Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ 14 ประเด็นร้อน แก้ไข ค้ำประกัน/จำนอง ที่ทนายความต้องรู้!!!

14 ประเด็นร้อน แก้ไข ค้ำประกัน/จำนอง ที่ทนายความต้องรู้!!!

3833

กราบสวัสดี พี่น้องทนายความ นักกฎหมาย และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ตามที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ มีการแก้ไขเรื่องสำคัญในส่วนของการค้ำประกันและจำนองซึ่งมีสาระสำคัญหลักดังๆนี้

 

 

การบังคับใช้กฎหมายใหม่ (มีผลบังคับใช้แล้ว)

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗
มาตรา ๒ บัญญัติว่า “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๗ กฎหมายใหม่จึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

 

เรื่องสำคัญในส่วนของการค้ำประกันและจำนองซึ่งมีสาระสำคัญหลักดังๆนี้

 

(๑) แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการค้ำประกันเพื่อประกันหนี้ในอนาคต มาตรา ๖๘๑ (บทบัญญัติเรื่องจำนอง
มาตรา ๗๐๗ ให้นำมาตรา ๖๘๑ มาใช้กับการจำนองโดยอนุโลมด้วย)

(๒) กำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เป็นโมฆะ มาตรา ๖๘๑/๑ //ตั๋วทนาย.com//

(๓) กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ าประกันที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติที่มีไว้เพื่อคุ้มครอง
ผู้ค้ำประกันมิให้ต้องรับผิดเกินสมควร เป็นโมฆะ มาตรา ๖๘๕/๑

(๔) กำหนดเรื่องเจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวผู้ค้ำประกันก่อนจึงจะบังคับผู้ค้ำประกันได้ และกำหนดผลว่า
ถ้าเจ้าหนี้ไม่บอกกล่าวภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
ในส่วนที่เป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ มาตรา ๖๘๖//ตั๋วทนาย.com//

(๕) แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ค้ำประกันได้ประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้กระทำการใดๆ อันมีผลเป็นการลด
จำนวนหนี้ให้ลูกหนี้ รวมถึงกำหนดว่า ข้อตกลงที่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันเป็นโมฆะ
มาตรา ๖๙๑

(๖) แก้ไขเรื่องการผ่อนเวลา โดยห้ามกำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าให้ผู้ค้ำประกันยินยอมในการ
ผ่อนเวลา มาตรา ๗๐๐//ตั๋วทนาย.com//

(๗) กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการบังคับจำนองที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติที่มีไว้เพื่อคุ้มครอง
ผู้จ านอง เป็นโมฆะ (มาตรา ๗๑๔/๑)
(๘) แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗๒๗ จากการประกันด้วยบุคคลคนเดียวเป็นบุคคลหลายคนที่จำนอง
ประกันหนี้ที่บุคคลอื่นต้องชำระ และ เพิ่มให้ผู้จำนองซึ่งจำนองประกันหนี้ที่บุคคลอื่นต้องชำระ
นำบทบัญญัติมาตรา ๖๙๑ มาใช้อ้างได้ด้วย

(๙) กำหนดความรับผิดของผู้จำนองที่จำนองประกันหนี้ที่บุคคลอื่นต้องชำระ ไม่ต้องรับผิดเกิน
ไปกว่าราคาทรัพย์ที่จำนอง และ กำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้จำนองต้องรับผิดเกินไปกว่าที่กฎหมาย
กำหนด เป็นโมฆะ มาตรา ๗๒๗/๑

(๑๐) แก้ไขเพิ่มเติมขั้นตอนการบังคับจำนองให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงการคุ้มครองผู้จำนองที่จำนอง
ประกันหนี้ที่บุคคลอื่นต้องชำระในกรณีที่ผู้รับจำนองไม่ทำตามขั้นตอนที่กำหนด มาตรา ๗๒๘

(๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมขั้นตอนและเงื่อนไขในการบังคับเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
มาตรา ๗๒๙

(๑๒) กำหนดให้สิทธิแก่ผู้จำนองในการแจ้งผู้รับจำนองให้บังคับจำนองด้วยการขายทอดตลาด
มาตรา ๗๒๙/๑

(๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมระยะเวลาในการบังคับจำนองผู้รับโอนและสิทธิในการไถ่ถอนจำนองของผู้รับโอน
ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนดในการบังคับจำนองที่ได้แก้ไข มาตรา ๗๓๕ และมาตรา ๗๓๗

๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมเหตุระงับจำนอง ให้รวมถึงการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา ๗๒๙/๑
ด้วย มาตรา ๗๔๔

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คำอธิบายกฎหมายค้ำประกันและจำนองแก้ไขเพิ่มเติม

อ.สุดา วิศรุตพิชญ์

มีปัญหาปรึกษาทนายความ ทนายกฤษดา  ดวงชอุ่ม 099-9170039

 

Facebook Comments