Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ “อ่วมอรทัย” กับภาษีที่ดิน ภาษีบ้าน จริงหรือไม่?

“อ่วมอรทัย” กับภาษีที่ดิน ภาษีบ้าน จริงหรือไม่?

4000

กระแสยังแรงไม่มีตกสำหรับความเคลื่อนไหวของ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งในตอนนี้มีข่าวว่าจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีใหม่ ซึ่งไทยรัฐออนไลน์ รายงานข้อชี้แจงของ รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ว่า

“กระทรวงการคลังจะเสนอให้ลดอัตราภาษีของร่าง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. … ที่กำลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน มีนาคม โดยลดลงครึ่งหนึ่งจากของเดิมที่เคยเสนอ พร้อมกับยกเว้นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าตามราคาประเมินไม่เกิน 1 ล้านบาท”

เริ่มจาก ที่ดินเพื่อการเกษตรจะมีเพดานสูงสุดอยู่ที่ 0.25% จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ที่ 0.5% ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย อัตราสูงสุดไม่เกิน 0.5% จากเดิมอยู่ที่ 1%

ที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ อัตราสูงสุดไม่เกิน 2% จากเดิมเก็บสูงสุดไม่เกิน 4% ส่วนที่ดินว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะจัดเก็บในอัตรา 0.5% และจะปรับเพิ่มเท่าตัวในทุกๆ 3 ปี จากเดิมจัดเก็บสูงสุดที่ 4% ซึ่งรังสรรค์ กล่าวว่า “การปรับลดเพดานอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลงมาเพื่อไม่ให้ผู้เสียภาษีตกใจ” และกระทรวงการคลัง ยังจะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อย ผู้ที่มีบ้านและที่ดินมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านบาทก็จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่บ้านและที่ดินที่มีราคาเกินกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป จะอยู่ในข่ายของการเสียภาษีโดยบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าตามราคาประเมิน หลังหักค่าเสื่อมมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3ล้านบาทจะเสียภาษีในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราที่ประกาศคือ 0.25% ส่วนบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าเกินกว่า 3 ล้านบาท จ่ายเต็มตามอัตราที่ประกาศคือ 0.5%

++ คนที่มีบ้านและที่ดินราคา 1 ล้านบาทขึ้นไป อาจจะเสียภาษีตั้งแต่ 2,500 – 15,000 บาท

จากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับอัตราภาษี จะมีการเก็บภาษีร้อยละ 0.5 ของ “ราคาประเมิน” บ้านและที่ดินอยู่อาศัย โดยแบ่งเป็น

บ้าน+ที่ดิน ราคาไม่เกิน 1,000,000 ไม่ต้องเสียภาษี
บ้าน+ที่ดิน ราคา 1,000,001-3,000,000 จะเสียภาษี 50% (0.25) = 2,500 – 7,500 บาท
บ้าน+ที่ดิน ราคา 3,000,000 ขึ้นไป ต้องเสียภาษี 100% (0.5) = 15,000 บาท

ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมหรือที่ดินรกร้างว่างเปล่า จะเก็บภาษีร้อยละ 2 ของ “ราคาประเมิน”
ที่ดินเพื่อการเกษตร ที่มีเนื้อที่เกิน 20 ไร่ขึ้นไป จะเก็บภาษีร้อยละ 0.25 ของ “ราคาประเมิน”

อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการจัดเก็บภาษี ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างนานา อย่างในภาคธุรกิจ ว่าจะกระทบต่อคนชนชั้นกลางในเมืองมากน้อยเพียงไร
16731170715_004f5a8cac_b

++ กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง น่าหวั่นจะกระทบชนชั้นกลางแบกภาระภาษีไม่ไหว

เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า ปัญหาสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ “จะทำอย่างไรไม่ให้ผู้เสียภาษีมีภาระสูงจนแบกรับไม่ไหว” โดยเฉพาะผู้ที่มีบ้านอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ทางเศรษฐกิจที่มีราคาที่ดินและบ้านราคาสูง

จากข้อเสนอของกระทรวงการคลังจะเห็นว่า คนที่อยู่คอนโดมิเนียมมูลค่าเกิน 1-2 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษีแล้ว ส่วนคนที่มีบ้านพื้นที่ 70-100 ตารางวา ก็หนีไม่พ้นต้องเสียภาษีที่ดินอย่างหลีกเลียงไม่ได้ ส่วนที่ดินเพื่อการพาณิชย์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ หากมีที่ดินที่ยังไม่ได้ทำโครงการ ซึ่งควรต้องเสียภาษีเพราะถือเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ก็อาจมีช่องทางเลี่ยงไปขอเสียภาษีอัตราที่ดินเพื่อการพาณิชย์ เพื่อจะได้ไม่ต้องแบกรับภาษีสูงๆ

