Home ทริบเทคนิค/บทความ วิธีพิจารณาเจตนา “ฆ่า” กับ เจตนา “ทำร้าย”(มีฎีกา)

วิธีพิจารณาเจตนา “ฆ่า” กับ เจตนา “ทำร้าย”(มีฎีกา)

6263

 

เจตนา “ฆ่า” กับ เจตนา “ทำร้าย”
ฎ ๔๒๕/๒๕๓๖ ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายด้านหลังเพียง ๑ ที น่าจะเป็นเพราะความเมาสุราและไม่ได้แทงซ้ำทั้งที่ทำได้ แพทย์ไม่ได้วัดบาดแผลว่าลึกถึงหัวใจและตัดเส้นเลือดใหญ่ในปอดด้วยหรือไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีดมีขนาดเท่าใด ยังไม่พอฟังว่ามีเจตนาฆ่า เป็นทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย
ฎ ๒๑๕๔/๒๕๓๔ จำเลยสำคัญผิดคิดว่าบุตรแรกเกิดของตนถึงแก่ความตาย จึงโยนลงมาจากหน้าต่างโรงแรม ดังนี้ จำเลยไม่มีเจตนาฆ่า ไม่รู้ข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบความผิด แต่ต้องรับผิดฐานประมาท


ฎ ๖๔๐๕/๒๕๓๙ จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายอายุ ๑๗ ปี เท่ากับไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ตาม ป.อ. ม.๒๗๗ จึงถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดฐานนี้ (แม้การสำคัญผิดเกิดด้วยความประมาท ก็ไม่มีความผิด เพราะไม่ได้บัญญัติให้รับผิดฐานประมาท


ฎ ๑๙/๒๕๒๙ ใช้ยาสลบปิดจมูกแล้วจับโยนลงน้ำ ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะจมน้ำตาย เป็นเจตนาฆ่าโดยย่อมเล็งเห็นผล


ฎ ๒๘๗๐/๒๕๔๐ แทงญาติตนเองครั้งเดียว แต่แรงและลึก แม้ไม่แทงซ้ำอีกทั้งที่มีโอกาส อาจไม่เป็นเจตนาฆ่าโดยประสงค์ต่อผล แต่โดย “ลักษณะของการกระทำ” ย่อมเล็งเห็นได้ว่าผลที่เกิดถึงตายได้อย่างแน่นอน เป็นเจตนาฆ่าโดยย่อมเล็งเห็นผล

ขอบคุณข้อมูลจาก ท่านเกรียงศักดิ์ นวลศรี

นบ. นบท. ทนายความ ผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

Facebook Comments