Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ สรุปแนวฎีกาเรื่อง จับ ค้น ขัง ปล่อยชั่วคราว

สรุปแนวฎีกาเรื่อง จับ ค้น ขัง ปล่อยชั่วคราว

7387

สรุปแนวฎีกาเรื่อง จับ ค้น ขัง ปล่อยชั่วคราว



http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=3C9E7EB4DAJL76N1FCZHR9919V111R

 

สรุปแนวฎีกาที่เกี่ยวข้อง

1. จัดการตามหมายจับใช้สำเนาก็ได้ ฎ.3031/2547

2. พบไม้หวงห้าม , สุราเถื่อน ไม่เป็นความผิดซึ่งหน้า ฎ.2535/2550

,ฎ.3743/2529 , ฎ.3227/2531

3. พบแผ่นซีดีเกมส์ ละเมิดลิขสิทธิ์ , ยาเสพติด เป็นความผิดซึ่งหน้า ฎ.6891/2549 , ฎ. 1328/2544 , ฎ. 1164/2546 ฎ.3751/2551

4. แอบดูเห็นเล่นการพนัน , ซื้อขายยาเสพติด เป็นความผิดซึ่งหน้า ฎ.698/2516 ประชุมใหญ่ , ฎ.2848/2547,ฎ.7454/2544

4.1 การทะเลาะวิวาทซึ่งได้ยุติลงไปก่อนแล้ว ไม่ใช่การกระทำผิดซึ่งหน้า ตำรวจซึ่งมาภายหลังเกิดเหตุ ไม่มีอำนาจจับโดยไม่มีหมายจับ ฎ.4243/2542,ฎ2353/2530

4.2 ขณะเกิดเหตุที่จำเลยแทงผู้ตาย ผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุและไม่เห็นเหตุการณ์ โดยผู้เสียหายยืนอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 50 เมตร มองไม่เห็นที่เกิดเหตุเพราะมีร้านค้าบังอยู่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรจึงไม่มีอำนาจจับตามกฎหมายเพราะมิใช่ความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 79 (ฎ.4282/2555)

5. กฎหมายเดิมร้องทุกข์ไว้แล้วไปพบเห็นผู้กระทำผิดอยู่ที่ไหนขอ

ให้ตำรวจจับได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับ ฎ.741/2522 แต่ตามมาตรา 78 ใหม่ตัดหลักเกณฑ์นี้ไปแล้ว จึงต้องออกหมายจับ

5.1 การแจ้งข้อหาแก่จำเลยยังไม่ถือว่าจำเลยถูกจับ ฎ.8458/2551,ฎ.6635/2551,ฎ6208/2550 ประชุมใหญ่,ฎ.5042/2549,ฎ5499/2549,ฎ.3952/2549,ฎ8708/2547,ฎ.6600/2549 กรณีถือว่าจำเลยถูกจับ ฎ.8314/2549,ฎ1997/2550

6. โรงหญิงนครโสเภณี วัดวาอาราม โรงละคร โรงแรม ตามปกติเป็นสาธารณสถาน แต่บางส่วนหรือบางเวลาที่ไม่อนุญาตให้เข้าไปไม่ใช่ที่สาธารณสถาน

7 .สถานีรถไฟ และสถานที่บนขบวนรถไฟโดยสาร ไม่ใช่

ที่รโหฐาน ฎ.2024/2497

8. ห้องโถงและห้องพักในสถานค้าประเวณีเวลารับแขก

มาเที่ยว เป็นสาธารณสถาน ฎ.883/2520 ประชุมใหญ่ , ฎ.69/2535

ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น

9. โรงค้าไม้บริเวณด้านหน้า และด้านหลังที่ใช้เป็นที่อาศัยไม่ใช่สาธารณสถาน แต่เป็นที่รโหฐาน ฎ.2914/2537

9.1 บ้านยังไม่มีประตูรั้วกับประตูบ้าน ทั้งยังสร้างไม่เสร็จ แต่โดยสภาพของบ้านที่พักอาศัยย่อมเป็นที่รโหฐาน ฎ.6557/2547

10. ถ้าผู้กระทำผิดต่อสู้ขัดขวาง ผู้จับกุมไม่ต้องแจ้งว่าเขาต้องถูกจับ ฎ.319-320/2521

