Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ฟ้องอย่างไร แพ้ตั้งแต่ในมุ้ง ภาค 2

ฟ้องอย่างไร แพ้ตั้งแต่ในมุ้ง ภาค 2

19632

แพ้คดี

ทางผู้เขียน (นคร ธรรมราช )ได้กรุณาปรับปรุงข้อมูลและหลักกฎหมายรวมทั้งคำพิพากษาศาลฎีกาให้มีความกระชับชัดเจนท่กยิ่งขึ้น ซึ่งทาง Lawyers.in.th เห็นว่าหากจะนำไปแก้ไขในบทความเดิมก็เป็นที่เสียดาย และจะไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไปแล้วซึ่งมียอดเข้าชมและอ่านถึง 18,xxx เศษ ในวันเดียว ซึ่งรายละเอียดที่ปรับปรุงใหม่มีดังต่อไปนี้

goo

แนวคำพิพากษาฎีกาในความผิดฐานต่างๆ ที่น่าสนใจ

การบรรยายฟ้องในหัวข้อ “การกระทำ” มีหลักเกณฑ์ดังนี้

ก) ต้องบรรยายข้อเท็จจริงในฟ้องยืนยันว่าจำเลยกระทำผิดและข้อเท็จจริงนั้นจะต้องไม่ขัดแย้งกันเองจนไม่ทราบว่าโจทก์กล่าวหาจำเลยกระทำผิดฐานใด (เว้นแต่ลักทรัพย์รับของโจรที่ไม่ตองยื่นยันในความผิดฐานลักทรัพย์)

 

ข) ฟ้องต้องบรรยายการกระทำทีโจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวพันประสานกับองค์ประกอบความผิดของกฎหมายจนครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

 

 ตัวอย่าง  (ยืนยันว่าจำเลยกระทำผิด)  เช่น โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่……..เดือน……………….พ.ศ…………เวลา……………..มีคนร้ายงัดฝาห้องลักทรัพย์ของนายเคลือบ เดิมสูงเนิน เจ้าพนักงานจับตัวจำเลยได้พร้อมด้วยสิ่งของที่คนร้ายลักไป ขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ดังนี้ เป็นฟ้อง ไม่สมบูรณ์ เพราไม่ระบุยืนยันว่าจำเลยได้กระทำผิด                  (นัย ฎ. 503/2486) จากตัวอย่างจะเห็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวหา แต่ไม่ยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย ดังนั้นคนร้ายอาจไม่ใช่จำเลยก็ได้

 

 

ตัวอย่าง   (ขัดกันเอง)   ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องตอนต้นกล่าวหาว่าจำเลยรับมอบหมายทรัพย์แล้วยักยอกแต่ตอนหลังกล่าวว่าจำเลยลักทรัพย์…ดังนี้ เป็นฟ้องที่ขัดแย้งอยู่ในตัว เป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 158 (5)

ปวิอ.มาตรา 192 นั้นฟ้องต้องชอบตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 158 (5)  จึงจะปรับใช้ได้

 

ตัวอย่าง  (ขัดกันเอง)  ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ถ้าฟ้องกล่าวยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์แล้วตอนปลายกล่าวว่าจำเลยรับของโจรในทรัพย์รายเดียวกันนั้นอีก  ย่อมเป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันในตัว เป็นฟ้องเคลือบคลุม ต้องยกฟ้อง

 

 

            หมายเหตุ หากจะให้คำฟ้องไม่เคลือบคุลมจะต้องบรรยายในลักษณะเล่าเรื่องในตอนต้นไม่ยืนยันว่าเป็นจำเลยแต่ใช้คำว่า “คนร้าย” แทน แล้วจึงยืนยันว่าเป็นจำเลยลักทรัพย์ของเจ้าทรัพย์ไป ต่อมาเจ้าพนักงานจับของกลางได้ที่จำเลย ทั้งนี้โดยจำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์รายนี้หรือมิฉะนั้นจำเลยได้รับทรัพย์นี้ไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่ได้มาโดยการกระทำผิดกฎหมาย คำฟ้องเช่นนี้ถือว่าไม่เคลือบคลุม (ฎ. 624-625/2480)


หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท

หลัก มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำ

ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ปวิอ. มาตรา 158 (5) วรรค 2 ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียน หรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหาหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง

  • อธิบายความหมาย ข้อความในข้อสอบ /สิ่งที่โจทย์กำหนด

เช่น  อาจมีข้อความประกอบภาพ แต่ส่วนใหญ่ในการสอบจะเป็นข้อความที่อยู่ในเครื่องหมาย “……………………………”

  • อธิบายว่าไม่จริงหรือเป็นการใส่ความอย่างไร /โดยโฆษณาอย่างไร
  • โจทก์เสียหายอย่างไร เน้นคำว่า เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
  • หากมีเอกสารที่โจทย์กำหนดก็ต้องแนบมาด้วย

 

 

การฟ้องคดีเกี่ยวกับหมิ่นประมาท

มาตรา 158 (5) วรรค 2 เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการฟ้องหมิ่นประมาทโดยเฉพาะ ในเรื่องนี้คงถือหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้าต้น คือ ต้องบรรยายเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีที่กล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทนั้นจำเลยกล่าวด้วยวาจา หรือหนังสือใช้ภาพขีดเขียนอย่างไร

1.กล่าวหาว่าถูกคอลัมนีสต์ในหนังสือพิมพ์หมิ่นประมาทด้วยบทความสัมภาษณ์ หรือ

2.ภาพล้อการ์ตูน เป็นรูปผู้เสียหายสวมเครื่องแบบตำรวจในมือถือเตารีดและคันไถ ดังนี้ ฟ้องต้องแสดงให้ปรากฏว่าจำเลยหมิ่นประมาทอย่างไร

  1. ถ้อยคำพูดหนังสือ
  2. ภาพขีดเขียน

5.สิ่งอื่นอันเกี่ยวกับการกระทำผิด

   (1) –(5 )ต้องกล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือรวบรวมติดมาท้ายฟ้อง (ข้อสอบจะอยู่ใน “………………….” )

 

 

–  การบรรยายฟ้องความผิดฐานหมิ่นประมาท

โจทก์ต้องบรรยายถึง การใส่ความโดยให้เน้นที่ ข้อความที่หมิ่นประมาท หากข้อความนั้นมิได้มีความหมายชัดแจ้งอยู่ในตัวว่าเป็นการใส่ความโจทก์ทำ ให้โจทก์เสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น  หรือถูกเกลียดชัง โจทก์ต้องบรรยายความหมายของข้อความนั้น ด้วยว่าข้อความตอนใดทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอย่างไร มิฉะนั้นเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์

 

ตัวอย่างคำพิพากษาที่วินิจฉัยเรื่องนี้

คำว่าใส่ความ ปอ.มาตรา 326 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไรแต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย

การใส่ความต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง จะเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ การกล่าวข้อความตามที่ได้รับบอกเล่ามา เป็นการใส่ความ

การที่จำเลยเพียงแต่เอาจดหมายที่มีข้อความหมิ่นประมาทให้ผู้อื่นอ่าน ก็ถือเป็นการใส่ความผู้อื่นแล้ว หรือแม้แต่ข้อความที่กล่าวแม้จะเกิดการตอบคำถามของผู้อื่น ก็เป็นการใส่ความแล้ว

สำหรับข้อความจะเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาตามความรู้สึกของวิญญูชนทั่วๆไป มิใช่พิจารณาถึงความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทฝ่ายเดียว

 

การใส่ความต่อบุคคลที่สาม

ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการเจตนาใส่ความต่อบุคคลที่สาม การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำหรือเขียนจดหมายถึงผู้เสียหายโดยตรงไม่เป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สามไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

แต่ให้ระวังในกรณีที่มีผู้เสียหายหลายคน การที่จำเลยส่งจดหมายหมิ่นประมาทผู้เสียหายเหล่านั้นไปให้ผู้เสียหายบางคน ต้องถือว่าผู้เสียหายคนที่ได้รับจดหมายเป็นบุคคลที่สามในการหมิ่นประมาทผู้เสียหายคนอื่นแล้ว(เป็นบุคคลที่สามแล้ว)

