Home คดีอาญา รวมคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ เกี่ยวกับคดีบัตรเครดิต สู้ยังไงให้ยกฟ้อง

รวมคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ เกี่ยวกับคดีบัตรเครดิต สู้ยังไงให้ยกฟ้อง

34501

วมคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับคดีบัตรเครดิต สู้ยังไงให้ยกฟ้อง

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6820/2552
การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของบริษัท บ. อันเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 1 (7) ซึ่งออกให้แก่ น. ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ น. และบริษัท บ. แล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 188
การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของบริษัท บ. ซึ่งออกให้แก่ น. แล้วใช้บัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวชำระค่าสินค้าแทนการชำระด้วยเงินสดอันเป็นความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดโดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 269/5 และ มาตรา 269/7 รวม 3 ครั้ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยแยกออกเป็นข้อๆ และการกระทำตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในแต่ละข้อต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองต่างกรรมต่างวาระ ทั้งทรัพย์ที่จำเลยได้จากการกระทำผิดก็เป็นทรัพย์คนละประเภทแตกต่างกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารบัตรเครดิตกับฐานใช้บัตรเครดิตจึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยนำบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวไปใช้ชำระค่าสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องวีดีโอและกล้องถ่ายรูปดิจิทัลแทนการชำระด้วยเงินสดจำนวน 3 คราว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด
จำเลย – นางสาวสาธิตา สร้อยจินดา
ชื่อองค์คณะ
บุญส่ง โพธิ์พุทธชัย
ธานิศ เกศวพิทักษ์
สิงห์พล ละอองมณี
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2552
ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่บัตรเครดิตสูญหาย ถูกลักขโมย หรือถูกใช้โดยบุคลอื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ถือบัตร (จำเลย) ที่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ศูนย์บัตรเครดิตของธนาคาร (โจทก์) ทราบแล้วโดยพลันเพื่อให้ระงับการใช้บัตรเครดิต ในภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นก่อนมีการแจ้งดังกล่าวในจำนวนเงินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของผู้ถือบัตร ซึ่งถูกนำไปใช้โดยมิชอบ รวมถึงภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นหลังจากแจ้งให้ธนาคารทราบแล้วไม่เกิน 5 นาที นอกจากจะขัดแย้งกับข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 6 วรรคสอง แล้ว ยังถือเป็นข้อสัญญาที่ทำให้จำเลยต้องรับภาระในหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยไม่ได้ก่อขึ้นและไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ทั้งโจทก์ยังมีทางแก้ไขความเสียหายของโจทก์ได้โดยหากโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลยผู้ถือบัตร โจทก์สามารถเรียกเงินที่ได้จ่ายไปคืนจากร้านค้าได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งจากจำเลยว่าบัตรเครดิตได้สูญหายไปเพื่อขอให้โจทก์ระงับการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะต้องรีบดำเนินการให้จำเลยโดยเร็ว ก็จะทราบได้ทันทีว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลย แสดงว่าร้านเจมาร์ทไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อในเซลสลิป ย่อมทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากร้านเจมาร์ทแทนการมาเรียกเก็บจากจำเลยได้ ซึ่งเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่โจทก์มิได้ทำเช่นนั้น โดยเห็นว่ามีข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่ให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว ถือเป็นการเอาเปรียบจำเลยเกินสมควรและเป็นการผลักภาระให้จำเลยต้องรับผิดเกินกว่าวิญญูชนทั่วไปจะคาดหมายได้ตามปกติ อันเข้าลักษณะข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 จึงไม่มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
จำเลย – นางสาวเรืองรวี รวิรัฐ
ชื่อองค์คณะ
สมชาย สินเกษม
ประทีป ปิติสันต์
สุรชัย เอื้ออารีตระกูล
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2552
การลักบัตรเครดิตของนายจ้างกับการปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น เป็นคนละวาระกัน ทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้างเป็นบัตรเครดิต ส่วนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเป็นสินค่าที่จำเลยได้จากร้านค้าคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ รองเท้า และสร้อยข้อมือทองคำ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่กรรมเดียวไม่ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง 212 ประกอบมาตรา 225
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด
จำเลย – นางสาวหนูฤทธิ์ นิลบาลัน
ชื่อองค์คณะ
สมชาย สินเกษม
ประทีป ปิติสันต์
สุรชัย เอื้ออารีตระกูล

