Home ทั้งหมด ฉ้อโกง หรือ ลักทรัพย์โดยใช้อุบาย ต่างกันอย่างไร

ฉ้อโกง หรือ ลักทรัพย์โดยใช้อุบาย ต่างกันอย่างไร

44718

ฉ้อโกง หรือ ลักทรัพย์โดยใช้อุบาย ต่างกันอย่างไร

ก  ต้องการเอารถ ของ  ข  มาเป็นของตน. แต่ไม่มีโอกาสขโมยมาได้เพราะ  ข     ดูแลอย่างดี. หาก  ก “หลอก”.  ข  ว่า. ตนต้องการซิ้อรถ   ข   หลงเชื่อจึงขายให้. และส่งมอบให้.  ก  ได้แล้ว จึงเอาไปเป็นของตน  อาจารย์จิตติ. ติงศภัทิย์. ท่านธิบายไว้ว่า. เป็นการ “หลอกเอากรรมสิทธิ์”. (หลอก “ซื้อ”). จึงเป็นการ. “ได้ไป” ซึ่งทรัพย์สิน จากผู้ถูกหลอกลวง. จึงผิดฐานฉ้อโกง

เปรียบเทียบ: ถ้า  ก  รู้ดีว่า. ขอซื้อ. ข  ก็ไม่ยอมขาย.   ก    ก็จะไม่มีโอกาสเอารถมาเป็นของตน.ก  จึงออกอุบาย. “หลอก”. ข   ว่า. “ขอยืมม้าขี่หน่อย”. ข  หลงเชื่อจึงยอมส่งมอบรถ ให้ดํายืมขี่. เมื่อ  ก  ได้รถแล้วจึงเอาไปเป็นของตน. กรณีเช่นนี้. อาจารย์จิตติ ท่านอธิบายว่า. “ไม่ใช่” ฉ้อโกง. เพราะ ไม่ใช่การ ” ได้ไป”. ซึ่งทรัพย์สิน จากผู้ถูกหลอกลวง. เพราะ ไม่ได้ไปซึ่ง กรรมสิทธิ์. เพราะเป็นการหลอกเอา. “การครอบครอง”. เมื่อไม่ใช่ “ฉ้อโกง”. การกระทําเช่นนี้ จึงยังคงเป็นลักทรัพย์. เพราะไม่ถือเป็นการได้ทรัพย์ไปโดยเจ้าของยินยอม. แต่เป็นการหลอกให้เขาส่งการครอบครองมาให้. กรณีเช่นนี้. เรียกกันว่า. ” ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย” ” ซึ่งก็คือ การลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั่นเอง

 

อาจารย์ จิตติ ท่านอธิบายว่า ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย. คือ การหลอกให้มีการส่งมอบ ทรัพย์ให้. โดยการหลอกนั้นไม่ใช่ การฉ้อโกง. เพราะไม่ใช่การหลอก เอา กรรมสิทธิ์. จึงไม่ใช่การ “ได้ไป”. ซึ่งทรัพย์สิน จากผู้ถูกหลอกลวง. เมื่อไม่ใช่. การ”ฉ้อโกง”. จึงต้องกลับไปปรับบท ในเรื่อง ลักทรัพย์. โดยเรียกกันว่า. “ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย “. ดูรายละเอียดจากหมายเหตุ ท้ายฎีกาที่ 2581/2529 โดย อาจารย์ จิตติ (ฎีกาเนติบัณฑิตยสภา)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2529

จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันเบนซินที่บ้านผู้เสียหายจำนวน5ลิตรเมื่อเติมน้ำมันเสร็จภริยาผู้เสียหายทวงเงินค่าน้ำมันจำเลยที่2ถือลูกกลมๆอยู่ในมือซึ่งภริยาผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นลูกระเบิดแต่ฟังไม่ได้แน่นอนว่าใช่หรือไม่พูดว่าไม่มีเงินมีไอ้นี่เอาไหมแล้วจำเลยทั้งสองก็ขี่รถจักรยานยนต์ออกไปการกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหายเพียงเพื่อจะเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์โดยไม่ชำระราคาเท่านั้นการที่จำเลยที่2ถือลูกกลมๆอยู่ในมือและพูดเช่นนั้นเป็นวิธีการที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ไม่.