 

หลักสำคัญในเรื่องข้อแตกต่างระหว่างความหมายของคำว่าดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท

                ดูหมิ่น คือ การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท ด่าทอ ทำให้อาย เช่นคำว่า  ตอแหล ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์

หมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เป็นการประทุษร้ายต่อเกียรติที่บุคคลมีอยู่ในตัวเองโดยผู้ดูหมิ่นลดคุณค่าที่มีอยู่ในตัวของผู้ถูกดูหมิ่นด้วยตนเอง ลดค่าในตัวเอง หมิ่นประมาท นั้นเป็นการประทุษร้ายต่อเกียรติที่บุคคลมีอยู่ในสังคม โดยผู้หมิ่นประมาททำให้บุคคลที่สามเป็นผู้ลดคุณค่าที่มีอยู่ในสังคมของผู้ถูกหมิ่นประมาท ถูกลดค่าทางสังคมขาดความน่าเชื่อถือ

โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

                หมิ่นประมาทต้องเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ การกล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ ย่อมไม่ทำให้คนเชื่อ ไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นได้ เช่นกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ เป็นชาติหมา ย่อมไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

จำเลยกล่าวว่าโจทก์เป็นผีปอบ เป็นชาติหมา ความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้นได้ จึงไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นอย่างไรและข้อความใดจะเป็นการทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ต้องถือตามความคิดของบุคคลธรรมดาผู้ได้เห็นได้ฟัง คำกล่าวของจำเลยจึงไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท

 

 

หมวด 4 ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

มาตรา 349 ผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์อันตนจำนำไว้แก่ผู้อื่น ถ้าได้กระทำ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 350 ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระ หนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 351 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

 

–  ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มิได้บรรยายว่าจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ เป็นฟ้องไม่สมบูรณ์

 

  1.  ฟ้องที่บรรยายว่า …จำเลยเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้ใช้สิทธิทางศาลโดยชอบแล้วได้รับชำระหนี้… เป็นคำฟ้องที่มีความหมายชัดเจนว่า จำเลยได้รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิทางศาลแล้ว

 

2  แต่คำฟ้องที่บรรยายว่า …จำเลยกระทำทั้งที่ตระหนักดีว่าโจทก์ต้องฟ้องบังคับคดีอย่างแน่นอน… เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำไปทั้งที่คาดหมายว่าโจทก์ต้องฟ้องบังคับคดี เป็นคำฟ้องที่มิได้ระบุว่าได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350

 

เพื่อมิให้เจ้าหนี้ฯได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

                การโอนทรัพย์สินในการประกอบธุรกิจการค้าของลูกหนี้ตามปกติ มิใช่เพื่อเจตนามิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

การขายทรัพย์สินเพื่อปลดเปลื้องภาระหนี้จำนองตามปกติ มิใช่มีเจตนาเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

ผู้รับโอนทรัพย์อาจมีความผิดตามมาตรา 350 ได้ในฐานะตัวการร่วมตามมาตรา 83

ผู้ที่รับสมอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ ถือว่าเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

 

เจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล

                การกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรานี้ ต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้นั้นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ถ้ายังไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้  แม้ลูกหนี้โอนทรัพย์ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ ต้องไปฟ้องร้องกันในทางแพ่ง

การฟ้องร้องคดีอาญาไม่ถือว่าเป็นการใช่สิทธิทางศาลตามมาตรานี้ อย่างไรก็ตาม หากพนักงานอัยการฟ้องคดีอาญา และมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์โดยผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย เท่ากับผู้เสียหายได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้แล้ว

 

การกระทำที่ถือว่าเป็นการโกงเจ้าหนี้

                แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้ในจำนวนที่ไม่เป็นจริง แล้วให้ผู้นั้นมาฟ้องลูกหนี้ต่อศาล ผิดฐานโกงเจ้าหนี้

