พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยใช้บังคับในอีก 180 วัน
พ.ร.บ.ฯ นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 มีค.2558 โดยจะมีผลใช้บังคับในอีก 180 วันถัดไป เหตุผลในการประกาศใช้คือ เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตามพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ตกลงเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิกของปฏิญญาฯดังกล่าว
พรบ.นี้ได้กำหนดให้ “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระทําหรือไม่กระทําการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจํากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด (มาตรา 3)
โดยให้มี “คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ”เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ สทพ.” ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ วลพ.” ให้มีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และ กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
พรบ.นี้บัญญัติว่า “การกําหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจะกระทํามิได้
การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย หรือการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” (ม.17)
โดย ” บุคคลใดเห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทําในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคําสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้มีสิทธิยื่นคําร้องต่อคณะกรรมการ วลพ. เพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศหรือไม่ คําวินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. ให้เป็นที่สุด ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคําร้อง การพิจารณา และการวินิจฉัยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ สทพ.
การร้องขอตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอํานาจ โดยให้ศาลมีอํานาจกําหนดค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินให้แก่บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศได้ และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศนั้นเป็นการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกําหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้
การใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศอาจขอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ยื่นคําร้องหรือฟ้องคดีแทนได้
การฟ้องคดีตามวรรคสอง ให้ฟ้องภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่คณะกรรมการ วลพ.มีคําวินิจฉัย หรือนับแต่วันที่ศาลปกครองมีคําพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี ” (ม.18)
ผู้ใดเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศโดยไม่เป็นธรรม มีโทษทั้งจำคุกและปรับ
ดูรายละเอียด พรบ.พรบ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พศ.2558 ทีประกาศราชกิจจานุเบกษา
Download พรบ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พศ.2558.PDF
นายเกรียงศักดิ์ นวลศรี น.บ น.บ.ท วิชาชีพว่าความ และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com