Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ หลักวินิจฉัยพร้อมบทสัมภาษณ์ ไขปม”หนุ่มบอย” ผิดรับของโจรหรือไม่

หลักวินิจฉัยพร้อมบทสัมภาษณ์ ไขปม”หนุ่มบอย” ผิดรับของโจรหรือไม่

5072

 

หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร

ข้อเท็จจริง
                 ข่าวดัง ทำเอาฮือฮา สั่นสะเทือนวงการการศึกษา ในรั้วมหาวิทยาลัยยามนี้ คงหนีไม่พ้น ปมการยักยอกเงินของ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นแน่แท้
ตัวการสำคัญ หลบหนีไปยังต่างประเทศ กับ ปมที่เจ้าหน้าที่ต้องเร่งไขคดี ว่า “บอส” ตัวจริงที่บงการ ชักใยอยู่เบื้องหลังนั้นเป็นใคร
ส่วนผู้ต้อองหาในคดีนี้ ก็ถูกออกหมายจับหลายราย ไม่เว้นคนในครอบครัว อย่างคุณแม่ ของนายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ที่ถูกนำตัวฝากขังต่อศาลเมื่อวานนี้ (20 ม.ค.) มูลค่าเงินกว่า 1.6 พันล้าน ยังหายล่องหน
เงื่อนปมมีอยู่มาก ความเชื่อมั่นก็สั่นคลอน ศิษย์เก่า-คณาจารย์-ศิษย์ปัจจุบัน ตบเท้ามุ่งหน้าคุย ผู้บริหาร SCB เรียกความเชื่อมั่นให้เกิด
ความเชื่อมโยงพัวพัน ไม่เว้นเจ้าหน้าที่ บุคคากร คนภายนอก ชายคนสนิท แต่อีกอย่างที่เม้าส์สนั่น สะเทือนวงการมายา
เมื่อมีชื่อ หนุ่ม บอย  พระเอกวิกน้อยสี และ ดาราสาวเจ้าบทบาท พิ้งกี้ สาวิกา ไชยเดช เข้าไปพัวพัน ออกมาปัดพัลวัน ว่าไม่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ออกมาเปิดเผยด้วยว่าน่าจะไม่มีส่วนในอภิมหากาพย์การโกงเงินจำนวนมหาศาล
หนุ่มบอย มีปมสำคัญ คือ ซื้อรถหรูลัมโบกินี ราคา 13.5 ล้านบาท ต่อจากนายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหารายสำคัญในคดีนี้ แถมยังถูกอายัดรถหรูคันดังกล่าวไปแล้วนั้น
หลายคนยังสงสัยอยู่ว่า เอ! ที่มีข่าวคราวถึงเรื่องประเด็นผิดรับของโจรนี่จริงหรือไม่ หรือประเด็นที่ได้รับทรัพย์สินมาโดยสุจริตและเสียต่าตอบแทน ไม่มีความผิด ไม่ต้องคืนรถนั้นจริงไหม ในทางกฎหมายอธิบายปรากฏการณ์ของบอย ปกรณ์ ได้ว่าอย่างไร
จากที่เคยเขียนบทความไว้ในเรื่องรถหลุดจำนำหรือรับของโจร

หลักการวินิจฉัยของศาล

ในคดีรับของโจร ศาลจะสั่งลงโทษผู้กระทำผิดในกรณีที่พิเคราะจากพยานหลักฐานแล้วผู้กระทำผิด รู้ หรือ ควรจะรู้ ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นการได้มาจากการกระทำผิด

คำว่า ” ควรจะรู้ ” ตีความอย่างไรแค่ไหน จะตีความถึงในการที่ ผู้กระทำผิดไม่รู้เลยว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดก็ลงโทษได้ เพราะคำว่า “ควรจะรู้” ไม่จำเป็นต้องรู้ ซึ่งอาจแยกย่อยเป็นประเด็นได้ดังนี้

( แต่เดียวก่อน มาอ่านนี่แปป!! เป็นที่แน่นอนนะครับว่า ไอ่คนขายมันก็ไม่บอกอยู่แล้วว่าทรัพย์นี้เป็นของโจรนะ หรือตีตราว่าเป็นของโจรนะ ตูไปฆ่าเค้ามาแล้วเอามาขายนะ ใครจะบอก เพราะฉนั้น ตัวผู้ซื้อจะต้องใช้ความสุจริต และการระมัดระวังในการซื้อเอาเอง ตลอดจนว่าถ้ามีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัย ก็ให้สังเกตุไว้ก่อนว่าเป็นของโจร )