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2552
สัญญาการใช้บัตรเครดิตระบุไว้ว่า ในกรณีที่ธนาคารโจทก์อนุมัติให้ออกบัตรเสริมแก่ผู้ถือบัตรหลักรายใดผู้ถือบัตรทั้งสองจะต้องร่วมรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมในหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตนั้น ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อรับทราบแล้วย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมตนเข้าร่วมรับผิดกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในการใช้บัตรเครดิตสมาชิกบัตรหลักด้วยตั้งแต่วันสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ที่แต่ละคนเป็นผู้ก่อขึ้นจากการใช้บัตรเครดิตโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 297
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
จำเลย – นายฉลาดหรือคณิศร ภู่ระหงษ์ กับพวก
ชื่อองค์คณะ
สุธี เทพสิทธา
พรเพชร วิชิตชลชัย
ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8051/2551
การที่โจทก์นำเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยมาชำระหนี้หลังจากสัญญาบัตรเครดิตและข้อตกลงในสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วจึงเป็นการกระทำของโจทก์เอง หาใช่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้โดยชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บางส่วนไม่ กรณีย่อมไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
จำเลย – นายสัญญศักดิ์ นันทเจริญกุล
ชื่อองค์คณะ
อิศเรศ ชัยรัตน์
สถิตย์ ทาวุฒิ
พงษ์ศักดิ์ วีระเสถียร
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2551
ธนาคารจำเลยหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์ค้างชำระ เป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต มิใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์ได้ แม้หนี้บัตรเครดิตจะขาดอายุความแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ข้อความในคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ให้นำหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความไปก่อนที่จำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้แล้วนั้นมาหักบัญชีเงินฝากของโจทก์เป็นข้อสัญญาที่มุ่งจะขยายอายุความ อันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นั้น เป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้นไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – นายธราธร จินดากุล
จำเลย – ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ชื่อองค์คณะ
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์
บุญรอด ตันประเสริฐ
สนอง เล่าศรีวรกต
7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2551
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยรับสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์แล้วไม่ค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์ค้างชำระ เป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ระบุว่า “ในกรณีผู้ถือบัตรค้างชำระเงิน… ผู้ถือบัตรยินยอมให้ธนาคารนำภาระหนี้บัตรเครดิตที่คงค้างไปหักบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารได้ตามที่ธนาคารเห็นสมควรโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือบัตรอีก…” หาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกันไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์ได้ แม้หนี้บัตรเครดิตจะขาดอายุความแล้วก็ตามนอกจากนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวยังเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – นายธราธร จินดากุล
จำเลย – ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ชื่อองค์คณะ
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์
บุญรอด ตันประเสริฐ
สนอง เล่าศรีวรกต
8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551
หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสด ล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้
การรับสภาพหนี้โดยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตอันเป็นการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ โดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้ขณะทำสัญญา ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ กรณีไม่ถือว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนอันเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
จำเลย – ร้อยเอกอาลักษณ์ อนุมาศ
ชื่อองค์คณะ
สุธี เทพสิทธา
พรเพชร วิชิตชลชัย
ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน
9.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2551
เอกสารการรับชำระเงิน เป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากต้นฉบับที่เก็บไว้ที่สาขาของโจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารยังมีอยู่ที่สาขาของโจทก์ เมื่อจำเลยแถลงว่าเอกสารดังกล่าวที่โจทก์อ้างส่งเป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากสำเนาอีกครั้งหนึ่ง ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนี้ โจทก์จะต้องนำต้นฉบับเอกสารมาอ้าง การที่โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร โดยที่ยังสามารถนำต้นฉบับเอกสารมาอ้างได้ เช่นนี้ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารการรับชำระเงินดังกล่าว กรณียังไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ที่จะรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
จำเลย – นางสาวบรรจบ สุทธิประเสริฐ
ชื่อองค์คณะ
สุธี เทพสิทธา
พรเพชร วิชิตชลชัย
ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน

10.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2551
จำเลยชำระหนี้ตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2541 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 แม้การฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้จะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แต่คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 นั้น ถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาให้ยกคำฟ้อง จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ได้ฟ้องคดีก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง อายุความสำหรับการฟ้องคดีใหม่จึงยังคงต้องเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2541 ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 11 ธันวาคม 2543 ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุที่ต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เพราะมิใช่เป็นกรณีที่อายุความได้ครบกำหนดไปแล้วระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีก่อนถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 เกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เพราะเหตุที่จำเลยชำระหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
โจทก์แก้ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดไม่ขาดอายุความดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนของบัตรดังกล่าว รวมทั้งในส่วนของบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าแก่โจทก์เป็นเงินรวม 409,081.12 บาท เต็มจำนวนตามฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาจะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาเช่นนี้หาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – ธนาคารซิตี้แบงก์
จำเลย – นางศิริพร สวัสดิ์ศุภผล
ชื่อองค์คณะ
ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์
ชาลี ทัพภวิมล
คำนวน เทียมสอาด
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2551 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โจทก์
นางสาวบรรจบ สุทธิประเสริฐ จำเลย

เอกสารการรับชำระเงิน เป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากต้นฉบับที่เก็บไว้ที่สาขาของโจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารยังมีอยู่ที่สาขาของโจทก์ เมื่อจำเลยแถลงว่าเอกสารดังกล่าวที่โจทก์อ้างส่งเป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากสำเนาอีกครั้งหนึ่ง ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนี้ โจทก์จะต้องนำต้นฉบับเอกสารมาอ้าง การที่โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร โดยที่ยังสามารถนำต้นฉบับเอกสารมาอ้างได้ เช่นนี้ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารการรับชำระเงินดังกล่าว กรณียังไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ที่จะรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2551 ธนาคารซิตี้แบงก์ โจทก์
นางศิริพร สวัสดิ์ศุภผล จำเลย

จำเลยชำระหนี้ตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2541 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 แม้การฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้จะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แต่คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 นั้น ถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาให้ยกคำฟ้อง จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ได้ฟ้องคดีก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง อายุความสำหรับการฟ้องคดีใหม่จึงยังคงต้องเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2541 ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 11 ธันวาคม 2543 ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุที่ต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เพราะมิใช่เป็นกรณีที่อายุความได้ครบกำหนดไปแล้วระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีก่อนถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 เกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เพราะเหตุที่จำเลยชำระหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
โจทก์แก้ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดไม่ขาดอายุความดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนของบัตรดังกล่าว รวมทั้งในส่วนของบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าแก่โจทก์เป็นเงินรวม 409,081.12 บาท เต็มจำนวนตามฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาจะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาเช่นนี้หาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4407/2551 นายวรท บุญรัตน์ชัยพร โจทก์
นายดิเรกหรือขจรเกียรติ พุฒซ้อน จำเลย

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกค่าจ้างว่าความขาดอายุความแล้ว โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความยังไม่ขาดอายุความ จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่เฉพาะในประเด็นเรื่องค่าจ้างว่าความเท่านั้น
ศาลชั้นต้นสืบพยานจนเสร็จสิ้นกระแสความและมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันนัดพิจารณาอีก
จำเลยฎีกาโต้แย้งกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ประเด็นตามฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2551 บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายณัฐพล บ่นหา จำเลย

ข้อกำหนดซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่ง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาต ตาม ข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ไว้ในข้อ 4.4 (1) ให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ดังกล่าว รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงตามหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคลปรากฏว่า ในการที่โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยจำนวน 18,900 บาท นั้น โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อปี หรือร้อยละ 15 ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ กับค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการจำนวน 1,000 บาท ซึ่งสามารถคำนวณเป็นร้อยละได้อัตราร้อยละ 5.29 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าดำเนินการ การอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นอัตราร้อยละ 30.29 เกินกว่าอัตราร้อยละ 28 ต่อปี ที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยค่าบริการและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2551 นายสมเกียรติ ปานดำรง โจทก์
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำเลย

โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเนื่องจากเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้าย จึงไม่เป็นประโยชน์

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2551 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายชานนท์หรือณภัทร ภักดีบัญชาศักดิ์ กับพวก จำเลย

ในวันนัดสืบพยาน ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากพยานโจทก์เกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิตและการชำระหนี้บัตรเครดิตของจำเลย ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และรับว่าใบแจ้งหนี้ที่โจทก์อ้างส่งถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงงดสืบพยานโจทก์ แล้วพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความ ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานโจทก์จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และประกอบธุรกิจให้บริการประเภทบัตรเครดิตมีลักษณะเป็นการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและการใช้บริการ ส่วนการให้สมาชิกเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิต เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ ให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนก็ดี หรือให้สมาชิกเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังก็ดี ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไป การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2551 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายโชคเกริกไกรหรือธีรยุทธ สิริพิชิตศุภผลหรือแซ่ลี้ จำเลย

โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ประเภทบัตรเครดิตยอมผูกพันตามเงื่อนไขของผู้ถือบัตร การที่จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่น โจทก์จำเป็นต้องชำระเงินแทนจำเลยไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิก เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) มิใช่กรณีของลักษณะสัญญาพิเศษอันไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความจึงมีอายุความ 2 ปี
จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2535 โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตภายในวันที่ 2 มกราคม 2536 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนด ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2536 เป็นต้นไป ครบกำหนดอายุความในวันที่ 3 มกราคม 2536 การที่โจทก์นำเงินจำนวน 4,326.42 บาท ของจำเลยมาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 เป็นการนำเงินฝากจากบัญชีอื่นตามที่โจทก์และจำเลยได้เคยตกลงกันไว้มาหักชำระหนี้โดยที่จำเลยไม่ได้รู้เห็นด้วยจึงเป็นการกระทำของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลย อีกทั้งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 พ้นกำหนดเวลา 2 ปี จึงขาดอายุความ

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2551 บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด โจทก์
นายธนาพัฒน์ โพธิ จำเลย

ครบกำหนดชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าธนาคารยอมให้จำเลยใช้บัตรเครดิตอีก แสดงว่าธนาคารกับจำเลยถือว่าสัญญาที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 ธนาคารย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2538 แต่จำเลยนำเงินมาชำระให้ธนาคารวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 จำนวน 5,000 บาท อันเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดอายุความ 2 ปี ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2541 การที่ธนาคารนำเงินจำนวน 6.68 บาท จากบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยมาหักชำระหนี้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2541 หลังจากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 โดยปล่อยเวลาให้ผ่านไปถึง 2 ปีเศษ และคิดดอกเบี้ยกับค่าเบี้ยปรับชำระหนี้ล่าช้าตลอดมา นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของธนาคารตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นว่า ธนาคารอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้ธนาคารได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยได้ดอกเบี้ยและค่าเบี้ยปรับชำระหนี้ล่าช้าระหว่างนั้นและเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลง โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
จำเลยนำเงินมาชำระหนี้บางส่วนโดยให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 จำนวน 1,000 บาท เป็นการชำระหนี้ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว จึงเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว จึงเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกเงินคืนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิจากธนาคารนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 จึงเกิน 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 ประกอบมาตรา 247

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2551 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์
นางรัศมี ตันตราภรณ์ จำเลย

ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาคดีในวันดังกล่าวโดยนำข้อเท็จจริงจากที่คู่ความแถลงร่วมกันมาวินิจฉัยชี้ขาดคดี ดังนั้น คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 หากโจทก์เห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือมีการสืบพยานต่อไปก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ มิฉะนั้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (2)

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2551 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายเมธา ผลวิมลจิต จำเลย

จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นที่ว่า ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในหนี้ที่ค้างชำระไม่เกินไปกว่าอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวย่อมเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาในปัญหาว่า โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามอำเภอใจจึงไม่มีสิทธิ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งปัญหาดังกล่าวมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