ขณะที่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าก็มีช่องเลี่ยงช่องใหญ่ ทำให้สุดท้ายการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาระหนักกลับตกอยู่กับคนที่มีที่่อยู่อาศัยทุกกลุ่ม ดังนั้น อัตราภาษีดังกล่าวจะสร้างปัญหาให้ความเป็นอยู่ของคนชั้นกลางที่เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว ต้องแบกรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น

++ ภาคธุรกิจกังวลกระบทประชาชน เพิ่มต้นทุนและผลักภาระภาษี ไม่ควรประเมินราคาที่ดินแบบเดียวกัน

เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ ให้ข้อมูลที่บ่งชี้ว่า กลุ่มธุรกิจด้านอสังหาริมทัพย์เองก็ยังไม่แน่ใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ว่าจะเพิ่มต้นทุนและผลักภาระให้กับประชาชนมากน้อยแค่ไหน

ยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอคิว เอสเตท ให้ความเห็นว่า การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถือเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะถูกผลักให้ผู้ซื้อบ้านในที่สุด หากผู้ประกอบการไม่รับภาระไว้เอง

เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริษัท เสนาดีเวลลอป เม้นท์ เปิดเผยว่า ภาษีที่ดินฯ อาจจะมีผลกับต้นทุนที่ดินไม่เกิน 1-2 % ซึ่งไม่ได้มีผลกับราคาบ้านมากนัก ขณะที่ผู้บริโภคจะมีภาระที่เพิ่มขึ้นจากการจ่ายภาษีที่ดินฯ

นอกจากนี้ อิสระ บุญยัง นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร มีข้อติติงว่า ราคาที่อยู่อาศัยที่จะถูกจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ไม่ควรกำหนดเป็นระดับราคาเดียวทั่วประเทศ เพราะค่าครองชีพแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน

++ คนในเมืองเดือนร้อน เสียภาษีเพิ่ม ค่าครองชีพสูง

หากมีการประกาศใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สิ่งแรกที่จะกระทบคนเมืองก็คือค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ผู้ซื้อห้องพักหรือคอนโดฯ และ ผู้ที่เช่าอาศัยตามห้องเช่า จะต้องแบกภาระภาษีจากที่ดินที่ตนอยู่อาศัย เพราะที่ดินเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งอัตราสูงสุดถึง 2 เปอร์เซ็นจากราคาประเมิน

ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ ผู้ประกอบกิจการ หรือ นิติบุคคลที่ดูแลกรรมสิทธิ์ร่วม(ที่ดิน)ของห้องพักหรือคอนโดฯ สามารถเรียกเก็บจากผู้พักอาศัยทุกคนได้ ทำให้คนที่เลือกย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองเพื่อหวังลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอาจต้องเผชิญหน้ากับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้นจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

++ อย่าเพิ่งรีบตกใจ ภาษีอาจจะไม่ได้สูงอย่างที่คิด มีสิทธิลดหย่อน

ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีได้เขียนอธิบายผ่านบล็อกส่วนตัว ชื่อ Taxbugnoms โดยประเมินว่าผลกระทบเมื่อมีการประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างว่า อาจจะไม่ได้มากอย่างที่คิด เพราะมีสิทธิลดหย่อน หักค่าเสื่อมราคาได้ ดังนี้

ตึกคอนกรีต ให้หักค่าเสื่อมราคาได้ 1% – 76% ต่อปี แล้วแต่ระยะเวลาที่ปลูกสร้าง
ตึกครึ่งไม้ ให้หักค่าเสื่อมราคาได้ 2% – 85% ต่อปี แล้วแต่ระยะเวลาที่ปลูกสร้าง
ที่อยู่อาศัยเป็นไม้ หักค่าเสื่อมราคาได้ 3 % – 95% ต่อปี แล้วแต่ระยะเวลาที่ปลูกสร้าง
ที่อยู่อาศัยเป็นห้องชุด หักค่าเสื่อมราคาได้ 1% – 10% ต่อปี แล้วแต่ระยะเวลาที่ปลูกสร้าง

นอกจากนี้ ยังมีเกณฑ์ขนาดพื้นที่ เช่น พื้นที่ไม่เกิน 50 ตารางวาสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และ 50 ตารางเมตรสำหรับห้องชุดได้รับการลดหย่อนภาษี ตามร่างกฎหมายฉบับเดิม ในมาตรา 30

Facebook Comments