1.ใจกล้าเข้าไว้
หากเงินนั้นจำนวนไม่มาก และไม่กล้าเอ่ยปากอาจต้องปล่อยผ่านไป และคิดว่า ‘ช่างมัน’ แต่ถ้าเงินก้อนนั้นจำเป็นกับคุณและครอบครัว ต้องมีความกล้า และใจแข็ง การให้ยืมเงินเป็นการให้ความช่วยเหลือ และถือเป็นธุรกิจ ถ้าไม่มีกำไร(ไม่คิดดอกเบี้ย) อย่างน้อยควรได้ทุนคืน ไม่ใช่หนี้สูญ
ให้เกียรติลูกหนี้เสมอทั้งต่อหน้า และลับหลัง
2.ให้เกียรติเขาเสมอ
ไม่ว่าลูกหนี้จะเป็นใคร สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกียรติเขาเสมอ การเป็นหนี้ไม่ได้หมายถึงการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นคนของลูกหนี้ การเปิดเผยว่าเขาเป็นหนี้อาจทำให้กระทบต่อชีวิตด้านอื่น ตามบทบาทในสังคมของเขาด้วย
3.หนักแน่นในจุดยืน
หากต้องการคุยถึงหนี้สินที่ติดค้าง ควรหนักแน่นในจุดยืน ใช้ความสุภาพ และทำอย่างเป็นการส่วนตัว เช่น ส่งอีเมล์ คุยทางโทรศัพท์ หรือพบปะกันเป็นการส่วนตัว
ตั้งสติ คิดให้ดีก่อนที่จะพูด
4.ลดความตึงเครียด
ก่อนการพูดคุย ควรสร้างบรรยากาศที่ดีเพื่อลดความตึงเครียดให้ลูกหนี้ หรือหาจังหวะทวงถามอย่างแนบเนียบ เช่น คราวที่แล้วฉันจ่ายไป ครั้งนี้เธอจ่ายให้ฉันบ้างนะ
5.ชื่นชมความสามารถ
ถ้าเป็นเงินจำนวนมาก บริบทการพูดคุยควรเพิ่มการชื่นชมความสามารถของเขาบ้าง เพื่อเป็นการให้กำลังใจก่อน ตามด้วยความสามารถที่เขามี และคุณเชื่อว่าเขาต้องปลดหนี้ได้แน่ๆ
อย่าท้อแท้ ต้องอดทน เพราะฉันเองก็มีเหตุผลไม่ต่างกัน
6.พยายามเตือนความจำ
พยายามติดตามเตือนความจำบ้าง เพราะลูกหนี้บางคนอาจมีนิสัยขี้ลืมจริงๆ ไม่ได้มีเจตตาต้องการผิดสัญญา แต่ถ้าระยะเวลาเริ่มเนิ่นนานเกินกว่าจะรับได้ ขอให้คิดหาเหตุผลถึงความจำเป็นที่คุณต้องใช้เงินก้อนนี้มาบอก พูดกันอย่างตรงไปตรงมา เช่น ถ้าไม่ได้เงินก้อนนี้คืน ครอบครัวเราต้องเดือดร้อนแน่ๆ ถึงคราวที่เธอต้องช่วยฉันแล้ว (เป็นการวัดใจไปในตัว)
ยื่นข้อเสนอให้ลูกหนี้สบายใจมากขึ้น
เพื่อเป็นการลดความอึดอัดใจด้วยทางเลือกใหม่ เช่น เปิดใจคุยกันและยื่นเสนอขยายเวลาชำระหนี้ออกไป แต่อย่าเสนอลดหนี้ เพราะจะเป็นการทำให้เขาเคยตัว
7.ให้บุคคลที่สามช่วยเจรจา
ซึ่งควรเลือกจากบุคคลที่ลูกหนี้ให้ความเคารพและเกรงใจ เช่น พ่อแม่ คนในครอบครัวของลูกหนี้ หรือเพื่อนสนิท
ใช้กฎหมายเป็นตัวช่วย
หากเลือกใช้หลายวิธีแล้วไม่ได้ผล อาจต้องทำใจยอมรับว่า ‘หนี้สูญ’ แต่หากทำใจไม่ได้คงต้องใช้กฎหมายเป็นตัวช่วย ก่อนลงมือควรแจ้งให้เขาทราบก่อนด้วยว่า คุณผิดหวังในตัวเขามากแค่ไหน และกำลังจะดำเนินการอะไรต่อไป