________________________________

ศาลแขวงดุสิต – นายสมศักดิ์ เลิศนิมิตกิจ
ศาลอุทธรณ์ – นายรังสรรค์ วิจิตรไกรสร
ส่วนบนของฟอร์ม
ส่วนล่างของฟอร์ม
ส่วนบนของฟอร์ม
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8801/2550 บริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส (ไทย) จำกัด โจทก์
นายนพดลหรือณชลธร ใจเกษมวงศ์ จำเลย

จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2545 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2545 ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่างๆ ให้แก่จำเลยรวมทั้งได้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปก่อนมาใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าทำการงานและเงินที่ทดรองไปอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2547 ซึ่งยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันดังกล่าว จึงยังไม่ขาดอายุความ

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6504/2550 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายเสนีย์ มติภักดี จำเลย

จำเลยใช้บัตรเครดิตของธนาคารโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2540 โจทก์ส่งใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายให้จำเลยชำระเงินขั้นต่ำภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 เมื่อจำเลยผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายและเริ่มนับอายุความนับแต่วันนั้นมา จำเลยชำระหนี้บางส่วนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2544 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องวันที่ 29 ธันวาคม 2546 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุความใหม่ จึงขาดอายุความ
โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย หลังจากนั้นจำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ออกเงินทดรองให้แก่สถานประกอบการค้าต่างๆ แทนจำเลยอีก ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนเป็นการคิดบวกดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัดเข้ากับต้นเงินที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเมื่ออาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเอง มิใช่โจทก์ไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงมิได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดโดยไม่ผ่อนผันให้แก่จำเลยอีกต่อไป

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2550 ธนาคารซิตี้แบงก์ โจทก์
นางนิทรา หรือภัณฑิรา มาลีรัตน์ จำเลย

ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธินำคดีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไปฟ้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ย่อมหมายถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านให้คู่ความฟังแล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2547 ซึ่งไม่ใช่วันนัดพิจารณาหรือนัดฟังคำพิพากษา ต่อมาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 อันเป็นวันที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและลงลายมือชื่อทราบคำพิพากษา กรณีถือว่าทนายโจทก์เพิ่งทราบคำพิพากษาในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลชั้นต้นในคดีนี้วันที่ 4 เมษายน 2548 ซึ่งอยู่ในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2550 ธนาคารซิตี้แบงก์ โจทก์
นายสุรพงษ์ ศรีกาญจนา จำเลย

จำเลยให้การว่า จำเลยเบิกถอนเงินจากโจทก์เพียง 10,000 บาท และผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เรื่อยมา จำเลยชำระหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2540 เมื่อนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ถึงวันฟ้องวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 เป็นเวลา 2 ปี 5 เดือน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไว้ชัดแจ้งแล้ว ไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี เป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ให้การว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี โดยเพิ่งยกเหตุที่คดีโจทก์มีอายุความ 2 ปี เนื่องจากเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปจากจำเลยขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นเรื่องอายุความจึงไม่ชอบและเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1)

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550 บริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส (ไทย) จำกัด โจทก์
นายไกรสิทธิ ทารมย์ จำเลย

จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและคำสั่ง จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาให้แก่โจทก์อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ก็ได้ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
จำเลยนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปซื้อสินค้ารวม 11 รายการจากร้าน จ. แต่ตามใบเรียกเก็บเงินมีการนำเงินค่าสินค้ามาจากร้านดังกล่าวทั้งหมดคืนเข้าบัญชีเป็นเครดิตของจำเลย เนื่องจากจำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้นำบัตรไปใช้ โจทก์จึงพักการเรียกเก็บเงินเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบก่อน เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนด อายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป
โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7)

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550 บริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส (ไทย) จำกัด โจทก์
นายไกรสิทธิ ทารมย์ จำเลย

จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยจำเลยมีสิทธินำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบการและถอนเงินสดจากธนาคารที่เป็นสมาชิกของโจทก์ และโจทก์ตกลงออกเงินทดรองจ่ายให้แก่สถานประกอบการและธนาคารแทนจำเลยไปก่อนแล้วจึงรวบรวมหลักฐานเรียกเก็บเงินจากจำเลย จำเลยจะต้องชำระเงินที่เรียกเก็บแก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ส่งใบเรียกเก็บเงิน หากผิดนัดโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในรูปของค่าทดแทนการออกเงินทุนไปก่อนและค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บ โจทก์ส่งใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยระบุยอดเงินที่จำเลยจะต้องชำระซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวได้รวมรายการซื้อสินค้าที่ร้าน จ. 11 รายการ รวมอยู่ด้วย จำเลยคัดค้านว่าไม่ได้ใช้จ่ายตามรายการซื้อสินค้าที่ร้าน จ. ทั้ง 11 รายการ โจทก์พักยอดเรียกเก็บเงินดังกล่าวเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบกับร้านค้าตามใบเรียกเก็บเงิน เมื่อโจทก์ตรวจสอบกับร้านค้าเสร็จแล้ว โจทก์ได้ยกเลิกการพักยอดเรียกเก็บชั่วคราวและได้ส่งใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยอีกโดยให้จำเลยชำระภายในกำหนดแต่จำเลยไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาการใช้บัตรของจำเลยและเรียกให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ภายใน 10 วัน แต่จำเลยไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่โจทก์พักยอดเรียกเก็บเงินไว้ก่อนเพื่อตรวจสอบนี้เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนดอายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุยกเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ตามใบเรียกเก็บเงินซึ่งจำเลยจะต้องชำหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้จำนวนดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
แม้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสมอไปไม่ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีนี้ไปโดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความดังที่โจทก์ฎีกา คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2550 ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
(มหาชน) โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์
เพชรบุรี จำกัด ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน โจทก์
นางสมถวิล สุริยามาศ จำเลย

แม้ว่าโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ในการคิดอัตราดอกเบี้ยไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด โจทก์จึงได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดมาใช้บังคับ กรณีของจำเลยอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อชฎาทองเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งโจทก์เรียกเก็บได้เพียงร้อยละ 13.75 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารโจทก์ข้อ 2.1.1 เท่านั้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ที่โจทก์ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 2 นั้น เป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ระบุไว้ตอนท้ายของเอกสารต่างหาก และยิ่งไปกว่านั้นยังปรากฏว่าโจทก์ได้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งหลายอัตราตามตารางรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งโจทก์คิดจากจำเลยมีบางรายการในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีบ้าง ร้อยละ 19.50 ต่อปีบ้าง และร้อยละ 24 ต่อปีก็มี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตอีกต่างหาก จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์เอง อันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ ดังนั้นเงินส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ ประกอบกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ทำให้โจทก์จำเป็นต้องทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การเรียกดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ โดยสภาพและตามสำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยจะทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ลำพังแต่การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพราะตนเป็นหนี้แล้วโจทก์นำไปจัดการหักชำระหนี้ต่างๆ ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเอง ประกอบกับโจทก์เป็นสถาบันการเงินที่ประกอบการธนาคารพาณิชย์อันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนย่อมมีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจและเชื่อว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ฉะนั้นเมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วก็เท่ากับสัญญากู้ยืมเงินมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัดและไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2550 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์
นางหลิน ไอยู่ จำเลย

ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 17)ฯ กำหนดความผิดอาญาและอัตราโทษสำหรับการกระทำผิดเกี่ยวกับบัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดและต้องระวางโทษตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 267/7 แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2550 ธนาคารซิตี้แบงก์ โจทก์
นายศิริพัฒน์ สินสุขพร กับพวก จำเลย

โจทก์นำสืบว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 จำนวน 2,000 บาท จำเลยนำสืบว่าไม่ได้ชำระ ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือไม่ ย่อมตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 แต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดที่แสดงว่าจำเลยเป็นผู้โอนเงินดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์ ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันดังกล่าว