หมายเหตุ

1. การเติมน้ำมันรถแล้วไม่อยมชำระราคานั้น โดยสภาพของน้ำมันย่อมต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์น้ำมันได้โอนไปเป็นของเจ้าของรถทันทีที่ได้เติมเข้าไปผสมปนกับน้ำมันส่วนที่เหลืออยู่ในถังเก็บน้ำมันของรถคันนั้น ทั้งนี้ โดยไม่คำนึงว่าผู้ขายน้ำมันจะมีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ในน้ำมันนั้นให้ทันทีหรือไม่ ดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่า ผู้นำรถไปเติมน้ำมันมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ก่อนเติมน้ำมันรถ หากแต่เพิ่งคิดทุจริตขึ้นหลังจากเติมน้ำมันแล้ว เช่นนี้ย่อมไม่เป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ในฐานใดทั้งสิ้น เพราะในขณะที่เกิดเจตนาทุจริตนั้น ทรัพย์พิพาทได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้นำรถไปเติมน้ำมันแล้ว กรณีคงต้องเป็นเรื่องผิดสัญญาแแพ่งเท่านั้น (ดู Edwards u. Ddin, 1976, 3 All ER 705 และ Smith& Hogan Criminal Lar, Fiffth, Edition, 1983 p. 487) ในคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ ซึ่งตัดสินตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2511เรื่องการหลอกซื้อโคนั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต คือประสงค์จะได้ทรัพย์ของผู้เสียหายโดยไม่ชำระราคามาตั้งแต่ต้น จึงครบองค์ประกอบเป็นความิผดเกี่ยวกับทรัพย์ได้ตั้งแต่ก่อนที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทจะตกเป็นของจำเลย และเมื่อเป็นความผิดแล้ว แม้ทรัพย์พิพาทจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยในภายหลัง ก็หาทำให้ความผิดนั้นระงับไปไม่ คำวินิจฉัยของคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับนี้ จึงนับว่าสอดคล้องกับเหตุผลทางทฤษฎีกฎหมายแแล้ว
2. อย่างไรก็ตามปัญหาคงมีอยู่ว่าการกระทำของจำเลยในคดีนี้จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้อุบายหลอกลวงได้หรือไม่ เพราะหากเป็นได้ จำเลยก็อาจต้องรับผิดในฐานชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ต่อไปได้ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษมา ในข้อนี้เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นเรื่องการหลอกเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยตรง หาใช่เพียงการหลอกเอาความยึดถือหรือการครอบครอง ในทรัพย์นั้นไม่ ดังนั้นจึงมีลักษณะเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความิผดที่มุ่งประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ มากกว่าที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งมุ่งประทุษร้ายต่อความยึดถือหรือการครอบครองในตัวทรัพย์ (ดูคำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 โดยนายจิตติ ติงศภัทย์ พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 2312-2327)
3. สำหรับปัญหาในทางวิธีพิจารณาเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาต่างกับฟ้องนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กรรโชกฉ้อโกง ยักยอกและรับของโจร หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาทมิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ เว้นแต่จะปรากำแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ซึ่งเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยในคดีนี้หลงต่อสู้ ศาลจึงจะยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุแตกต่างดังกล่าวนี้ตามมาตรา 192 วรรคสองไม่ได้ทั้งความผิดฐาน)้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ก็มีอัตราโทษไม่หนักไปกว่าความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษด้วย การลงโทษจำเลยในฐานฉ้อโกงนี้จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขออันจะต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคแรกกับไม่เป็นกรณีที่จะถือว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ด้วยเช่นกัน ที่ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงจึงเป็นการชอบแล้ว.
จรัญ ภักดีธนากุล.

