Home ทริบเทคนิค/บทความ เมาขับ ติดคุก

เมาขับ ติดคุก

6429

08ในช่วงนี้จะเห็นได้ว่ามีอุบัติเหตุที่เกิดจากดื่มสุราแล้วขับรถไปชน ไม่ว่าจะไปชนกลุ่มที่ปั่นจักรยานบ้าง  หรือแม้แต่ขับรถไปชนรถคันอื่น   จนก่อให้เกิดความสูญเสียจากอุบัติเหล่านี้มากมาย  แม้จะมีการรณรงค์กันมาโดยตลอดแต่ก็มิได้เกิดผลดีขึ้น  แต่กลับกันสิ่งเหล่าเพิ่มขึ้นทุกปีๆ จากการตระหนักถึงความรุนแรงและผลกระทบของปัญหาดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยออกกฎหมายบังคับใช้ในการควบคุมปัญหาเหล่านี้ เช่นพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่มีเนื้อหาควบคุมการจำหน่ายและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเดิมเพื่อส่งเสริมให้มาตรการลงโทษสำหรับความผิดในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่ยานพาหนะมีความรุนแรงเหมาะสมกับสภาพปัญหาสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เช่นพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก ( ฉบับที่ 7 ) พ.ศ.2550 ที่บัญญัติเพิ่มขนาดโทษที่ลงแก่ผู้กระทำความผิดฐานขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา  ต่อไปนี้เป็นบทบัญญัติของ พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่วางมาตรการเอาผิดแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา

1.  มาตรา ๔3 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ

(1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ

(2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น

(3) ในลักษณะกีดขวางการจราจร

(4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

(5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลังด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย

(6) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถหรือกลับรถ

(7) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ

(8) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น”

2. มาตรา 43 ตรี บัญญัติว่า “ในกรณีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดรถและสั่งให้มีการทดสอบตามมาตรา 142 ด้วย

3. มาตรา 43 จัตวา ในกรณีที่ผู้ตรวจการพบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) หรือมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้ผู้ตรวจการส่งตัวผู้นั้นพร้อมพยานหลักฐานในเบื้องต้นแก่พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจโดยเร็ว แต่ไม่ต้องเกินหกชั่วโมงนับแต่เวลาที่พบการกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อดำเนินคดีต่อไป

๔. มาตรา 142 เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ (1) รถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (2) เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืน มาตรา 43 (1) หรือ (2) ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจรพนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การทดสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว และเมื่อผู้นั้นยอมให้ทดสอบแล้ว หากผลการทดสอบปรากฏว่าไม่ได้ฝ่าฝืน มาตรา 43 (1) หรือ (2) ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที

การทดสอบตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดในกฎกระทรวง (“มาตรา 142″ แก้ไขโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก ( ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2535 และหลังสุดมาตรา 142 วรรคสาม” แก้ไขโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก ( ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2542 มาตรา 6

สำหรับหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้นกำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๖ ( พ.ศ. ๒๕๓๗ ) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยกระทรวงมหาดไทย ดังนี้

ข้อ ๑  การทดสอบผู้ขับขี่ว่าเมาสุราหรือไม่ ให้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่โดยใช้วิธีการตามลำดับ ดังต่อไปนี้

(๑) ตรวจวัดลมหายใจด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจหรือทดสอบให้ใช้เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจ (BREATH ANALYZER TEST)  และอ่าน

ค่าของแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

วิธีการตรวจหรือทดสอบ ให้ปฏิบัติตามวิธีการตรวจสอบของเครื่องตรวจแต่ละชนิด

(๒) ตรวจวัดจากปัสสาวะ

(๓) ตรวจวัดจากเลือด

การตรวจวัดตาม (๒) หรือ (๓) ให้ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถทดสอบตาม (๑)ได้เท่านั้น

ข้อ ๒  กรณีที่ต้องทดสอบโดยวิธีตรวจวัดจากเลือดตามข้อ ๑  (๓)   ให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และทำการเจาะเลือดภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม

ข้อ ๓  ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเมาสุรา

(๑) กรณีตรวจวัดจากเลือด เกิน ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

(๒) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะ ให้เทียบปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

(ก) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ ๒,๐๐๐

(ข) กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับเศษ ๑   ส่วน ๑.๓

 

5. มาตรา มาตรา 160 ตรี “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปีหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาทและให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

เห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดจากการเมาสุราแล้วขับ   โดยบัญญัติไว้เป็นกฎหมายบังคับใช้มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ด้วยวิธีการที่จะบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวที่ผ่านมานั้นมีรายละเอียดการปฏิบัติที่ยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่จะชี้การกระทำหรือลักษณะอาการของผู้ขับขี่ที่มีอาการเมา จนไม่สามารถขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยได้นั้น เป็นการยากหากผู้ขับขี่อ้างว่าตนเองไม่เมาและโดยสภาพที่พบเห็นยังคงสามารถขับขี่ยานพาหนะนั้นไปได้โดยไม่ถึงขั้นเมามายไร้สติ  ซึ่งผู้ขับขี่ที่ยังคงพอขับขี่ยานพาหนะไปได้เหล่านี้นั่นเองที่ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุเมาแล้วขับปี ๒๕๓๗  กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 16  ซึ่งขยายความละเอียดในการปฏิบัติตาม พรบ.จราจรทางบกฯ ในเรื่องการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด และการกำหนดค่ามาตรฐานปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับวินิจฉัยหรือระบุอาการเมาของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ตามที่กล่าวแล้วนั้น  เมื่อพิจารณาจากปัญหาพฤติกรรมผู้ขับดื่มสุราหรือของมึนเมาอื่น ๆ ขณะขับ ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดอุบัติเหตุและความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมากนั้น ไม่อาจยกกล่าวทบทวนถึงข้อสงสัยหรือข้ออ้างทั้งหลายเหล่านั้นได้  เนื่องจากการที่สังคมไทยบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก็เพื่อความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ยิ่งโดยเฉพาะปรากฏในระยะหลังถึงปริมาณการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการเมาแล้วขับมีจำนวนมากขึ้น ทั้งปริมาณการดื่มสุราของคนไทยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการที่คนไทยมียานพาหนะเพิ่มขึ้น ใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้น  การบังคับใช้กฎหมายโดยเข้มงวดของเจ้าหน้าที่จึงเป็นไปด้วยความเหมาะสมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่   แต่อย่างไรก็ตามหากบุคคลผู้ใช้รถมิได้ตระหนักถึงการทมี่ว่าเมื่อเมาแล้วควรไม่ขับแม้จะบังคับใช้กฎหมายเข้มงวดก็มิอาจทำให้อุบัติเหตุลดลงไปได้   หากแต่เมื่อทุกคนรู้ตระหนักในสิ่งเหล่านี้ อุบัติเหตุก้ลดน้อยลงไป ทั้งเป้นการลดภาระหน้าที่ของรัฐอีกทางหนึงด้วย  ผมหวังว่าทุกคนจะตระหนักได้นะครับ

 

เอกสารอ้างอิง  พระราชบัญญัติจราจรทางบก   พ.ศ  2522

กฎกระทรวงฉบับที่  16  (2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก   พ.ศ  2522

 

 

นายเกรียงศักดิ์   นวลศรี      น.บ    น.บ.ท  วิชาชีพว่าความ  และผู้เขียนบทความใน  เว็บตั๋วทนาย.com

Facebook Comments