11. แม้การจับกุมควบคุม ค้น จะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ทำให้การสอบสวน ที่ชอบด้วยกฎหมายเสียไปด้วย ฎ.157/2540 , ฎ.2699/2516 , ฎ.3238/2531 , ฎ.1493/2550 , ฎ.4113/2552

12. คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุม ห้ามรับฟังเป็นพยานโดยเด็ดขาด แต่ไม่มีผลย้อนหลัง ฎ.931/2548 ประชุมใหญ่ , ฎ.2215/2548

12.1 การออกหมายจับผู้ต้องหาเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวใน ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ฎ.479/2555

13. ถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับแล้ว เช่นรับว่าอาวุธของกลางเป็นของตน รับว่าตนอยู่

ในเหตุการณ์ รับว่าตนมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย

14. มาตรา 93 แสดงว่า การค้นบุคคลในที่สาธารณสถานไม่ต้องมีหมายค้นแต่ต้องมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของในครอบครองเพื่อจะใช้กระทำผิด ฯลฯ

และเมื่อตรวจค้นแล้วพบว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าก็จับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ เช่น

พบแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ ฎ.6894/2549 พบจำเลยมีพฤติการณ์อันควรสงสัย และนำปืนติดตัวโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฎ.9212/2539 ค้นจำเลยขณะยืนซุบซิบกันหลังสถานีรถไฟ ฎ.1082/2507 เป็นผู้ต้องหาที่มีผู้แจ้งว่าจะไปทำความผิดและมีอาวุธปืน ฎ.1152/2521 ค้นตัวจำเลยขณะกำลังขายก๋วยเตี๋ยว และค้นพบเมทอยู่ในกระเป๋าคาดเอวของจำเลยเป็นความผิดซึ่งหน้า ตำรวจตรวจค้นและจับกุมได้โดยชอบ ฎ.3751/2551

14.1 จำเลยนั่งโทรศัพท์อยู่บนถนนไม่ได้อยู่หลังซอยที่อ้าง ว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำ ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีท่าทางพิรุธ การที่ตำรวจอ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงขอตรวจค้นโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงสงสัย เป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียง อย่างเดียวถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยมีสิทธิโต้แย้งและป้องกันสิทธิของตนได้ (ฎ.8722/2555)

15. ร้านค้า ร้านกาแฟ ถนนซอยในที่ดินเอกชน ซึ่งแบ่งให้คนอื่นปลูกบ้าน เป็นสาธารณสถาน ฎ.1362/2508 , ฎ.1732/2516 , ฎ.1908/2518

16. เมื่อค้นในที่รโหฐานผู้ค้นมีอำนาจค้นตัวบุคคลที่ขัดขวางการค้นและ

ยึดสิ่งของที่ซุกซ่อนในร่างกายได้ มาตรา 100 วรรคสอง

17. เมื่อจับตัวผู้ต้องหา ผู้จับมีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหา และยึดสิ่งของที่ใช้เป็นพยานได้ มาตรา 85 วรรคหนึ่ง

18. หมายค้นแม้จะระบุเลขที่บ้านผิดก็เป็นหมายค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.3479/2548 , ฎ.6942/2551 , ฏ.1328/2544

19. มีผู้ร้องเรียนว่าจำเลยตอนกลางวันจะปิดบ้านเก็บตัวในบ้านกลางคืนออกจากบ้าน ไม่ยุ่งกับเพื่อนบ้าน ไม่ปรากฏอาชีพ มีเหตุสงสัยว่ามีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนในบ้าน ออกหมายค้นได้ ฎ.5479/2536

20. เมื่อตรวจค้นตามหมายค้น พบผู้กระทำผิดซึ่งหน้าผู้จับมีอำนาจจับได้ โดยไม่ต้องออกหมายจับอีก ฎ.360/2542

21. เมื่อกระบวนการต่าง ๆ ในการค้นตามหมายค้นได้เสร็จสิ้นแล้ว เจ้าของบ้านที่ถูกค้นจะขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานที่มาในการขอออกหมายค้นไม่ได้ หากติดใจว่าการตรวจค้นไม่ชอบต้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก ฎ.270/2543

22. ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตำรวจสามารถค้นรถยนต์ได้ โดยตีความ

ที่รโหฐานคือสถานที่หรือที่ตั้ง ซึ่งเคลื่อนย้ายไม่ได้ แต่รถยนต์เคลื่อนที่ได้ จึงไม่ใช่

ที่รโหฐาน ตรงกับหลักกฎหมายอเมริกา (ยังไม่มีฎีกาเป็นบรรทัดฐาน)

23. ตำรวจจับได้ขณะจำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่ผู้ล่อซื้อ

เป็นความผิดซึ่งหน้าและเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตำรวจจึงมีอำนาจค้นบ้านซึ่งเป็นที่รโหฐานเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้น และจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ฎ.4461/2540

24. ตำรวจเห็นจำเลยส่งมอบยาบ้าแก่สายลับจึงจับกุม เมื่อตรวจห้องก็พบยาบ้าอีกจำนวนหนึ่ง การตรวจค้นจับกุมกระทำต่อเนื่องกัน เป็นความผิดซึ่งหน้าทั้ง2 ข้อหา (จำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่าย) จึงมีอำนาจค้นและจับโดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ ฎ.2848/2547

25. ก่อนตรวจค้นตำรวจเห็นจำเลยโยนยาบ้าออกไปนอกหน้าต่าง

เป็นความผิดซึ่งหน้าข้อหามียาเสพติดไว้ในครอบครอง และได้กระทำในที่รโหฐาน จึงมีอำนาจจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้น ฎ.1164/2546

26. เห็นจำเลยขุดแปลงผักแล้วเอาสิ่งของใส่ในหลุมที่ขุดแล้วกลบไว้

เมื่อตำรวจใช้จอบขุดหลุมพบยาบ้า ถือว่ามีเหตุสงสัยว่าสิ่งของได้ซ่อนอยู่ที่เกิดเหตุทั้งมีเหตุเชื่อว่า หากเนิ่นช้าสิ่งของจะถูกโยกย้ายเสียก่อน จึงสามารถค้นได้โดยไม่มีหมายค้น ฎ.1605/2544

27. ตำรวจจับกุม จำเลยพร้อมยาบ้า ในเวลา 16.00 น. เป็นเวลาเย็นใกล้มืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดขนย้ายหลบหนีได้ง่าย โดยเฉพาะเวลากลางคืน และสถานีตำรวจมิได้อยู่ใกล้กับศาล หากขอหมายค้นทำให้เนิ่นช้า จึงค้นได้โดยไม่มีหมายค้น ฎ.7387/2543

28. “เจ้าบ้าน” หมายถึง หัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น รวมตลอดถึงคู่สมรสของหัวหน้าเท่านั้น ฎ.1035/2536

29. เจ้าของที่รโหฐานยินยอมในการค้น แม้ไม่มีหมายค้นถือว่าชอบด้วยกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 วรรคสาม และ ฎ.1164/2546,ฎ1328/2544

30. การจับกุมโดยมีหมายจับและหมายค้น หากเจ้าของบ้านไม่ยอมให้เข้าไปค้นเจ้าพนักงานมีอำนาจใช้กำลังทำลายประตูบ้านเข้าไปจับกุมได้ถือว่าเป็นกรณีจำเป็น ฎ.6403/2545

31. ตำรวจตรวจค้นจับกุมเวลา 18.02 น. แสดงว่า ลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จ จึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไปในเวลากลางคืนได้ ฎ.6403/2545

32. กำนันเห็นเจ้าของบ้านกับพวกกำลังต้มกลั่นสุราเถื่อนอยู่ในบ้านเวลากลางคืน นับเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง กำนันจึงเข้าไปจับกุมได้ ไม่ผิดฐานบุกรุก ฎ.1087/2492

33. ตรวจค้นจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนัน เป็นความผิดซึ่งหน้าและเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตรวจค้นและจับเวลากลางคืนได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ ฎ.4950/2540 , ฎ. 698/2518 ประชุมใหญ่

34. จำเลยมีและดื่มสุราเถื่อนเพียงเล็กน้อยวิ่งหลบหนีไปบนเรือน ไม่ปรากฏว่าจำเลยจะซุกซ่อนหรือหลบหนีไปไหน ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งที่จะเข้าจับกุมในบ้านเวลากลางคืนได้ ฎ.675/2483

