มีปัญหาว่าเมื่อศาลออกหมายจับแล้วจะเพิกถอนได้หรือไม่ และมีปัญหาต่อมาว่าเมื่อยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมานจับ แล้วศาลมีคำสั่งนั้นจักมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้หรือไม่ เห็นว่า ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 วางหลักไว้ว่า ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้
( 1 ) ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น
( 2 )………………………………..ฯลฯ………………………………………………………………….
ในการออกหมายอาญา ประเภทหมายจับ นั้นผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจในการออกได้ นั้น ในการออกนั้นต้องเหตุตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา มาตรา 66 ชึ่งวางหลักการออกหมายจับไว้ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะกระทำควา่มผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี
(2) หรือเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะกระทำควา่มผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี……” และมาตรา 59/1 วางหลักไว้ว่า ” ก่อนออกหมายจับต้องปรากฎพยานหลักฐานตามสมควรที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่ามีเหตุออกหมายตามมาตรา 66 , 69 หรือ มาตรา 71…….”
จะเห็นได้ว่า การออกหมายจับตามคำร้องของพนักงานสอบสวนนั้นเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น วึ่งเป็นอำนาจพิเศษที่ให้มีอำนา่จในการออกหมายจับตามคำร้องข้างต้นนั้นได้แต่อย่างไรก้ตามต้องอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา มาตรา 66 และ มาตรา 59/1 โดยเฉพาะเท่านั้น จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายให้หรือมีความประสงค์ให้ยื่นอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 193 เพราะจะทำให้กระบวนการยุติธรรมนั้นล่าช้า จะเห็นได้จาก กรณีมาตรา 59 วรรคสาม ที่วางหลักไว้ว่า ” ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนซึ่งมีเหตุสมควรโดยผู้ร้องไม่อาจมาได้ศาล อาจร้องขอต่อศาลทางโทรศัพท์ โทรสาร ……” เมื่อศาลสอบถามจนปรากฎว่ามีเหตุที่จะออกหมายจับได้ตามมาตรา 59/1 และมีคำสั่งให้หมา่ยนั้น….”
ปัญหาข้างต้นที่ว่าเมื่อศาลออกหมายจับแล้วจะเพิกถอนได้หรือไม่นั้น ตามาตรา 59 วรรคสี่ ตอนท้าย วางหลักไว้ว่า “…..หากความปรากฎต่อศาลในภายหลังว่าได้มีการออกหมายจับไปดดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ศาลอาจมีอำนาจให้เพิกถอนหมายจับหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายจับได้ ทั้งนี้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอจัดการแก้ไขเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรก็ได้ “ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการให้อำนาจศาลชั้นต้นโดยตรงในการที่แก้ไขเยียวยาความเสียหายจากการออกหมายจับดดยฝ่าฝืนกฎหมายไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ทั้งนี้จะสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้หรือไม่ ก็มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาที่จะยื่นอุทธรณ์แต่ประการใด แสดงให้เห็นว่ากฎหมายมีเจตนารมย์ที่จะให้กระบวนการออกหมายจับ การเพิกถอนหมายจับ ตลอดการเยียวยาความเสียหายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ยุติลงในชั้นศาลชั้นต้นเท่านั้น
นายเกรียงศักดิ์ นวลศรี น.บ น.บ.ท วิชาชีพว่าความ และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย .com