Home ทริบเทคนิค/บทความ 5 เคล็ดลับและ 8 กลยุทธ์พิชิตเนติบัณฑิต

5 เคล็ดลับและ 8 กลยุทธ์พิชิตเนติบัณฑิต

7134

5 เคล็ดลับและ 8 กลยุทธ์พิชิตเนติบัณฑิต
หลายคนคงมีปัญหาเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบเนติ สอบหลายทีสอบหลายครั้ง ยังไม่ผ่านสักที วันนี้จะเชิญมาฟัง5 เคร็ดลับและ 8 กลยุทธ์พิชิตเนติบัณฑิต
5 เคล็ดไม่ลับในการเตรียมตัวทำข้อสอบ

ประการแรก การรักษาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่ควรใส่ใจ เพราะถ้าเราสุขภาพไม่ดีแล้วนั้น การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพในการทำความเข้าใจและจดจำก็จะน้อยลงค่ะ ถ้าต้องอ่านหนังสือหนัก ก็ต้องดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การทานอาหารเสริมบำรุงสมอง การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอให้ครบ7-8ชม. ต่อวัน เป็นต้น ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านหรือนักศึกษาทุกท่านพึ่งระวังส่ใจสุขภาพเสียแต่เริ่มต้น ดั่งสุภาษิตที่ว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”ยังคงใช้ได้เสมอค่ะ

ประการที่สอง นักศึกษาควรจัดสรรเวลาในการอ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง ควรที่จะวางแผนไว้ระยะยาวประมาณ 3-4 เดือนก่อนเวลาสอบ ไม่ควรหักโหมเอาในช่วงเวลา 1 เดือนก่อนสอบ เพราะเป็นเวลากระชั้นชิดเกินไปในการเตรียมตัวสอบ ทำให้นักศึกษารู้สึกเครียดจากการบีบคั้นทางด้านเวลาและไม่มั่นใจในการเข้าสอบ และผลที่ตามมาคืออาจจะได้คะแนนไม่ดีนัก
นักศึกษาควรตระหนักว่ามีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องอ่าน หรือควรจะอ่าน ใช้ระยะในการอ่านกี่วัน และทำตารางเวลาล่วงหน้าประมาณ4เดือนก่อน เพื่อที่จะคำนวณเวลาว่า จะอ่านเอกสารตำราทั้งหมดได้ตามกำหนดก่อนสอบหรือไม่ และก่อนเวลาสอบประมาณ 2 อาทิตย์ควรทำสรุปย่อเพื่อทบทวนด้วย เมื่อมีตารางแล้วควรจะปฎิบัติตามตารางอย่างเคร่งครัด
คราวใดเมื่อเกียจครา้นไม่ยอมอ่านหนังสือ และเพลิดเพลินกับการเที่ยวเล่นมากไปหน่อย จงเตือนตัวเองไว้ว่า “หรืออยากจะสอบใหม่ สอบให้เสร็จทีเดียว จะได้ไม่ต้องนั่งอ่านหนังสือใหม่อีกรอบและไม่ต้องมีห่วงใดๆ ให้พะวงอีก” ซึ่งอาจจะได้ผล และเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า ผู้เขียนก็อาจจะหาวิธีเติมกำลังใจให้กับตัวเองเสมอๆ

ประการที่สาม การฝึกจิตใจให้ไม่รู้สึกเคร่งเครียดกับการเตรียมตัวสอบจนเกินไป เป็นที่ยอมรับกันว่า การเตรียมตัวสอบก่อให่เกิดความเครียดเป็นธรรมดา ดังนั้น นักศึกษาควรหากิจกรรมที่ตนเองชอบไว้ซักอย่างหนึ่งเป็นอย่างน้อย เช่น เล่นฟุตบอล วิ่งจ๊อกกิ่ง เล่นโยคะ ว่ายน้ำ ฯลฯ ก็ควรจะปฎิบัติอย่างต่อเนื่องต่อไปอาทิตย์ละสองหรือสามครั้ง หรือบางคนชอบชมภาพยนตร์ ทำอาหาร ทำสวน ก็ควรปฎิบัติต่อไป
ผู้เขียนขอแนะนำว่า อย่าทำให้การเตรียมสอบจะต้องเปลี่ยนอปลงวิถีชีวิตของนักศักษาจากหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว เนื่องจากไม่มีใครอ่านหนังสือได้ตลอดเวลา จึงต้องมีกิจกรรมให้ชีวิตดำเนินได้อย่างมีความสมดุล ไม่ควรให้สมองจมอยู่กับความเครียดตลอดเวลา
ถ้าเรานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาการที่ตามมาคือ สมองทำงานได้ช้าลง หรือ มีอาการเบลอในบางคน ผู้เขียนขอแนะนำว่า ถ้าอ่านหนังสือไม่ไหว ก็อย่าพยายามฝืนร่างกายตนเอง ขอให้เดินทางสายกลางจะดีกว่า เพราะการอ่านหนังสือทำให้เกิดอาการง่วงบ่อยๆ วิธีการคือ หลับพักสายตาซัก 15-20นาที แต่ไม่เกินครึ่งชม. เมื่อตื่นมาก็จะพอว่าสมองแล่นดีมากๆ