35. จำเลยกระทำผิดซึ่งหน้าในความผิดลหุโทษในเวลากลางคืน

แล้วหลบหนีเข้าบ้านซึ่งตำรวจรู้จักบ้านอย่างดีแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยจะหลบหนี

ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ที่จะจับกุมในที่รโหฐานเวลากลางคืนได้ ฎ.187/2507 , ฎ.706/2516

36. การค้นในที่รโหฐาน ต่อหน้าบุตรเจ้าของบ้านแม้จะยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่เข้าใจสาระสำคัญของการกระทำและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอ ก็เป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.1455/2544

37. เมื่อมีเหตุให้เชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้าน หากไม่ตรวจค้นของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย การตรวจค้นโดยไม่ทำลายกุญแจไม่อาจทำได้ ทั้งการตรวจได้กระทำต่อหน้าพยาน 2 คน จึงเป็นการตรวจค้นที่ชอบ ฎ.4791/2528

38. การค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวซึ่งตาบอดทั้งสองข้างและหูหนวกและบุคคลอื่นอีก 1 คน เป็นการค้นโดยชอบ ฎ.395/2519

39. กรณีเชิญบุคคลอื่นมาเป็นพยาน ต้องเชิญมาขณะตรวจค้นพบของกลาง ถ้าเชิญมาภายหลังตรวจค้นแล้ว เป็นการไม่ชอบ ฎ.4793/2549

40. คดีที่อยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ถ้าจำเลยถูกควบคุมหรือขังมาแล้วเท่ากับหรือเกินกว่าโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลออกหมายปล่อยจำเลย เว้นแต่จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่นในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ท.165/2552

41. ผู้ต้องหาที่ยังไม่ถูกจับกุมไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนหรืออัยการ และไม่มีเหตุที่จะออกหมายขังจะขอให้ศาลออกหมายขังระหว่างสอบสวนไม่ได้ ฎ.8708/2547 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 134 ที่แก้ไขใหม่

42. คำสั่งศาลอนุญาตให้ฝากขังโดยผู้ต้องหาไม่ค้านเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาภายหลังผู้ต้องหาจะอ้างว่าถูกทำร้ายขู่เข็ญให้รับสารภาพ ก็ไม่มีผลให้คำสั่งอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.3502/2542

43. คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ขังผู้ต้องหาต่อไป จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ฎ.1125/2496 ประชุมใหญ่

44. ระยะเวลา 48 ชั่วโมง ตามป.วิ.อ. มาตรา 87 วรรคสามตอนต้น ให้นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่นับแต่เวลาที่จับกุมตัว ฎ.984/2529

45. การที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ขอฝากขังผู้ต้องภายในกำหนดหรือเมื่อครบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 87 แล้ว ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป แต่ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฎ.4294/2550 ซึ่งต่อมาถ้าต้องฟ้องผู้ต้องหา ตำรวจก็มีอำนาจจับตัวมาเพื่อฟ้องได้ ฎ.515/2491 ประชุมใหญ่

46. อัยการฟ้องโดยจำเลยถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ทำให้กระบวนการสอบสวนที่ชอบและการนำคดีมาฟ้องยังศาลเสียไป ฎ.4113/2552

47. ถ้าศาลออกหมายขังผู้ต้องหาแล้วหลบหนีไป ถือว่าผู้ต้องหาอยู่

ในอำนาจของศาลแล้ว ไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาลในวันยื่นฟ้อง ฎ.1735/2514

48. ก่อนประทับฟ้อง ศาลไม่มีอำนาจออกหมายขังจำเลย ตาม ป.วิ.อ. 71 ฎ.2756/2524

49. การออกหมายขังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 88 ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบ 66 เช่นเดียวกับการออกหมายขังระหว่างสอบสวนตามมาตรา 87 ฎ.4752/2549

50. จำเลยที่ถูกขังในคดีหนึ่งแล้ว เมื่อถูกฟ้องอีกคดีหนึ่ง ศาลก็ออกหมายขังได้อีก ฎ.2766/2540

Cr.คุณทรงพล

Facebook Comments