ความรู้เกี่ยวกับการถูกกำจัดมิให้รับมรดก ตามมาตรา 1605-1607
หลักกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง ตามหลักกฎหมายคลิกเพื่ออ่าน
เหตุที่ถูกกำจัดมีสองเหตุกล่าวคือ
1.ปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก ตามมาตรา 1605
2.ฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตามมาตรา 1606
2.1การถูกกำจัดตามมาตรา 1605 เพราะยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก หมายถึง เฉพาะทายาทขณะที่เจ้ามรดกตายเท่านั้น ดังนั้น ภริยาของทายาทเป็นผู้สืบสิทธิของทายาทเท่านั้น จึงไม่ถูกกำจัด
2.2ทรัพย์ที่ปิดบังหรือยักย้าย ต้องเป็นทรัพย์มรดก ที่ดินมือเปล่าที่เจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ไม่เป็นมรดก จึงไม่ผิดข้อนี้
2.3ยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินมรดกอันเป็นเท็จเป็นปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดกแล้ว
2.4การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยไม่ระบุว่าผู้ใดเป็นทายาทหรือไม่ระบุว่าทรัพย์มรดกทั้งหมดมีทรัพย์ใดบ้าง ยังไม่ถือว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก
2.5การขอรับมรดกโดยไม่แจ้งว่ามีทายาทอื่นอีกหรือไม่แจ้งทายาทอื่นให้ทราบไม่เป็นบิดบังทรัพย์มรดก
2.6ทายาทผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลรับมรดกที่ดิน โดยไม่แจ้งทายาทให้ทราบก็ไม่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกและรับชำระหนี้และไม่นำมาแบ่งทันทีก็ไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังเพราะการจัดการมรดกยังไม่เสร็จจำเลยมีอำนาจเก็บเงินไว้เพื่อแบ่งแก่ทายาทต่อไปได้
2.7การขอออกโฉนดเข้าใจว่ามีสิทธิอันควรได้และโดยเปิดเผย ไม่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดก
2.8ทายาทรับโอนมรดกเกินสิทธิที่ตนจะได้รับ ก็ไม่เป็นการปิดบัง
2.9ทายาทไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียวและขายให้ผู้อื่น เป็นการบิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก
2.10แจ้งว่าเจ้ามรดกโอนที่ดินไปก่อนเสียชีวิตแล้ว ทั้งที่ไม่เป็นความจริงแล้วโอนทรัพย์มรดกเป็นของตนเอง เป็นการปิดบัง
2.11การเบิกความในชั้นขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดกว่า เจ้ามรดกมีทรัพย์เพียงเท่าที่เบิกความซึ่งไม่เป็นความจริง ก็ยังไม่เป็นการปิดบัง เพราะการปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกต้องเป็นการกระทำต่อทรัพย์โดยตรง
2.12ผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่ง เช่น ยกที่ดินให้ ไม่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกเพราะถึงอย่างก็ได้เท่านั้น คนอื่นไม่เสียหาย เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1605 วรรคท้าย
ที่มา ท่านนคร ธรรมราช