การสละสิทธิไถ่ ไม่เป็นการย้าย หรือซ่อนเร้นหรือโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด

แต่การขายฝากเป็นการโอนทรัพย์สินจึงเป้นความผิดตามมาตรา 350 ได้

การจดทะเบียนจำนอง การจดทะเบียนการเช่าไม่เป็นการย้าย หรือซ่อนเร้นหรือโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด

การโอนนั้นจำเลยต้องมีสิทธิโอนทรัพย์นั้นด้วย ดังนั้นการที่จำเลยโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ตนครอบครองอยู่ไปให้ผู้อื่น จึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

หนี้ ตามมาตรา 350 มิได้หมายความเฉพาะหนี้เงินเท่านั้น นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์โอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น สัญญาจะซื้อจะขายบ้านหรือที่ดินหรือรถยนต์ที่กำหนดไว้แล้ว การที่ลูกหนี้โอนทรัพย์ที่ซื้อขายนั้นไปถือว่ามีเจตนาเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว เป็นความผิดตามมาตรานี้

 

หมายเหตุ  ความผิดฐานนี้  ต้องบอกด้วยว่าโกงเจ้าหนี้โดยวิธีใด เช่น แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี  /โอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี     มูลทางคดีแพ่งจะเป็นเรื่อง    เพิกถอนการ    ฉ้อฉล ปพพ. ม.237

 

ความผิดฐานเบิกความเท็จ

มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณา คดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท

 

  1. ความผิดฐานเบิกความเท็จต้องบรรยายว่าข้อความที่เป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ถ้าไม่บรรยายเป็นฟ้องไม่สมบูรณ์

2  คำฟ้องไม่บรรยายว่าข้อความที่เบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่ตามคำบรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ในตัวว่าเป็นข้อสำคัญในคดี เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5)

 

  1.  ความผิดฐานเบิกความเท็จ ปอ ม.177

ต้องบรรยายว่าเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไรถ้าไม่บรรยายเป็นฟ้องไม่สมบูรณ์ ศาลอาจยกฟ้อง

หลักในการพิจาณา่

  • คดีอาญา จึงต้องบรรยายว่า ที่จำเลยเบิกความเท็จนั้นมีข้อหาความผิดตามบทกฎหมายใดด้วย ฎีกา 247/46  แต่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวมาในคำฟ้องว่าคดีอาญานั้นมีข้อหาความผิดตามบทมาตราใด ประเด็นข้อสำคัญในคดีมีอย่างไรและคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญอย่างไร เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
  • คดีแพ่ง ต้องเป็นข้อที่เกี่ยวกับผลการแพ้ ชนะของคดี  และโดยที่การพิจาราคดีแพ่งต้องอยู่ในขอบเขตแห่งประเด็นข้อพิพาท

 

 

หมวด 3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

มาตรา 264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 266 ผู้ใดปลอมเอกสารดังต่อไปนี้

(1) เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ

(2) พินัยกรรม

(3) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้

(4) ตั๋วเงิน หรือ

(5) บัตรเงินฝาก

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 268 ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือ มาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ

ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

 

ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ 

  1.  ฟ้องว่าปลอมสัญญากู้เงิน โดยไม่ปรากฏข้อความว่าสัญญาที่จำเลยปลอมเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับ ซึ่งสิทธิระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างไรบ้าง การบรรยายฟ้องในความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5)
  2.  ฟ้องว่าร่วมกันปลอมเอกสารแม้ไม่บรรยายว่ากระทำการใด ด้วยวิธีใดถือเป็นเพียงรายละเอียด
  3.  ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ ปอ ม.265  ต้องบรรยายด้วยว่าเป็นเอกสาร

ที่เป็นหลักฐานแห่งการ  ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือรงับซึ่งสิทธิระหว่างโจทก์จำเลยอย่างไร ปอ.ม.1(9)ฎีกา 2426/50 ฟ้องว่าปลอมเอกสาร แม้ไม่ได้บรรยายว่ากระทำการด้วยวิธีใด