ประการที่สี่ ในส่วนตัวบทกฏหมายนั้น นักศึกษากฎหมายคงทราบอยู่แล้วว่าตัวบทกฎหมายคือหลักในการอ้างอิงในการตอบคำถามหรือปัญหาต่างๆ หลายๆคนคงเคยตั้งคำถามว่า มีตั้งหลายร้อยมาตรา ใครจะจำได้หมด นักศึกษาบางคนถึงกับแต่งตัวบทกฎหมายเองในห้องสอบก็มี นักศึกษาต้องทำความเข้าใจในมุมกว้างๆก่อน ว่าเรื่องนี้เป็นกฎหมายเรื่องอะไร เหตุผลที่ต้องมีการบัญญัติกฎหมายเรื่องนี้เพราะอะไร กฎหมายมาตรานี้สามารถเชื่อมโยงกับมาตราอื่นได้บ้างไหม จะง่ายต่อการจดจำมากขึ้น
สำหรับตัวผู้เขียนนั้น จะค่อยๆเริ่มท่องตัวบทไปวันละ3-4มาตรา ควบคู่กับการอ่านหนังสือ โดยดูจากสถิติการออกข้อสอบว่า มาตราไหนสำคัญจริงๆ ก็จะท่องให้แม่นยำจำได้ทุกประโยค ถ้ามาตราไหนไม่สำคัญมากหนัก ก็อ่านให้เข้าใจหลักที่จะปรับให้เข้ากับข้อเท็จจริงได้ วิธีการที่จะช่วยให้จำได้มากขึ้น นักศึกษาอาจจะอ่านตัวบทและอัดเทปไว้เฉพาะมาตราที่สำคัญเท่านั้น วิธีนี้ค่อนข้างได้ผล ทำให้จำตัวบทได้เร็วขึ้น

ประการที่ห้า การฝึกทำข้อสอบนับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเตรียมตัวสอบเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะสอบสนามไหน การอ่านข้อสอบเก่าและวิเคราะห์ข้อสอบเก่าทำให้มีชัยไปกว่าครึ่ง ทำให้รู้ลำดับความสำคัญในหัวข้อใดบ้าง คำพิพากษาในคดีไหนที่สำคัญ ผู้เขียนได้ปฏิบัติตามรุ่นพี่คนหนึ่งท่านบอกว่า ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านตำรารวมคำบรรยาย ให้ผู้เขียนลองอ่านข้อสอบเนติบัณฑิตย้อนหลังอย่างน้อย 10 สมัยและให้ทำเครื่องหมายสถิติที่หน้าเลขมาตราในประมวลกฎหมาย เพื่อเตือนผู้เขียนว่า มาตราไหนสำคัญและมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาให้แตกฉาน
การตอบข้อสอบเนตอบัณฑิตนั้น เป็นอะไรที่แตกต่าง หรืออาจจะเรียกได้ว่า เปลี่ยนวิธีตอบเลยก็ว่าได้ ผู้เขียนต้องปรับรูปแบบการตอบใหม่หมด จากเดิมที่เคยตอบแบบบรรยายโวหาร ก็ต้องเปลี่ยนมาตอบให้สั้นและกระชับ ไม่ต้องอธิบายที่มาที่ไปให้เยิ้นเย้อนัก จำกัดการเขียนตัวเองลงมาให้เหลือเพียงข้อละประมานหน้าครึ่งหรืออย่างมากสุดไม่เกิน2หน้า
เพื่อให้ได้ทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ นักศึกษาควรจะนำมาข้อสอบเก่ามาฝึกทำโดบจำลองสถานการณ์จริงเหมือนว่าตัวเองอยู่ในสนามสอบและลองจับเวลา เมื่อทำเสร็จก็เอาคำตอบไปเทียบกับธงคำตอบหรือเฉลยคำตอบ จะได้ทราบว่าควรใช้เวลากี่นาทีในแต่ละข้อ แต่ถ้านักศึกษาที่ไม่เคยทำข้อสอบมาก่อน ส่วนมากจะทำข้อสอบไม่ทัน กล่าวคือ ทำได้ไม่ครบหมดทุกข้อ หรือเขียนไม่เสร็จในข้อสุดท้าย

ถ้านักศึกษานำวิธีการเหล่านี้ไปปฏิบัติในการเตรียมตัวสอบ จะทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการทำข้อสอบมากขึ้น และได้คะแนนดีขึ้นด้วยค่ะ