1.ตัวทรัพย์สิน กล่าวคือ สังเกตจากตัวทรัพย์สิน คือโดยสังเกตุจากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นที่นิยมซื้อขายกันในท้องตลาดหรือไม่ ทรัพย์สินดังกล่าวสังเกตุได้มั้ยว่าได้มาจากการกระทำผิด มีการตีตรา ทำสัญลักษณ์ มีตำหนิ หรือมีสิ่งบ่งชี้เป็นที่หน้าสงสัยหรือไม่ แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่รู้กันโดยทั่วไป เช่น ที่กันรถตกขอบทาง ป้ายจราจร ไฟเขียวไฟแดง นำมาขายกันเองย่อมต้อง “” ควรจะรู้ “” ได้แน่ว่าได้มาจากการกระทำผิดเป็นต้น แต่ถ้าผ่านการแปลสภาพจนไม่หลงเหลือสภาพเดิมมาแล้ว ก็เป็นอีกเรื่อง

2.ราคาทรัพย์สิน เป็นที่แน่นอนกว่าทรัพย์ที่ได้มาโดยสุจริต ย่อมต้องมีค่าตอบแทน ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมประมาณราคาตามท้องตลาดได้ ถ้าได้รับซื้อของราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดเป็นที่น่าตกใจ ย่อมสมควรสงสัยได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มากจากการกระทำผิด เช่น ลัมโบกินี้ราคามือหนึ่ง 23 ล้านบาท ถ้าเป็นรถมือสองราคา 14 15 ล้าน เอามาขาย 10 ล้านในสภาพใหม่ฟรุ้งฟรุง ก็ควรจะต้องรู้

3.พฤติการณืในการซื้อขาย การซื้อขายของที่สุจริตนั้นจะทำการซื้อขายที่ไหนก็ได้ ย่อมไม่มีความเกรงกลัว หรือต้องกระทำการโดยหลบซ่อน ซึ่งแตกต่างกับการซื้อของที่ได้มาจากการกระทำผิด เช่นการส่งมอบ การชำระเงิน สถานที่ เวลากลางวันกลางคืน เป็นต้น

4.สังเกตุจากนิติสัมพันธ์ในการซื้อขาย เช่นมีหน้าร้าน หรือประกอบกิจการนั้นๆ หรือ ว่าการซื้อขายนั้นซื้อขายกันมานานรึยัง ถ้าเพิ่งเริ่มทำการซื้อขายกันก็สมควรที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายเป็นพิเศษ ถ้าซื้อขายกันมานานปีแล้วก็ย่อมมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันธรรมดาแล้วก็ต้องพิเคราะห์ตลอดถึงทรัพย์สินที่ซื้อขายกันมานานแล้วนั้นด้วยว่าเป็นของโจรบ้างหรือไม่

5. ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่นำทรัพย์สินมาขาย สังเกตุง่ายๆ ถ้าเด็ก 16 17 แต่งตัวธรรมดา หรือ แย่กว่านั้น นำนาฬิกาโรเล็กซ์ หรือ พระราคาแพง มาขายได้ย่อมต้องมีข้อสงสัยว่าเอามาจากไหน เอามายังไง แต่ถ้าซื้อของที่มาจากเซลขายของ มีบัตรเซลพร้อม และขายของชนิดที่รับมอบมาขาย แม้ทรัพย์ที่นำมาขายจะเป็นของโจรก็ย่อมได้รับความคุ้มครองมากกว่าเป็นธรรมดา ตลอดจนมีประวัติการกระทำผิดหรือไม่

6.ตลอดจนประวิติในการซื้อขายของตัวคุณเอง เคยมีประวิติในการกระทำผิดมาก่อน หรือกระทำผิดในลักษณะเดียวกันมาก่อนรึไม่ ถ้าไม่มีเลยก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อรูปคดี

