กฎหมายลิขสิทธิ์ ให้อำนาจแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในการดำเนินการกับผู้ที่กระทำการละเมิดไว้ แต่ปัจจุบันนี้เจ้าของลิขสิทธิ์บางรายใช้อำนาจทางกฎหมายนี้หาประโยชน์เข้า ใส่ตัวเอง โดยใช้อำนาจทางกฎหมายออกไปจับกุมดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจประเภทร้าน อาหาร ภัตตาคาร สถานบันเทิง ที่ให้บริการฟังเพลงหรือร้องเพลงคาราโอเกะที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
เนื่องจากการกฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่าง เต็มที่ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการที่จะกระทำการใดๆ แก่งานของตน เช่น ทำสำเนา ดัดแปลง หรือนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลในเรื่องการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และความตกลงระหว่างประเทศด้านลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
ดังนั้น หากผู้ประกอบธุรกิจท่านใดนำงานเพลงไปเปิดให้บริการแก่ลูกค้าโดยไม่ได้รับ อนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนรับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถจับกุม ดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดได้
อย่างไรก็ตาม การจะจับกุมดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้นั้น เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนรับมอบอำนาจจะต้องไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ ตำรวจก่อน โดยการเข้าจับกุมทุกครั้งจะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนไม่อาจดำเนินคดีได้โดยลำพัง
เพราะฉะนั้น หากใครที่ไม่ต้องการที่จะตกเป็นผู้ต้องหาในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ควรจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ขอใบอนุญาตประกอบกิจการตามแต่ธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่ให้ถูกต้อง และไม่ควรที่จะลืมการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์จากเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย แต่เมื่อท่านเจอปัญหาตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ควรมีข้อปฏิบัติดังนี้
1.เมื่อตำรวจเข้าค้นและจับกุมลิขสิทธิ์ ท่านต้องตั้งสติให้ดี อย่าตื่นเต้นจนเกินไป
ติดต่อเพื่อนๆหรือ ญาติ ให้ชวนกันมาให้มากที่สุด ติดต่อผู้รู้ หรือนักกฎหมาย หรือโทรฯปรึกษาโดยทันที
2. ตรวจสอบเอกสารที่ตำรวจและทีมนำจับนำมา ซึ่งจะต้องมีเอกสารดังนี้
การเข้าค้น – ตามปกติต้องมีหมายค้น เว้นแต่ค้นโดยไม่ต้องมีหมาย (กรณีละเมิดลิขสิทธิ์นี้ยากมาก เพราะต้องผ่านการร้องทุกข์ รับมอบอำนาจ พนักงานสอบสวนจะสอบสวนเบื้องต้น ลง ปจว.ก่อนเข้าค้น เสียก่อน) มีรายละเอียดและขั้นตอนปฏิบัติก่อนค้นพอสมควร ใช้เวลา ปฏิบัติทันทีไม่ได้ ส่วนมาก ก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ต่างๆ มอบอำนาจให้ บริษัทจัดเก็บบ้าง ผู้แทนบ้าน เข้าแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้ พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกำหมาย หากไม่มีหมายค้น มา ก็ปฏิเสธไม่ให้เข้าค้นได้ มีอำนาจป้องกันและต่อสู้ขัดขวางเพื่อปกป้องทรัพย์และสถานที่ได้ด้วย
การจับ – จับตามหมายจับ หรือ จับด้วยเหตุที่ไม่ต้องมีหมายจับ คือ จับขณะกระทำผิดซึ่งหน้า การจับแบบมีหมายก็ต้องผ่านขั้นตอนเหมือนข้อแรก นำหมายจับมาแสดง หากท่านไม่ใช่เจ้าบ้าน ตำรวจต้องมีหมายค้นมาด้วย หากท่านเป็นเจ้าบ้าน หรือ เป็นคู่สมรสมีทะเบียน เป็นผู้ถูกจับก็ไม่ต้องใช้หมายค้น ใช้หมายจับแทนหมายค้นได้เลย หรือ มีพฤติการณ์กระทำผิดแล้วกำลังจะหลบหนี ไม่สามารถออกหมายจับได้ทันท่วงที แต่ต้องมีเหตุออกหมายจับได้ด้วย เขาก็จับได้โดยไม่ต้องมีหมาย อย่างไรก็ตาม แม้ละเมิดลิขสิทธิ์จะเป็นผิดซึ่งหน้า แต่ก็ต้องผ่าน กระบวนการร้องทุกข์ มอบคดี สอบสวนเบื้องต้นมาพอสมควรก่อน ไม่ใช่จะเข้าไปได้เลยในทันที การยืนยันชี้ให้จับกุมโดยอ้างว่าร้องทุกข์ด้วยวาจาไว้แล้ว ยังไม่น่าจะเพียงพอสำหรับคดีลิขสิทธิ์ และสุ่มเสี่ยงต่อการปฏิบัติหน้าทื่ ของ ตำรวจ