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2550 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์
นายปราโมทย์ เขาเหิน โจทก์ร่วม
นายสมพร คุปต์กาญจนากุล จำเลย

โจกท์ร่วมและบิดามารดากับ อ. พี่สาวโจทก์ร่วมได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร้านทองร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วนไว้ ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033 ดังนั้น โจทก์ร่วมซึ่งเป็นหุ้นส่วนในกิจการร้านทอง ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนคดีนี้ได้ โดยไม่จำต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมมีอำนาจดำเนินคดีแทนร้านทอง
จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าจะรับทองรูปพรรณจากร้านทองของโจทก์ร่วมไปจำหน่ายแก่ลูกค้าซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยขอใบบันทึกรายการขายของร้านทองของโจทก์ร่วมไปให้ลูกค้าชำระเงินค่าทองรูปพรรณให้แก่โจทก์ร่วมด้วยบัตรเครดิต โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงมอบทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายที่รูดกับเครื่องรูดบัตรของทางร้านซึ่งปรากฏชื่อร้านและหมายเลขสมาชิกของร้านทองแล้วให้จำเลยไป เมื่อจำเลยขายทองรูปพรรณให้แก่ลูกค้าได้แล้ว จำเลยจะได้จัดให้ลูกค้านำบัตรเครดิตของลูกค้ามารูดกับเครื่องรูดบัตรอีกเพื่อให้ปรากฏหมายเลขบัตรของลูกค้า วันหมดอายุบัตร และขออนุมัติวงเงินจากธนาคาร กรอกรายละเอียดวันที่ จำนวนเงินที่ลูกค้าชำระ และให้ลูกค้าลงลายมือชื่อในใบบันทึกรายการขายแล้วจำเลยจะได้ส่งใบบันทึกรายการขายนั้นให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อให้โจกท์ร่วมนำไปขอรับเงินจากธนาคารต่อไป แต่เมื่อหลอกลวงได้ทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายจากโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยกลับใช้บัตรเครดิตปลอมมารูดกับเครื่องรูดบัตรเพื่อลงใบบันทึกรายการขาย แล้วส่งใบบันทึกรายการขายปลอมดังกล่าวมาให้โจทก์ร่วมเพื่อขอรับเอาทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายไปจากโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยรับไปคิดเป็นเงิน 889,400 บาท ซึ่งเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง และจำเลยยังได้ร่วมกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายปลอมเป็นเอกสารประกอบการฉ้อโกงโดยส่งไปให้โจทก์ร่วม เพื่อให้โจทก์ร่วมนำส่งใบบันทึกรายการขายปลอมนั้นไปขอรับเงินจากธนาคาร ก. และธนาคาร ท. แต่ละวันแยกต่างหากจากกันตามที่ปรากฏในใบบันทึกรายการขาย การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดฐานใช้มบบันทึกรายการขายซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 24 กระทง ตามฟ้อง
การที่จำเลยกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายทั้ง 24 กรรมนั้น จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วม บันทึกรายการขายปลอมที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้โดยจัดส่งไปให้โจทก์ร่วมก็เพื่อเป็นอุบายหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยกับพวกนั่นเอง ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่จำเลยกับพวกกระทำต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 24 กระทง

________________________________

ส่วนล่างของฟอร์ม
ส่วนบนของฟอร์ม
ส่วนล่างของฟอร์ม
ส่วนบนของฟอร์ม
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2550 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายวุฒิชาติหรือจตุรเทพ อภิวงศ์งาม กับพวก จำเลย

ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้ผู้ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถามีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขออนาถาของตนใหม่ได้ก็เฉพาะเพื่ออนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าผู้ขอเป็นคนยากจนเท่านั้น หาได้ให้สิทธิแก่ผู้ขอที่จะขอให้ศาลพิจารณาใหม่ในประเด็นว่าคดีของผู้ขอมีเหตุอันสมควรจะอุทธรณ์ด้วยไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองด้วยเหตุผลที่ว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 7 วัน ย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย ประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ย่อมยุติ จำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ในประเด็นดังกล่าวอีกไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่ก็ได้แต่เฉพาะประเด็นเรื่องจำเลยทั้งสองเป็นคนยากจนเท่านั้น ส่วนการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์นั้นนอกจากผู้ขอจะเป็นคนยากจนแล้ว คดีของผู้ขอต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมก็ตาม คดีก็ต้องฟังตามข้อยุติว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองนำค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2550 ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์
นางสาวสุวาที เพ็ชรวิเศษ จำเลย

