กรณีมีข่าวเกี่ยวกับการเลือกรับพนักงานเฉพาะบางมหาวิทยาลัยของสถาบันการเงินบางแห่งนั้น. น่าจะเข้าข่ายการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมหรือไม่. เคยมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคล้ายคลึงกับเรื่องดังกล่าวตามไปดูกันครับ
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.158/2550
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ว่าจะได้เกียรตินิยมหรือไม่ก็ตาม ล้วนแล้วแต่จะต้องผ่านการศึกษาวิชาการต่าง ๆ และผ่านการทดสอบครบถ้วนตามหลักสูตรที่สถาบันการศึกษากำหนดไว้ โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวมีความรู้หรือมีวุฒิในสาขาวิชาการที่สำเร็จมาเช่นเดียวกับบุคคลที่ไม่ได้รับเกียรตินิยม จึงถือว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในแต่ละสาขา ก็ย่อมมีศักดิ์และสิทธิเสมอกัน ดังนั้น การที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกำหนดให้ใช้วิธีการคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเกียรตินิมยมทางด้านกฎหมายแทนการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการในตำแหน่งนิติกร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องคัดเลือกจากผู้ได้รับเกียรตินิยมทางด้านกฎหมาย จึงเป็นการใช้สิทธิเหนือกว่าหรือดีกว่าผู้ได้รับปริญญาตรีในสาขาเดียวกันแต่ไม่ได้รับเกียรตินิยม ทั้ง ๆ ที่ได้รับวุฒิอย่างเดียวกัน มติดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสถานะทางกฎหมายเหมือนกันให้แตกต่างกัน ย่อมถือได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า
ปริญญาเกียรตินิยมกับปริญญาทั่วไปมีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกัน หน่วยงานของรัฐจะออกระเบียบว่าผู้ที่จบเกียรตินิยมสามารถเข้ารับราชการได้ทันที โดยไม่ต้องสอบแข่งขันไม่ได้ เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
สรุป. เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ปรึกษากฎหมาย. ทนายกฤษดา 0891427773