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า กรณีนี้บอย ปกรณ์ จึงขาดเจตนาที่จะรับของโจร จึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรหากไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดย่อมไม่ถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ต้องหา แต่หากทางตำรวจเห็นว่าถ้อยคำของ บอย ปกรณ์อาจเป็นประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานและพิจารณาคดีของศาล บอย ปกรณ์ ก็สามารถเป็นพยานในคดีนี้ได้

 

นอกจากนี้มติชนออนไลน์ได้สัมภาษณ์ท่าน อาจารย์นันทัช กิจรานันทน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประเด็น บอย ปกรณ์ ในแง่มุมทางกฎหมาย ดังนี้
– ความผิดฐานรับของโจร คืออะไร แล้ว บอย ปกรณ์ จะผิดข้อหานี้หรือไม่ ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ

ในกฎหมายอาญาไทย เหตุผลที่รับของโจรเป็นความผิด เพราะกฎหมายต้องการให้ติดตามทรัพย์กลับคืนมาโดยง่าย และป้องกันช่องทางจะทำให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ต่อไปอีก ดังนั้น จะมีความผิดฐานรับของโจรก็ต่อเมื่อ มีการ “ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อรับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์” และผู้กระทำต้องมีเจตนา คือ รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด โดยต้องรู้ในขณะที่รับทรัพย์นั้นไว้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด

ในกรณีตามข่าว บอย ปกรณ์ ในขณะที่ซื้อรถมิได้ทราบว่ารถที่ตนเองซื้อมาดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่เกิดจากการกระทำความผิดดังนั้น บอย ปกรณ์จึงขาดเจตนาที่จะรับของโจร จึงไม่มีความผิดฐานรับของโจร

– ที่มีการชี้แจงว่า บอย ซื้อรถมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน ตรงนี้ใช้พิจารณา ถึงองค์ประกอบว่าต้องรับผิดหรือไม่ ด้วยได้ไหม

ถ้าเป็นเรื่องความผิดฐานรับของโจรในทางอาญาแล้ว ต้องใช้ถ้อยคำให้ชัดว่า ไม่มีเจตนากระทำความผิด จึงไม่ผิดฐานรับของโจร ในส่วนเรื่องสุจริตและการเสียค่าตอบแทนคงนำมาใช้พิจารณาประกอบว่ามีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ คือ หากพบว่ามีการจ่ายเงินซื้อรถในราคาตลาดปกติทั่วไปโดยสุจริต โดยไม่มีพฤติการณ์ที่ บอย ปกรณ์ ผู้ซื้อจะทราบได้ถึงความผิดปกติว่ารถน่าจะได้มาจากการกระทำความผิด ก็ส่งผลให้บอย ปกรณ์ขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานรับของโจร จึงไม่มีความผิดฐานรับของโจร

– บอย ปกรณ์ ในฐานะคนที่ซื้อรถมา จากการยักยอกเงิน ของคนซื้อรถมาแต่แรก จะจัดอยู่ส่วนไหนในคดีนี้

กรณีนี้บอย ปกรณ์ หากไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดย่อมไม่ถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ต้องหา แต่หากทางตำรวจเห็นว่าถ้อยคำของ บอย ปกรณ์อาจเป็นประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานและพิจารณาคดีของศาล บอย ปกรณ์ ก็สามารถเป็นพยานในคดีนี้ได้

– เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ต่อสังคมได้อย่างไรบ้าง

หลายหน่วยงานของของรัฐโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยกำลังเข้าสู่การออกนอกระบบทำให้มีการบริหารเงินในจำนวนที่มากขึ้นและมีอิสระในการบริหารเงินมากขึ้นในส่วนนี้ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาต้องช่วยกันตรวจสอบระบบบัญชีและการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐให้ดีในทางกลับกันก็ต้องมีระบบที่ให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างหรือองค์กรจากภายนอกตรวจสอบผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้ด้วยโดยปกติอาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะทำโดยลำพังจึงมักมีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนและยากที่จะตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม อ.นันทัช ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เป็นการไขข้อข้องใจตามข้อเท็จจริงในข่าวที่ปรากฏ หากในทางการสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ มีข้อมูลสืบสวน สอบสวน เชิงลึก และได้ข้อเท็จจริงในคดีที่มากขึ้น หรือ แตกต่างไปจากนี้ ก็อาจทำให้รูปคดีเปลี่ยนไปได้

ที่มา มติชนออนไลน์

Facebook Comments