กราบสวัสดีทุกท่าน. ทนายกฤษดาขอนำเสนอ. เรื่องราวอันเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งลูกหนี้สมัยนี้ จะบอกว่า ฉันไม่มีไม่หนีไม่จ่าย.
ตามข้อเท็จจริงคือ
ลูกหนี้ตามคำพิพากษา จดทะเบียนโอนขายและให้ที่ดินแก่บุตร โดยไม่มีการชำระราคากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกบังคับคดี แล้วบุตร นำไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ไว้แก่ธนาคารซึ่งรับจำนองไว้โดยสุจริต
ดังนี้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนขาย ให้และจำนองได้หรือไม่ ??
มีคำตอบดังนี้
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1024 3/ 2556
จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 สมคบกันจดทะเบียนโอนขาย และให้ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง
โดย ไม่สุจริต และไม่มีการชำระเงินกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โจทก์บังคับคดี
จากจำเลยที่ 1 ได้ การแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กัน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา155 วรรค1
ไม่สามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาท ไว้โดยสุจริต ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ตามคำพิพากษาของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองดังกล่าวได้ คงเพิกถอนได้แต่เฉพาะนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายยกที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
สรุปคือเพิกถอนได้เฉพาะนิติกรรมการ ให้หรือขายระหว่างจำเลยกับบุตร
ส่วนนิติกรรมการจดจำนองระหว่างจำเลยที่ 1กับธนาคารนั้นไม่สามารถเพิกถอนได้ ถ้าบุคคลภายนอก(ธนาคาร) สุจริตและเสียค่าตอบแทน