 

ความผิดฐานปล้นทรัพย์

มาตรา 340 ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใด มีอาวุธติดตัวไป ด้วยผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปีและปรับ ตั้งแต่สองหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท

ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดยแสดงความทารุณ จนเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ใช้ปืนยิง ใช้วัตถุระเบิดหรือกระทำ ทรมานผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต

 

 

 

–                          ความผิดฐานปล้นทรัพย์ ปอ ม.340  นอกจากจะบรรยายว่าเป็นการเอา

ทรัพย์ไปโดยทุจริตแล้วจะต้องบรรยายด้วยว่า ประทุษร้ายอย่างไร หากเพียงแต่บรรยายว่าประทุษร้ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

 

 

 

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส

มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสิบปี

อันตรายสาหัสนั้น คือ

(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท

(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์

(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด

(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว

(5) แท้งลูก

(6) จิตพิการอย่างติดตัว

(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต

(8) ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า ยี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

 

  1.  ความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสต้องบรรยายด้วยว่าได้รับอันตรายสาหัสอย่างไร
  2.  แต่ถ้าโจทก์แนบสำเนารายงานการชันสูตรบาดแผลไว้ท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องได้ระบุว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสอย่างไร เป็นฟ้องที่ชอบ
  3. ความผิดฐานทำร้ายร่างการจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ปอ

ม.297ฎีกา 6416/34 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าได้รับอันตรายสาหัสอย่างไร จึงลงโทษตามปอม.297 ไม่ได้ ลงได้เพียง ปอ. ม.295 เท่านั้น  แต่ ฎีกา 7135/47อย่างไรก็ตาม หากโจทก์แนบสำเนารายงายการชันสูตรบาดแผลไว้ท้ายฟ้อง จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องจึงเป็นฟ้องที่ชอบ

 

 

หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก

มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ                ถ้า

ทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์ สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียง กึ่งหนึ่ง

 

  1.  ความผิดฐานยักยอกมิได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยเบียดบังทรัพย์อย่างไร เป็นฟ้องไม่สมบูรณ์
  2.  ฟ้องฐานยักยอกไม่ได้บรรยายว่าเบียดบังทรัพย์ที่ครอบครอง แม้จะบรรยายว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต แต่องค์ประกอบทั้งสองข้อมีความแตกต่างกัน เป็นฟ้องที่ไม่ครอบองค์ประกอบความผิด ไม่สมบูรณ์
  3.  ความผิดฐานยักยอก ปอ ม.352  ต้องบรรยายว่าจำเลยยักยอกอย่างไร หาก

ไม่ได้บรรยาย ก็จะโทษไม่ได้  แม้ว่าจะบรรยายว่าจำเลยกระทำโดยทุจริตก็ตาม  ฎีกา 9244/51 เพราะว่าหากไม่ได้บรรยายว่าเบียดบังอย่างไรนั้นองค์ประกอบความผิด ฐานยักยอกเบียดบังอย่างไร กับโดยทุจริตแตกต่างกันมาก

 

 ความผิดเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาท

มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท

 

  1.  ความผิดเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาทมิได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยกระทำโดยประมาทอย่างใด เป็นฟ้องไม่สมบูรณ์2. ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยว่า เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยประมาทแล้ว
  2.   ฎีกาที่1832/2534  โจทก์บรรยายฟ้องว่า ยางล้อหน้าด้านขวามือของรถยนต์ที่จำเลยขับอยู่ในสภาพเก่า และบรรยายว่าจำเลยขับรถลงเนินด้วยความเร็วสูงนั้น เป็นการบรรยายฟ้องประกอบข้อหาที่จำเลยขับรถด้วยความประมาท ฟ้องโจทก์ได้บรรยายพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) แล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ายางล้อหน้าด้านขวาของรถยนต์ที่จำเลยขับมีสภาพยางเก่าอย่างไรฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์

 

 

–  ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร

มาตรา 319 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไป เสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และ ปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท

ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น

 

