Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ กรณี ” ได้รับอนุญาตให้เข้าไปเคหสถานแล้วลักทรัพย์เป็นลักทรัพย์ในเคหสถานหรือไม่ และ มารดาของผู้เสียมีสิทธิอนุญาตหรือไม่ “

กรณี ” ได้รับอนุญาตให้เข้าไปเคหสถานแล้วลักทรัพย์เป็นลักทรัพย์ในเคหสถานหรือไม่ และ มารดาของผู้เสียมีสิทธิอนุญาตหรือไม่ “

7644

21lb20030614_t

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2538

จำเลยเข้าไปในห้องพักอาศัยของผู้เสียหายเพื่อดูแลอาการเจ็บป่วยให้ย. มารดาผู้เสียหายแล้วลักเอาเงินของผู้เสียหายไปแต่จำเลยเข้าไปในห้องของผู้เสียหายก็เนื่องจากขณะที่จำเลยเดินผ่านห้องผู้เสียหายนั้นได้ยินเสียงย.ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดจำเลยจึงเข้าไปช่วยเหลือบีบนวดให้และพูดคุยเรื่องต่างๆกับย. ประมาณครึ่งชั่วโมงถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรและได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้โดยปริยายแม้ย. จะมิใช่เจ้าของห้องแต่เป็นมารดาของผู้เสียหายย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปในห้องได้ตามสมควรการที่จำเลยพบเห็นเงินอยู่ในลิ้นชักตู้เสื้อผ้าจึงถือโอกาสเอาไปเสียจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335

——————————————————————————–

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยเข้าไปในห้องพักอาศัยของนายสมโชค ชาติศิริวัฒนาผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วลักเอาเงินสดจำนวน 11,000 บาทของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) และคืนหรือใช้เงิน 11,000 บาท แก่ผู้เสียหาย

จำเลย ให้การ ปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)( (ที่ถูกมาตรา 335(1)( วรรคสาม) จำคุก 4 ปีให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 11,000 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งกันฟังได้ยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้เข้าไปในห้องของผู้เสียหายเพื่อดูแลอาการเจ็บป่วยให้นางยูเอียวลั้ง มารดาผู้เสียหายแล้วออกจากห้องไป ต่อมาเมื่อผู้เสียหายกลับมาตรวจดูทรัพย์สินพบว่า เงินสดจำนวน 11,000 บาทที่เก็บไว้ในลิ้นชักตู้เสื้อผ้าหายไป พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยได้ลักเอาเงินของผู้เสียหายไปจริงที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดียังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยและพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้น

อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เหตุที่จำเลยเข้าไปในห้องของผู้เสียหายก็เนื่องจากขณะที่จำเลยเดินผ่านห้องผู้เสียหายนั้นได้ยินเสียงนางยูเอียวลั้งร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด จำเลยจึงเข้าไปช่วยเหลือบีบนวดให้และพูดคุยเรื่องต่าง ๆ กับนางยูเอียวลั้งประมาณครึ่งชั่วโมง ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรและได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้โดยปริยายแม้นางยูเอียวลั้งจะมิใช่เจ้าของห้อง แต่เป็นมารดาของผู้เสียหายย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปในห้องได้ตามสมควรการที่จำเลยพบเห็นเงินอยู่ในลิ้นชักตู้เสื้อผ้าจึงถือโอกาสเอาไปเสียการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมีความผิดตามอนุมาตรานี้ด้วย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย”

พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก ให้จำคุก 1 ปี ให้จำเลยคืนเงินหรือใช้เงินจำนวน 11,000 บาท แก่ผู้เสียหาย

 

นายเกรียงศักดิ์    นวลศรี    

น.บ   น.บ.ท   วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย    และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

 

Facebook Comments