Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ สามีนำสินสมรสไปขายโดยไม่ได้รับความยินยอม หากบุคคลภายนอกซื้อไปโดยสุจริตมีผลให้นิติกรรมเสียไปหรือไม่

สามีนำสินสมรสไปขายโดยไม่ได้รับความยินยอม หากบุคคลภายนอกซื้อไปโดยสุจริตมีผลให้นิติกรรมเสียไปหรือไม่

11588

คำถาม

การจัดการ สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำไปฝ่ายเดียวโดยลำพังโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง หากบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนนิติกรรมจะสมบูรณ์หรือไม่
คำตอบ

มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7031 / 2557 ที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินที่ ว. ได้มา ขณะที่โจทก์ เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่จึงเป็นสินสมรส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่สามีภรรยา ต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง หากจะมีการขายฝากตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476(1)
ต่อมามีการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในฐานะของผู้ให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมแก่ ว. สามีโจทก์ไปทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงเป็นการ ทำนิติกรรมที่ ว. ทำไปตามลำพังโดยฝ่ายเดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 อนุ 1 ทำให้นิติกรรมไม่สมบูรณ์เป็นเหตุที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ แต่ขณะทำนิติกรรมบุคคลภายนอกได้กระทำไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง

นิติกรรมในการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 (1) ถึง (8)การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำไปลำพังฝ่ายเดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนิติกรรมนั้นไม่สมบูรณ์คู่สมรสที่ไม่ได้ให้ความยินยอมอาจขอให้ศาลเพิกถอน นิติกรรมนั้นได้ แต่ตราบใดที่ยังไม่ถูกศาลเพิกถอนบุคคลภายนอกที่เป็นคู่สัญญาย่อมมีสิทธิสมบูรณ์ในนิติกรรมอยู่เสมอเพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ บัญญัติเพียงว่านิติกรรมนั้นอาจถูกศาลเพิกถอนในภายหลังเท่านั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 วรรค 1ที่ว่าเว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่าย1 ได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว มีความหมายว่า หากมีการให้สัตยาบันแล้วจะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นอีกไม่ได้ มิได้หมายความว่าเมื่อมีการให้สัตยาบัน นิติกรรม ได้แสดงว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะกรรม การบอกล้างนิติกรรมจึงไม่มีผลให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

มีปัญหาเกี่ยวกับคดีครอบครัวการจัดการสินสมรส โทรปรึกษาทนายกฤษดา

 

Facebook Comments