–                          ความผิดฐานพรากเด็ก/ผู้เยาว์เพื่ออนาจาร  ปอ ม.317-319 เมื่อบรรยายว่า

เพื่ออนาจารแล้วแม้ไม่ได้บรรยายว่าอนาจารอย่างไร ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ฎีกา 6632/40

 

 

 

 

 ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์

มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

.  ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 220 ต้องระบุด้วยว่าการกระทำของจำเลยน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วย

 

 

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตาม กฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

 (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

            (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

            (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

 (4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงิน ตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

            (5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต เมื่อได้ มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน ตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

 

ความตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

(2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

(3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่ เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้ –

(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน

ตามเช็คนั้น ผู้ออก เช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

  1.  ฎีกา 8822/47โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง

และบังคับได้ตามกฎหมาย แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู่ก็ต้องถือว่าเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด

  1.  ฎีกา 2602/43 โจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและ

บังคับได้ตามกฎหมาย แม้ไม่ได้บรรยายว่าหนี้ค่าอะไร ก็ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

  1.  ฎีกา 2547/40โจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้บอกว่า

หนี้ค่าอะไร  โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

 

หมายเหตุ  การบรรยายฟ้องว่าออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงบังคับได้ตามกฎหมาย  ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกา 1259/50 และ ฎีกา 307/49 บรรยายเพียงว่าออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่แนบมา หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ขึ้นใหม่  เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป  ต้องบรรยายว่า จำเลยเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ไม่ได้บอกว่าเป็นหนี้ค่าอะไร  ก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย  หากไม่มีข้อความนี้ ต้องบอกไปด้วยว่าออกเพื่อชำระหนี้ค่าอะไร หากไม่บอก เช่น ออกเพื่อชำระหนี้เฉยๆ/ออกเพื่อชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


ความผิดฐานฉ้อโกง

 

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

–  คำฟ้องที่มิได้ระบุคำว่า “โดยทุจริต” แต่ได้บรรยายข้อเท็จจริงที่มีความหมายดังกล่าวแล้ว ก็ใช้ได้

 

เช่น ความผิดฐานฉ้อโกง ป.อาญา มาตรา 341 บัญญัติว่า “ผู้ใดโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม…ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง…ฯลฯ” เมื่อแยกองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงจะได้ดังนี้

(1) หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

            (2) โดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม

            (3) เจตนา

            (4) โดยทุจริต

            คำบรรยายฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงจึงควรเป็นดังนี้

“จำเลยนี้โดยทุจริตบังอาจ (หรือเจตนา) หลอกลวงนาย ก. ผู้เสียหายโดยกล่าวแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าพี่ชายของนาย ก. ให้ใช้มาเอารถจักรยานยนต์ 1 คัน ราคา 70,000 บาท อันเป็นข้อความเท็จ ความจริงพี่ชายนาย ก. ไม่ได้ใช้มาเอารถจักรยานยนต์แต่อย่างใดและโดยการหลอกลวงดังกล่าวนั้นจำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินของนาย ก. โดยนาย ก. ส่งมอบรถจักรยานยนต์ 1 คัน ราคา 70,000 บาท ให้แก่จำเลยไป”

จากตัวอย่างนี้จะปรากฏคำว่า “โดยทุจริต” “หลอกลวง” “การแสดงข้อความอันเป็นเท็จ” “ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 341 โดยนำมาผสมผสานกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดจนครอบองค์ประกอบ

 

 

ความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ 

มาตรา 338 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยการขู่เข็ญว่าจะเปิดเผย ความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงสองหมื่นบาท

  • ความผิดฐานรีบเอาทรัพย์ ปอ ม.338   ต้องระบุว่าสิ่งที่จะเปิดเฉยนั้น

เป็นความลับและการจะเปิดเฉยนั้นทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย มิฉะนั้นแล้วเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เรื่องนี้อาจจะมีความผิดฐานกรรโชกและหมิ่นประมาทเข้ามาเกี่ยวข้องได้

เครดิต นคร ธรรมราช

Facebook Comments