ต่อไปจะเป็นการแนะนำ 8 กลยุทธ์พิชิตในการทำข้อสอบค่ะ

8 กลยุทธ์พิชิตในการทำข้อสอบ

ประการแรก ผู้สอบควรตั้งสติและอ่านคำถามให้เข้าใจโดยละเอียดชัดแจ้งเสียก่อนว่า คำถามถามว่า อะไร มิฉะนั้น จะกลายเป็นว่า คำถามอย่างหนึ่ง ตอบอีกอย่างหนึ่ง คือตอบไม่ตรงคำถามนั้นเอง ผู้สอบต้องมีความรู้พิ้นฐานอย่างแม่นยำพอสมควร และการฝึกฝนของผู้สอบด้วยได้ฝึกทำข้อสอบเก่า จัดหมวดหมู่ ฝึกวิเคราะห์มาบ้างแล้ว คงยากที่จะสอบตก ข้อคิดของผู้เขียนคือ ประสบการณ์มีส่วนช่วยในการกำหนดอนาคตของผู้สอบเป็นอย่างมาก

ประการที่สอง ผู้สอบควรตอบคำถามให้ครบทุกข้อและทุกประเด็นที่ถาม ผู้ที่เคยอ่านข้อสอบเนติบัณฑิตมาก่อน จะทราบว่าในหนึ่งข้อนั้น ประกอบไปด้วยหลายประเด็น การจะตอบให้ครบทุกประเด็นให้ตรงใจคณะกรรมเป็นสิ่งยากยิ่ง และมีความเป็นไปได้น้อยมากที่นักศึกษาจะเขียนตอบให้ได้คะแนนเต็มในข้อหนึ่งข้อใด ดังนั้น เพื่อบริหารความเสี่ยง นักศึกษาควรจัดสรรเวลาที่ใช้ในการตอบข้อสอบให้ดี ไม่ควรมุ่งเน้นในข้อใดข้อหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะจะทำให้กระทบเวลาในการตอบข้อสอบข้ออื่นไป สำหรับข้อไหนไม่มั่นใจคำตอบ แต่ยังจำแนวพิพากษาฎีก่ได้บ้า ควรเขียนตอบแบบฟันธง หรือข้อที่ทำไม่ได้จริงๆ ก็ควรพยายามเขียนตอบหลักกฎหมายลงไปบ้างหรือถ้าคิดแล้วไม่สามารถนึกถึงหลักกฎหมายใดๆได้เลย ก็ควรตอบไปโดยใช้หลักยุติธรรม อย่างน้อยการเขียนตอบอะไรลงไปบ้างยังดีกว่าการเว้นว่างเลย คะแนน1 หรือ 2คะแนนก็อาจจะมีผลต่อการสอบผ่านหรืิอตกก็ได้

ประการที่สาม ควรตอบข้อสอบด้วยภาษากฎหมายที่ชัดเจนตรงไปตรงมา ให้ผู้ตรวจข้อสอบเข้าใจได้ง่าย อย่าใช้คำที่กำกวมหรือมีความหมายหลายนัย และไม่ควรใช้คำย่อใดๆทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้จะก่อให้ผู้ตรวจข้อสอบและอ่านลายมือของผู้สอบได้อย่างสบายตา เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจน ถ้าผู้ตรวจข้อสอบไม่สามารถอ่านข้อสอบได้ เนื่องเห็นสภาพลายมือพันกันและต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับลายมือของผู้สอบ ว่าผู้สอบตอบว่าอย่างไร นั้นอาจจะได้ทำให้ผู้สอบที่อาจจะได้คะแนนดีกลับอาจถูกตัดคะแนนเสียก็ได้

ประการที่สี่ เนื่องจากข้อสอบเนติบัณฑิตส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาในรูปตุ๊กตา โดยผู้ออกข้อสอบมักจัตั้งปัญหาเลียนแบบข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกาตั้งแต่1 เรื่องขึ้นไป เมื่อเจอคำถามลักษณะนี้ ผู้สอบต้องวิเคราะห์ให้แตกฉานว่า เป็นคำถามกฎหมายเรื่องใด มีตัวบทกฎหมายใดที่จะวางหลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบไว้อย่างไรบ้างในเรื่องนี้ มีแนวคำพิพากษาใดใกล้เคียงกับปัญหาตุ๊กตาหรือไม่ เมื่อวิเคราะห์เหตุมาสู่ผลได้ นักศึกษาก็สามารถที่จะปรับข้อกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องได้