ในเรื่องฉ้อโกงจะมีประเด็นให้คิด 2 ประเด็น คือ
1. การให้คำมั่นหรือการให้สัญญาในอนาคตแล้วไม่ทำจะเป็นฉ้อโกงหรือไม่
(ฎีกาที่ 1124/2529)
2. การลักทรัพย์โดยใช้อุบายกับฉ้อโกงต่างกันตรงไหน
การฉ้อโกง หัวใจสำคัญ อยู่ที่การหลอกลวงคือการแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จหรือมิฉะนั้นก็โดยปกปิด ข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การหลอกลวงทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือทำให้เขาถอน ทำลาย หรือทำเอกสารสิทธิ การที่ใครคนหนึ่งส่งมอบทรัพย์ให้เราโดยสำคัญผิด แล้วเราเบียดบังเอาทรัพย์นั้น
เช่น ผมสั่งซื้อของแต่คนขายเอาของมาส่งที่บ้านตอนที่ผมไม่อยู่ เขาส่งให้โดยสำคัญผิดและไม่ได้เกิดจากการหลอกลวง ต่อมาผมเห็นของแล้วเกิดทุจริตเบียดบังเอาเป็นของผมเอง เช่นนี้เป็นยักยอกทรัพย์
ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดที่ต้องการผล
ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย คือ เป็นการหลอกลวงเอาไปเพื่อการยึดถือเป็น เช่น ใช้อุบายขอขี่ม้าลองกำลังอยู่ต่อหน้าก่อนที่จะตกลงซื้อแต่ขี่ม้าไปเสีย เป็นลักทรัพย์(ฎีกาที่ 791/2502) เนื่องจากเจ้าของม้ายังไม่สละการครอบครองให้เพียงแต่สละการยึดถือเท่านั้น
แต่ฉ้อโกง เป็นการหลอกลวงได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2553 การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการโดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง เมื่อจำเลยจัดทำใบเบิกเงินทดรองจ่ายอ้างว่ามีค่าใช้จ่ายไม่ตรงตามความเป็นจริง จึงมิใช่เอาเงินของโจทก์ร่วมไปโดยพลการโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานและกรรมการของโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในใบเบิกเงินทดรองจ่ายว่าต้องนำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าว การอนุมัติให้จำเลยเบิกเงินไปเกิดจากการที่พนักงานและกรรมการของโจทก์ร่วมหลงเชื่อข้อความในเอกสาร จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2553 (CR.Kraisorn Bhunbhongkhaeng) จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของผู้เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มีเจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2545 จำเลยเป็นลูกจ้างธนาคารโจทก์ร่วมในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าส่วน มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานด้านกู้เงินระยะสั้นโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้อาศัยโอกาสในหน้าที่ของจำเลยทำเอกสารใบถอนเงินของโจทก์ร่วมระบุโอนเงินเข้าบัญชีลูกค้าอันเป็นเท็จ และโอนเงินของโจทก์ร่วมเข้าบัญชีของ ส. พวกของจำเลย หลังจากนั้นก็ร่วมกับพวกเบิกถอนเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนกับพวก ซึ่งการที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมยอมให้มีการโอนเงินไปตามเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยทำขึ้นนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับข้อความในเอกสารว่าเป็นจริงหรือเท็จ แต่เป็นการโอนเงินไปเพราะเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้กระทำมีรายการครบถ้วนและมีลายมือชื่อกับรหัสประจำตัวของจำเลยซึ่งหากจำเลยไม่กระทำด้วยวิธีการดังกล่าว ย่อมไม่อาจเอาเงินออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมได้ ดังนั้น การที่อนุมัติให้โอนเงินออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการที่จำเลยหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความในเอกสารอันเป็นเท็จและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ร่วม แต่เป็นกรณีที่จำเลยทำเอกสารใบถอนเงินโดยมีข้อความอันเป็นเท็จแล้วเสนอไปตามขั้นตอนเพื่อให้มีการอนุมัติโอนเงินตามเอกสารนั้น อันเป็นเพียงวิธีการที่จะทำให้จำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมโดยทุจริตได้ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่ความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2542 จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาทรัพย์หลายรายการใส่ในกล่องกระดาษใส่พัดลม และนำผ่านเครื่องเก็บเงินของผู้เสียหาย และชำระราคาสินค้าเท่ากับราคาค่าพัดลม 3 เครื่อง ซึ่งมีราคา น้อยกว่าราคาสินค้าในกล่องกระดาษเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ กลอุบาย แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันคบคิด แสวงหาวิธีการ หลอกลวงตบตาผู้เสียหายไว้ก่อน ลักษณะและพฤติการณ์แห่งความผิด จึงถือได้ว่าร้ายแรง จำเลยทั้งสองเป็นผู้ใหญ่ และจำเลยที่ 2 มีครอบครัวและบุตรแล้ว ถือได้ว่ามีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พอสมควรกลับมากระทำผิดจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2529 จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันเบนซินที่บ้านผู้เสียหายจำนวน5ลิตรเมื่อเติมน้ำมันเสร็จภริยาผู้เสียหายทวงเงินค่าน้ำมันจำเลยที่2ถือลูกกลมๆอยู่ในมือซึ่งฟังไม่ได้ว่าเป็นลูกระเบิดพูดว่าไม่มีเงินมีไอ้นี่เอาไหมภริยาผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นลูกระเบิดจำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ออกไปการกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหายเพียงเพื่อจะเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์โดยไม่ชำระราคาเท่านั้นการที่จำเลยที่2ถือลูกกลมๆอยู่ในมือและพูดเช่นนั้นเป็นวิธีการที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2530 จำเลยขับรถยนต์เข้าไปสั่งให้เติมน้ำมันรถยนต์ที่ปั๊มน้ำมันของผู้เสียหาย เมื่อคนเติมน้ำมันเติมน้ำมันเกือบจะเต็มถังจำเลยพูดว่าไม่มีเงินเดี๋ยวจะเอามาให้ คนเติมน้ำมันบอกว่าต้องไปบอกผู้เสียหายก่อน แต่จำเลยได้ขับรถออกไปทันที ขณะเติมน้ำมันจำเลยไม่ได้ดับเครื่องยนต์รถและฝาปิดถังน้ำมันก็ไม่มีโดยใช้ผ้าอุดไว้แทนแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้วางแผนการไว้เพื่อจะไม่ชำระเงินค่าน้ำมันเมื่อได้น้ำมันมาแล้ว โดยจะรีบหนีไปอันเป็นอุบายอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้ลักทรัพย์สำเร็จ พฤิตการณ์แสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้นที่จะลักเอาน้ำมันของผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2545 จำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกมีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่เบื้องต้น ส่วนการหลอกลวงว่าจะรับซื้อที่ดินจำนวนมากก็ดี หรือการหลอกลวงว่าจะพาไปซื้อรถยนต์ราคาถูกก็ดี ล้วนเป็นการสร้างกลอุบายเพื่อให้บรรลุผลเอาเงินสดของผู้เสียหายไปโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2530 จำเลยกับพวกนำรถยนต์บรรทุกสิบล้อไปขอรับจ้างบรรทุกถั่วเขียวของผู้เสียหายเพื่อส่งให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย แล้วเอาถั่วเขียวดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนกับพวก ดังนี้ เป็นการใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์โดยมีเจตนาทุจริตมาแต่แรกจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2510 เงินที่ได้จากการขายข้าวซึ่งโจทก์ร่วมและบิดาทำร่วมกันเมื่อได้ความว่ายังไม่ได้แบ่งเงินรายนี้ระหว่างคนทั้งสองจึงต้องถือว่าทั้งบิดาและโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเงินรายนี้ร่วมกันอยู่ดังนี้ จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย ย่อมมีสิทธิที่จะร้องทุกข์ได้ตามกฎหมาย คดีนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้เรียกเอาเงินและทองมาใส่ถุงย่ามเพื่อเป็นสิริมงคลในการที่จำเลยจะทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ของโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมจึงได้ห่อธนบัตรจำนวนเงิน 2,006 บาท กับเอาสร้อยคอทองคำทองหนักหนึ่งบาทหนึ่งเส้นบรรจุใส่ในกล่องพลาสติกส่งให้จำเลยจำเลยเอาห่อเงินและกล่องบรรจุสายสร้อยดังกล่าวใส่ลงไปในถุงย่ามแล้วลงเรือนไป มีนายประสิทธิและโจทก์ร่วมเดินตามหลังระหว่างเดินกันไปทางบ้านใหม่ของโจทก์ร่วมเพื่อจะทำพิธี จำเลยล้วงเอาห่อธนบัตรนั้นไปเสีย จึงเห็นได้ว่าเป็นการลักทรัพย์เพราะโจทก์ร่วมเจ้าของทรัพย์ยังมิได้สละการครอบครองให้จำเลยเขาเพียงแต่ให้จำเลยยึดถือไว้เป็นการชั่วคราว ดังนี้ การที่จำเลยเอาห่อธนบัตรนั้นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2522 การที่ผู้เสียหายเอาเงินออกมาเพื่อร่วมทำธนบัตรปลอมด้วยความเชื่อตามที่จำเลยกับพวกหลอกลวง โดยผู้เสียหายยังครอบครองยึดถือธนบัตรเหล่านั้นอยู่ แล้วจำเลยกับพวกได้ใช้อุบายเอาธนบัตรเหล่านั้นของผู้เสียหายไป โดยผู้เสียหายมิได้ส่งมอบให้นั้นเป็นการกระทำผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259 – 260/2488 จำเลยใช้อุบายหลอกลวงให้เจ้าทุกข์มอบทรัพย์ให้แล้วจำเลยพาทรัพย์หนีไปในขณะที่เจ้าทุกข์ไม่ได้ควบคุมยึดถือ และไม่อาจติดตามได้ดังนี้ ถือได้ว่าเจ้าทุกข์ได้สละการครอบครองแล้ว จำเลยต้องมีผิดฐานฉ้อโกงไม่ใช่ลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2554 การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขายสินค้าของผู้เสียหายอ้างว่า ร้าน ร. สั่งซื้อสินค้าและต้องการด่วน จำเลยขอรับสินค้าไปส่งเองทั้งที่ความจริงร้าน ร. ไม่ได้สั่งซื้อ จำเลยไม่ได้นำสินค้าดังกล่าวไปส่งให้และไม่ปรากฏว่าจำเลยไปขายสินค้าดังกล่าวให้แก่ใคร สินค้าดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยประสงค์ต่อผลเอาสินค้าดังกล่าวของผู้เสียหายไปตั้งแต่แรกแสดงว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ทรัพย์ของผู้เสียหาย ซึ่งผู้เสียหายไม่ได้อนุญาตให้จำเลยกระทำการดังกล่าวได้ แล้วจำเลยพาทรัพย์เคลื่อนที่ไปจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้ทรัพย์ของผู้เสียหายดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์คดีนี้ จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง

 

นายเกรียงศักดิ์   นวลศรี

น.บ   น.บ.ท   วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย     และผู้เขียนบทความในเว็บ ปรึกษาทนายความ Lawyers.in.th

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

089-142-7773

 

Facebook Comments