“หากรู้จักฎีกา ช่วยย่นระยะเวลาในการอ่าน”
คำพิพากษาฎีกาจำนวนมากที่ปรากฎในหนังสือหรือคำบรรยายต่างๆ หากเราสามารถตัดออกไปได้ จะช่วยประหยัดเวลาอ่านหนังสือได้พอสมควรครับ วิธีหนึ่งที่สามารถตรวจสอบได้คือ
1) ให้ดูว่าฎีกาไหนมีลักษณะข้อเท็จจริงเฉพาะ เช่น ราดของเหลวไวไฟใส่ผู้เสีย เป็นเจตนาฆ่าไตร่ตรองและ เล็งเห็นผลวางเพลิงเผาทรัพย์, ใช้สำลีอุดช่องคืนเงินโทรศัพท์ เป็นพยายามลักทรัพย์ ฎีกาประเภทนี้เรียกว่าฎีกาเฉพาะเรื่อง
2) มีความซับซ้อนในระดับกลางถึงสูง หมายถึง ฎีกาที่เกี่ยวพันหลายมาตรา หลายฐานความผิด สุดท้ายจบแบบคาดไม่ถึง
3) ไม่ใหม่เกินไปและไม่เก่าเกินไป /เนื่องจากแต่ละปี มีสอบเนฯ 2 ภาค อัยการหรือผู้ช่วยฯ อีกอย่างน้อย 4-6 ครั้ง มีโอกาสที่ฎีกาเด่นๆ จะถูกคัดเลือกเสมอ
หากฎีกานั้นครบทั้งสามเงื่อนไข มีแนวโน้มจะออกสอบไปแล้ว ให้ตรวจสอบจากข้อสอบเก่าของทุกสนาม
แต่ถ้า 1) เป็นฎีกาเก่า 2) ข้อเท็จจริงพื้นๆ ไม่ซับซ้อน 3) ถูกอ้างอิงมานานจนแทบจะเป็นหลักกฎหมาย ฎีกาประเภทนี้มีโอกาสออกข้อสอบซ้ำได้ เช่น ทวงหนี้โดยสุจริต ไม่เป็นลักทรัพย์ ชิงทรัพย์, ดักซุ่มยิง เป็นไตร่ตรอง, ใช้มือผลักเจ้าพนักงาน เป็นต่อสู้ขัดขวางโดยใช้กำลังประทุษร้าย ฯลฯ (สังเกตว่าฎีกาประเภทนี้ ในหนังสือจะย่อสั้นมากๆ จนเหลือแต่หลักกฎหมาย)
ขอบคุณ สู่เส้นทางฝันผู้พิพากษา