข้าราชการพลเรือน ในขณะนั้น และ ไม่เกิน อัตราเงินเดือน ขั้นสูงสุด ของ ข้าราชการพลเรือน ในขณะนั้น โดยคำนึงถึง ฐานะในทางครอบครัว ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และ จำนวน บุพการี และ ผู้สืบสันดาน ซึ่ง อยู่ในความอุปการะ ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ด้วย
ในกรณีที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจ ออกคำสั่ง อายัด ตาม มาตรา ๓๑๑ วรรคสอง ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจ กำหนด จำนวนเงิน ตาม (๑) (๓) และ (๔) และ ให้นำความ ใน วรรคสอง มาใช้บังคับ แก่ การกำหนด จำนวนเงิน ตาม (๑) และ (๓) โดยอนุโลม แต่ถ้า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ บุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสีย ในการบังคับคดี ไม่เห็นด้วย กับจำนวนเงิน ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี กำหนด บุคคล ดังกล่าว อาจยื่น คำร้อง ต่อ ศาล ภายใน สิบห้าวัน นับแต่ วันที่ได้ทราบถึง การกำหนด จำนวนเงิน เช่นว่านั้น เพื่อ ขอให้ ศาล กำหนด จำนวนเงิน ใหม่ได้
ในกรณีที่ พฤติการณ์แห่ง การดำรงชีพ ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคล ตาม วรรคสาม จะยื่น คำร้อง ให้ ศาล หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนด จำนวนเงิน ตาม (๑) และ (๓) ใหม่ ก็ได้
คำสั่งของ ศาล ที่เกี่ยวกับ การกำหนด จำนวนเงิน ตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ ได้ และ คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ของ ศาลอุทธรณ์ ให้เป็นที่สุด

การดำเนินการให้คำปรึกษา
ในกรณีของของผู้ร้องเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ( ของรัฐ )สายวิชาการนั้น ถือว่าเป็นข้าราชการ เมื่อไปกู้ยืมเงินผู้อื่นแล้วไม่ใช้หนี้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิไปฟ้องศาล เมื่อชนะคดีแล้ว เพื่อให้ปฎิบัติการชดใช้หนี้ตามคำพิพากษา ก็จะต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปทำการยึดทรัพย์ของผู้ร้องมาขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แต่ปัญหาที่เกิดคือผู้ร้อง ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดได้มีเพียงเงินเดือนที่ได้รับทุกเดือนจากทางราชการเท่านั้น  ทางเจ้าหนี้จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดหรืออายัดเงินเดือนจากหน่วยงานของผู้ร้องไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  268     บัญญัติห้ามไว้ชัดเจนดังกล่าวข้างต้นแล้ว

เครดิต ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Facebook Comments