หมายศาล ซึ่งเป็นหมายค้น ในหมายศาลจะต้องอ่านดูว่า วันที่ในหมายศาล
หมดกำหนดหรือยัง (เพราะโดยปกติ ศาลจะไม่ออกหมายศาลเป็นเวลาหลายๆวัน)
สถาน ที่ให้เข้าค้น ชื่อร้านถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่บ้านเลขที่ถูกต้องหรือตรงกับร้าน เราหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ท่านปฏิเสธการเข้าตรวจค้น ถ้ายังไม่ยอมจะเข้ามาในร้าน ให้โทรศัพท์แจ้งตำรวจท้องที่ทันที
บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ,บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ,บัตรประจำตัวผู้รับ
มอบ อำนาจช่วง รูปในบัตรกับตัวจริงต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน และตรงกับที่ระบุในหมายศาล ท่านต้องยอมให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาในร้านได้แต่เฉพาะ บุคคลที่มีรายชื่อในหมายศาลเท่านั้น
อ่านข้อกล่าวหาว่า มาค้นในเรื่องอะไร เช่นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ดูในรายละเอียดว่า ลิขสิทธิ์โปรแกรมซอฟแวร์อะไร ลิขสิทธิ์เกมส์อะไรหรือลิขสิทธิ์เพลงอะไร เพื่อที่จะทราบในขั้นต้นว่า เรามีโปรแกรม หรือซอฟแวร์อะไร ที่เขาจะตรวจค้นเราหรือไม่
ดูการมอบอำนาจว่าถูกต้องหรือไม่ โดยหนังสือมอบอำนาจจะต้องมีการมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์จนถึงผู้รับมอบ อำนาจช่วงคนสุดท้ายโดยไม่ขาดสาย และตรวจสอบหนังสือยืนยันความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งตรวจสอบบัตรตัวแทนรับมอบอำนาจหรือหนังสือรับรองการเป็นตัวแทนรับมอบ อำนาจที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนบัตรประจำตัวประชาชนว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ที่ได้รับแต่ง ตั้งให้เป็นตัวแทนหรือไม่
ถ้าตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่ถูกต้อง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นการแอบอ้างจับกุมดำเนินคดีละเมิด ลิขสิทธิ์เพลง โดยที่ผู้จับกุมไม่มีอำนาจ แต่หากตรวจสอบแล้วถูกต้อง ก็ต้องยอมรับในการที่จะถูกจับกุม หากผู้ประกอบธุรกิจมีการกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์จริงการมอบอำนาจช่วง ต้องไม่ขาดตอน ถ้าขาดตอนการมอบอำนาจก็ไม่ถูกต้อง การค้นตามหมายศาลก็ไม่ถูกต้อง ท่านมีสิทธิที่ไม่ยอมให้ตรวจค้นได้
3. หลังการตรวจค้น ไม่ว่าจะพบหรือ ไม่พบการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ควรเซ็นชื่อในเอกสารใดๆที่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งให้ท่าน ไม่ว่าจะเซ็นรับทราบ หรือเซ็นยอมรับข้อกล่าวหาหรือเซ็นเพื่อยอมรับว่าไม่มีความเสียหายใดในการ ตรวจค้นครั้งนี้ ก็ตามควรที่จะปรึกษาผู้รู้หรือนักกฎหมายเสียก่อน
4. ในกรณีไม่มีหมายค้นโดยอ้างว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า และ /หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้แล้วท่านมี สิทธิ์ปฏิเสธการตรวจค้นได้ทันที เพราะกฎหมายข้อนี้
คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ มีความเห็นว่ากระทำไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบข้อหารือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การกระทำดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้โดยรายละเอียดปรากฏตามหนังสือของสำนักงา นกฤษฏีกา เรื่องเสร็จที่ ๔๕๒/๒๕๔๖ โดยมีสาระสำคัญว่า การตรวจค้นจับกุมดังกล่าวไม่เป็นข้อยกเว้นที่ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลเนื่องจากมิใช่กรณีเป็นความผิด ซึ่งหน้าหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ให้จับได้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย ซึ่งท่านสามารถนำไปอ้างอิง และโต้แย้งกับผู้ที่มาตรวจค้นจับกุมได้
5. ในกรณีที่มีการพบการละเมิดลิขสิทธิ์
– กรณีที่ท่านมีเจตนาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม
ก็ ควรเจรจากับตัวแทนหรือ ผู้รับมอบอำนาจของเจ้าของลิขสิทธิ์ (อย่าใช้ภาษากฎหมาย) โดยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์การยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย ไม่จำต้องยินยอมในวันที่ถูกจับ(ถ้าหากท่านสามารถประกันตัวในวันที่ถูกจับ ได้) อาจจะยินยอมในวันต่อๆมา
หรือ อาจเปลี่ยนเป็นสู้คดีก็ได้
-กรณีที่ท่านไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ท่านต้องเตรียมประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
6. การประกันตัว
– ปกติการประกันตัวหรือ ปล่อยชั่วคราว เป็นดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน หรือ
เจ้า หน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่จะกำหนดวงเงินประกันตัวในกรณีการจับกุมร้านเน็ตและเกมส์ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ผ่านมามักจะกำหนดในวงเงิน 50,000 บาท ถึง 200,000 บาท แต่ปัจจุบันนี้
ผบ.ตร.ได้มีหนังสือกำชับหน่วยงานของตำรวจให้ ปฏิบัติตามเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยได้ให้กำหนดจำนวนเงินในการประกัน ตัวผู้ต้องหาด้วยเงินสด จำนวน 50,000 บาท(ห้าหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนกำหนดเงินประกันเป็นเงินสด สูงกว่า 50,000 บาทท่านมีสิทธิ์ที่จะสอบถามและขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผบ.ตร.
-การประกันตัวนี้หากท่านไม่สามารถหาบุคคลหรือเงินสดมาค้ำประกันในการปล่อย ตัวชั่วคราวได้ท่านสามารถซื้อประกันอิสรภาพได้ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนักซึ่งจะทำให้ท่านพ้นจากการเรียกเงินประกัน จำนวนมากเพื่อบีบให้ยอมความโดยที่ท่านไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆเลย รายละเอียดตามเวปไซท์ด้านล่างนี้
(จดหมายเลขโทรศัพท์ไว้ด้วยเพื่อจำเป็นต้องใช้ในยามจำเป็น) http://www.viriyah.co.th/customer/cust_product_misc_freedom.asp
7.ว่าถ้ามีอยู่ในเครื่องคอมของเจ้าของร้านทำไมถึงผิด และเก็บไว้อย่างดีลูกค้าไม่มีทางหาเจอเป็นต้น และแม้จะมีอยู่ในเครื่องลูกค้า ก็เป็นเรื่องที่ลูกค้าโหลดไว้ มิใช่เจ้าของร้านโหลดไว้ และทราบได้อย่างไรว่าเจ้าของร้านโหลดไว้ อันนี้เป็นข้อต่อสู้คดีนะครับ
8.ถ้าตำรวจผู้นั้นไม่ยอมรับฟัง หรือบอกว่าหัวหมอ ก็ใช้ไม้ตายสุดท้ายคือสับสวิทย์ไฟลงทันที และถ้าตำรวจบอกว่าต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ฯลฯ ก็รีบให้ตำรวจแจ้งข้อหาและจับกุมเลยครับ (เพราะมันไม่ผิดข้อหานี้เพราะตำรวจถ้าไม่มีหมายศาลแล้ว เมื่อปิดร้าน ไม่มีอำนาจค้นแล้วครับ) เมื่อไม่มีอำนาจย่อมไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐาน ต่อสู้หรือขัดขวางฯลฯ ถ้าถูกตำรวจถูกจับ คนที่จะซวย(ติดคุก)ก็คือตำรวจครับ
9.เมื่อร้านเกมส์เป็นที่รโหฐานแล้ว หากแม้ตอนเข้ามาจะไม่ผิดบุกรุก แต่เมื่อเจ้าของสถานที่บอกให้ออกไป ย่อมต้องออกไปนะครับ ถ้าไม่ออกผิดบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 364,365 แล้วแต่กรณี
ขอบคุณ http://www.9ta9.com