ประการที่ห้า การตอบข้อสอบแต่ละข้อไม่ควรยาวเกิน2หน้า และไม่ควรเขียนตอบนอกประเด็นหรือใช้คำฟุ่มเฟือย และควรตระหนักไว้เสมอในขณะทำข้อสอบว่า ตอบให้ตรงประเด็น ไม่มีคะแนนสำหรับการตอบนอกประเด็น ถ้าเราสามารถจำเลขมาตราได้อย่างแม่นยำก็เขียนไปด้วย นั้นจะทำให้เราได้คะแนนมากขึ้น แต่ถ้าเราไม่มั่นใจก็ไม่ควรจะเขียนไป
ส่วนของเลขมาตรานั้น จำได้ไม่ยาก แต่ในส่วนของเลขคำพิพากษาฎีกานั้น ค่อนข้างจดจำได้ยากกว่า ถ้านักศึกษาไม่มั่นใจในตัวเลขของคำพิพากษฎีกานั้นๆ แนะนำว่าอย่างอ้างจะดีกว่า เพราะถ้าอ้างผิดแทนที่จะได้คะแนนดีกลับต้องโดนตัดคะแนน ในกรณีเช่นนี้แล้ว อาจจะเขียนตอบได้ว่า”ในเรื่องนี้ มีคำพิพากษาศาลฎีกาวางแนวไว้ว่า…”

ประการที่หก เมื่อเข้าห้องสอบแล้ว วิธีการที่ผู้เขียนใช้อย่างสม่ำเสมอ คือ การอ่านข้อสอบให้ครบทุกข้อด้วยสติและความรวดเร็ว เพื่อเลือกตอบว่าจะตอบข้อไหนก่อน และไม่ตอบคำถามข้อไหน หลังจากตัดสินใจได้ว่าจะตอบข้อไหน จะต้องอ่านคำถามให้ละเอียดถี่ถ้วนและจะประมวลคำตอบว่า คำถามต้องการให้ตอบประเด็นไหนบ้าง และคำตอบควรจะเป็นอย่างไร อ้างอิงตัวบทมาตราใดบ้าง อะไรต้องตอบก่อน อะไรที่ต้องเขียนในภายหลัง เสมือนเป็นการวางโครงคำตอบไว้ และผู้เขียนจะบันทึกประเด็นย่อๆไว้ในแต่ละข้อ เพื่อเวลาตอบจริง คำตอบจะดูเป็นลำดับความและมีความระเบียบเรียบร้อย
ผู้สอบควรเลือกข้อสอบที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วค่อยมาตอบข้อที่ยากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า 10 ข้อ มีเวลาทำ 4 ชม. เฉลี่ยแล้วเท่ากับมีเวลาทำข้อละ 25 นาทีเท่านั้น ผู้สอบต้องพยายามคุมเวลาของตัวเองให้ดี การหมั่นฝึกฝนในการเขียนตอบจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ประการที่เจ็ด การตอบข้อสอบอาจแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางคือ 1. การตอบแบบวางหลักกฎหมาย และ 2. การตอบแบบฟันธง จะเลือกตอบวิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล แต่สำหรับตัวผู้เขียนถนัดการตอบแบบวางหลักกฎหมาย โดยในย่อหน้าแรก จะวางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือปัญหาตุ๊กตาที่ให้มา ส่วนย่อหน้าที่สอง จะเป็นการปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง ถ้ามีหลายประเด็น จะใช้วิธีตอบแยกเป็นย่อหน้าไป เพื่อให้ผู้ตรวจข้อสอบอ่านสะดวกและง่ายขึ้น และง่ายต่อการกลับมาแก้ไข้ภายหลัง ส่วนย่อหน้าสุดท้าย ถ้ามีเวลาเหลือเพียงพอในแต่ละข้อ อาจจะเขียนสรุปย่อๆอย่างสั้นๆ ประมาน2-3บรรทัดก็ได้

ประการที่แปด ในวันสอบนั้น นึกศึกษาควรทำใจให้สบาย เมื่อเครียดก็สูดลมหายใจเข้าลึกๆ และควรหยุดอ่านหนังสือทั้งหลายได้แล้ว แต่เปลี่ยนมาท่องประมวลกฎหมายช่วงเช้าก่อนสอบดีกว่า อาจจะทำเป็น short note เพื่อให้จำง่ายขึ้น เป็นการท่องเรียกสติและทำใจให้สงบขึ้น เมื่อเข้าห้องสอบจะได้ไม่ตื่นเต้นมากหนัก

หวังว่าการแนะนำในครั้งนี้จะช่วยให้นักศึกษาทุกคนที่กำลังจะเตรียมตัวสอบระดับชั้นเนติบัณทิต ได้นำเอาคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะค่ะ โชคดีในการทำข้อสอบค่ะ

อ้างอิงจาก หนังสือคำแนะนำการศึกษากฏหมายในระดับเนติบัณทิต รองศาสตราจารย์มานิตย์ จุมปา
เครดิต http://top5secrectn8strategies.blogspot.com/

Facebook Comments