Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ สาระสำคัญ พรบ.ทวงหนี้ (กฎหมายใหม่)

สาระสำคัญ พรบ.ทวงหนี้ (กฎหมายใหม่)

4079

image
กฎหมายทวงหนี้ ประกาศใช้แล้ว ( พรบ.ทวงถามหนี้ พ.ศ.2558)
สาระสำคัญของกฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ( 6 มีนาคม 2558) มานำเสนอ
1. คนทวงหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินห้าแสนบาท ตามมาตรา 39-มาตรา 45
2. นักทวงหนี้ต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการกำกับการทวงหนี้โดยต้องมีการจดทะเบียนต่อทางราชการ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา 39)
3. นักทวงหนี้ทวงได้เฉพาะลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเท่านั้น จะไปทวงกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นไม่ได้ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา 39)
4. ทวงหนี้ได้ เฉพาะสถานที่ที่ลูกหนี้ให้ไว้เท่านั้น ยกเว้นติดต่อไม่ได้ เวลาจันทร์-ศุกร์ 8.00-20.00 น. วันหยุดราชการ 8.00-18.00 น. นอกนั้นทวงไม่ได้ (มาตรา 9(2))
5. จำนวนครั้งต้องเหมาะสม ไม่ใช่ทวงทั้งวัน (มาตรา 9(3))
6. ผู้รับมอบอำนาจทวงหนี้ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจ รับชำระหนี้ต้องออกหลักฐานการชำระหนี้ตามมาตรา 9 และมาตรา 10
7. ห้ามข่มขู่ ดูหมิ่น เปิดเผย เกี่ยวกับความเป็นหนี้ ทวงโดยใช้ไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร ซองจดหมายที่มีข้อความหรือสัญลักษณ์ว่าส่งมาทวงหนี้ (มาตรา 11) ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินห้าแสนบาท (มาตรา 41)
8. ห้ามทวงหนี้ในลักษณะหลอกลวง แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น อ้างตัวเป็นทหาร ตำรวจ ทนายความ หรือขู่ว่าถ้าไม่จ่าย จะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือน หรืออ้างว่าดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตหรือรับจ้างจากบริษัทข้อมูลเครดิต (มาตรา 12)
9. ห้ามเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศ เช่น ค่าทวงหนี้ ค่าปรับ ต้องมีการกำหนดกันใหม่ หลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ (มาตรา 13)
10. ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับการทวงหนี้ ตามมาตรา 14 ฝ่าฝืนมีบทลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินห้าแสนบาท (มาตรา 42)

Facebook Comments