ในสังคมยุคปัจจุบัน สิทธิระหว่างหญิงกับชายย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน
ซึ่งตาม รัฐธรรมนูญ ก็ยังบัญญัติไว้
แต่ความเป็นจริงในครอบครัวบางครอบครัวก็ยังให้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เก็บเงินส่วนใหญ่ก็จะให้สิทธิคุณภริยา และบ่อยครั้งจึงทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลในการใช้จ่ายของฝ่ายสามีหากแต่จะรอให้คุณภริยากำหนดวงเงินในการใช้จ่ายในแต่ละวัน นั้นคงลำบากใจไม่ใช่น้อย ไหนจะค่าคบค้าสมาคม กับบรรดาคอสุรายาดองตอนเลิกงาน ไหนต้องเติมน้ำมัน ไหนจะต้องเทคแคร์ลูกค้า พาไปคลายเส้น หรือแล้วแต่รูปแบบตามสังคม เมื่อจำเป็นจนต้องแอบเอาสร้อยทอง แหวนทอง ของคุณภริยา ไปขาย หรือจำนำ เพื่อเอาเงินไปใช้จ่ายแก้ขัดบ้าง แต่หากภิริยาอยู่บ้านเก็บเงินอย่างเดียวก็ เบื่อๆเซ็งๆเหงาๆแอบเอาเงินไปเล่นป็อกเด้ง ซื้อหวย พอได้ลุ้นไปจนกลายเป็นปัญหา จึงจำเป็นเหมือนกัน ที่ต้องเอานาฬิกาเรือนทอง ของคุณสามีไปขายบ้างจะเป็นไร มั้ยหนอ.
กรณีคู่ผัวเมียละเหี่ยใจ ยังไงคู่กันแล้วก็คงไม่แคล้วกันไปได้ เมื่อจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย มาร่วมเรียงเคียงหมอนใบเดียวกัน ร่วมหอลงโรงอยู่บ้านหลังเดียวกันแล้ว ทรัพย์สินที่ท่านหามาได้ก็ ถือเป็น”สินสมรส “ กรณีหากอยู่กินกันฉันสามีภริยา และ ได้ทำมาหาได้ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างครอบครัว แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์สินที่หามาได้ก็ถือว่าทรัพย์สินนั้นเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือ ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในตัวทรัพย์นั้นๆ แต่กรณีถ้าเกิดสามีหรือภริยาได้ลักทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง กฎหมายท่านไม่เอาโทษ นะ ครับ หรือหากแม้จะเป็นการกระทำระหว่างพ่อแม่กับลูก ลูกกระทำต่อพ่อแม่ หรือระหว่างพี่กับน้องพ่อแม่เดียวกัน ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความกันได้ ครับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๑