Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ข้อกฎหมาย เตือนใจ พ่อแม่เด็กเส้น -เด็กฝาก

ข้อกฎหมาย เตือนใจ พ่อแม่เด็กเส้น -เด็กฝาก

7031

image

แม้ช่วงนี้จะยังไม่ปิดเทอม. แต่ทางทนายกฤษดา ขอฝากข้อเตือนใจสำหรับผู้ปกครอง. ที่คิดจะฝาก หรือสนับสนุนให้ลูกหลานท่าน ได้เข้าเรียนในโรงเรียนหรือคณะทีตนชื่นชอบ มีปัญหากันมากมายว่าตัวเด็กเอง หรือพ่อแม่ผู้ปกครองต้องการให้เข้าคณะนี้คณะนั้น. โรงเรียนนี้โรงเรียนนั้น ซึ่งก็จะมีมิจฉาชีพ ที่เห็นช่องหรือผลตรงนี้ก่อกำทำชั่ว มากบ้างน้อยบ้าง วันนี้ทนายกฤษดาจะมาขอเตือนใจ พ่อแม่ผู้ปกครองว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ใต้โต๊ะไปแล้ว. หากได้ก็เงียบไปแต่ถ้าไม่ได้ จะเรียกร้องฟ้องคืนได้หรือไม่. ดูตากคำพิพากษาฎีกา ดังต่อไปนี้

มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า เป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ความผิดฐานฉ้อโกงได้หรือไม่ มีฎีกาเทียบเคียงสองฎีกาคือ
1.คำพิพากษาฎีกาที่ 1960/2534 การที่ บ. และ ส. ตกลงให้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปมอบให้แก่คณะกรรมการสอบ หรือผู้สั่งบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งเสมียนได้
เพื่อให้ช่วยเหลือบุตรของตนเข้าทำงาน ในกรมชลประทานโดยไม่ต้องสอบนั้น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ถือได้ว่า บ. และ ส. ใช้ให้จำเลยกระทำผิดนั่นเอง บ. และ ส. จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง แม้จะได้ร้องทุกข์และพนักงาน สอบสวนทำการสอบสวนมาแล้วก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

2.คำพิพากษาฎีกาที่ 4744/2537 จำเลยตกลงกับ ร.ว่าถ้าให้เงิน60,000บาทบุตรของร.จะเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกได้ร. ได้ต่อรองเหลือ 50,000 บาทและ ร.ได้มอบเงินแก่จำเลยจนครบถ้วนแล้วแต่ต่อมาบุตรของร.สอบเข้าเรียนไม่ได้
เพราะจำเลยไม่สามารถช่วยให้เข้าเรียนได้ก็เป็นการหลอกลวง ร.ทั้งไม่ปรากฏว่าร. ได้ให้เงินแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการสอบคัดเลือกให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต
การที่จำเลยรับว่าจะช่วยบุตรของ ร.จึงเป็นการหลอกลวงร. เพื่อต้องการได้เงินจาก ร.เท่านั้นไม่ถือว่าร. ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน อันเป็นการใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดร. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้

ดังนี้พอสรุปได้ว่า

จากสองฎีกาข้างต้นประเด็นอยู่ที่ว่า พฤติการณ์ของผู้ต้องหาเป็นอย่างไร หากแสดงต่อผู้เสียหายว่า สามารถช่วยเหลือให้เข้าเรียนหรือเข้าทำงานได้ โดยไม่ได้แสดงข้อความว่า จะนำเงินไปให้แก่คณะกรรมการหรือเจ้าพนักงานที่จะช่วยเหลือให้เข้าเรียนหรือเข้าทำงาน ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วย
แต่หากแสดงข้อความว่าจะนำเงินไปมอบให้เจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการสอบเพื่อให้เข้าทำงานหรือให้สอบได้ หรือจะนำเงินไปมอบให้เจ้าพนักงานเพื่อช่วยให้พ้นผิด ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้ใช้ให้ผู้ต้องหาเป็นผ้กระทำผิด มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

ตามข้อเท็จจริง เมื่อผู้ต้องหาแสดงตัวว่าเป็น เจ้าพนักงานเรียกรับเงินจากผู้ต้องหา ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้มอบเงินให้ผู้ต้องหา ถือได้ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำผิดจึงไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะแจ้งความร้องทุกข์ในความผิดฐาน ฉ้อโกง

สำหรับความผิดตาม ม.143 ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย ซึ่งเป็นไปตามฎีกาต่อไปนี้

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2543

การที่จำเลยที่ 2 ร่วมเรียกและรับเงินไปจาก น. เป็นการตอบแทนโดยอ้างว่าจะนำไปใช้จูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาโดยวิธีการอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่ น. ในคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้องนั้น ครบองค์ประกอบตามผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ไปจูงใจผู้พิพากษาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ น. ก็ยังครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 143 แม้คำเบิกความของ น. ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้อง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2522

เรียกและรับเงินจากผู้ต้องหาอ้างว่าจะเอาไปให้พนักงานสอบสวนเพื่อช่วยให้พ้นคดีที่ต้องหา เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143

Facebook Comments