Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ความแตกต่างระหว่างหมิ่นประมาท ในทางแพ่งกับทางอาญา

ความแตกต่างระหว่างหมิ่นประมาท ในทางแพ่งกับทางอาญา

18036

หมิ่น

หมิ่นประมาททางแพ่งกับทางอาญา

หมิ่นประมาทในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๒๓ คล้ายๆกับเรื่องหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๒๖ ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท…”

**ข้อแตกต่างระหว่างหมิ่นประมาทในทางแพ่งกับทางอาญามี ๓ กรณี

๑.หมิ่นประมาทในทางแพ่งจะต้องฝ่าฝืนต่อความจริง จึงจะเรียกว่าทำให้เขาเสียหาย ถ้าเป็นความจริงก็ไม่เสียหาย แต่ทางอาญาจริงหรือไม่จริงก็หมิ่นประมาททั้งนั้น ความจริงไม่เป็นข้อแก้ตัว ยกเว้นจะเป็นข้อแก้ตัวดังที่บัญญัติไว้ในป.อ.มาตรา ๓๓๐

๒.ในทางแพ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกล่าวคือ แม้จะประมาทเลินเล่อก็ยังต้องรับผิด แต่ในทางอาญามีแต่เจตนาอย่างเดียว หมิ่นประมาทด้วยประมาทไม่มีในทางอาญา

๓.หมิ่นประมาทในทางแพ่ง นอกจากจะทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณแล้ว ยังรวมถึงทางทำมาหาได้และทางเจริญด้วย

 แต่ในทางอาญานั้นจำกัดเฉพาะเสียหายแก่ชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง แต่ในเรื่องความเสียหายในทางทำมาหาได้ ในทางอาญาถือว่าไม่มีในเรื่องหมิ่่นประมาทแต่อาจจะผิดกฎหมายอาญาได้เหมือนกัน อย่างที่ ป.อ.มาตรา ๒๗๒(๓) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความเท็จเพื่อให้เสียความเชื่อถือในสถานที่ การค้า สินค้า อุตสาหกรรมหรือพาณิชย์การของผู้หนึ่งผู้ใดโดยมุ่งหมายแก่การค้าของตน” อันเป็นการไข่ข่าวแพร่หลายที่เสื่อมเสียชื่อในทางการค้้าที่เป็นความผิดในทางอาญา แต่ความผิดนี้ไม่ใช่เรื่องความผิดฐานหมิ่นประมาทตามป.อ.มาตรา ๓๒๖ คนละอย่างกัน

เกรียงศักดิ์ นวลศรี
นบ. นทบ. วิชาว่าความ. ผู้เขียนบทความในเว็บ ตั๋วทนาย.com
Facebook Comments