โจทก์เป็นสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าซึ่งทำได้หลายวิธี จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิต 2 รายการ แม้จะเรียกชื่อต่างกัน แต่ก็เป็นหนี้ประเภทเดียวกันคือหนี้สินเชื่อบัตรเครดิต มูลหนี้ตามฟ้องจึงเกี่ยวข้องเป็นอย่างเดียวกันสามารถรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้โจทก์จึงนำมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ 34,666.57 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้อย่างคดีมโนสาเร่ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน 200 บาท ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยข้อหาในคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้ค่าใช้บัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หมายเลข 5425 – 5380 – 1022 – 0008 และพิพากษายกคำขอบังคับในส่วนนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
แต่ที่โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บัตรเครดิต มาสเตอร์การ์ด หมายเลข 5425 – 5380 – 1022 – 0008 ด้วยนั้น เห็นว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนนี้หรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาในข้อนี้ จึงเห็นสมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาพิพากษาข้อนี้ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบมาตรา 247

________________________________

ศาลแขวงพระนครเหนือ – นางเพ็ญศรี สินธุเสน

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2550 ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายอนุรักษ์ เดชตระกูล จำเลย

ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ ข้อ 11 ระบุว่า “บัตรเครดิตนี้ธนาคารได้ออกให้และสงวนไว้เฉพาะผู้ถือบัตรเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ถือบัตรยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตไปให้บุคคลอื่นใช้” ดังนั้น กรณีที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ที่ออกให้แก่จำเลยไปใช้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการแก่สถานประกอบกิจการและร้านค้าเป็นการใช้บัตรเครดิตซึ่งมิได้เป็นไปโดยถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติและ/หรือเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องรับผิดชำระหนี้อันเกิดจากการที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้ต่อเมื่อจำเลยได้ยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ การที่บัตรเครดิตของจำเลยถูกคนร้ายลักไปย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ตามข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ที่บุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้
การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่

________________________________

ศาลแขวงพระนครใต้ – นางสาวเสมอแข เสนเนียม
ศาลอุทธรณ์ – นายสมศักดิ์ จันทรา

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2550 ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายอนุรักษ์ เดชตระกูล จำเลย

ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ระบุว่า บัตรเครดิตนี้ธนาคารได้ออกให้และสงวนไว้เฉพาะผู้ถือบัตรเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ถือบัตรยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตไปให้บุคคลอื่นใช้ ดังนั้น ในกรณีที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ที่ออกให้แก่จำเลยไปใช้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการแก่สถานประกอบกิจการและร้านค้าเป็นการใช้บัตรเครดิตซึ่งมิได้เป็นไปโดยถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติและ/หรือเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องรับผิดชำระหนี้อันเกิดจากการที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้ ต่อเมื่อจำเลยได้ยินยอม อนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น การที่บัตรเครดิตของจำเลยถูกคนร้ายลักไปย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าจำเลยมิได้ยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ตามข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ที่บุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้
การวินิจฉัยปัญหาใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นดุลพินิจของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจึงร้องขึ้นมาหาได้ไม่

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2550 ธนาคารซิตี้แบงก์ โจทก์
นายสุรศักดิ์ พลสงคราม จำเลย

โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โจทก์ทำสัญญาให้สินเชื่อแก่จำเลยโดยให้จำเลยสมัครเป็นสมาชิก โจทก์เป็นผู้กำหนดวงเงินสินเชื่อซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลพินิจของโจทก์ โจทก์ออกบัตรเครดิตพร้อมกำหนดรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อสามารถนำไปถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ได้ตามความต้องการของจำเลยภายใต้วงเงินที่โจทก์กำหนดให้ สัญญาดังกล่าวมีกำหนดเวลา 1 ปี โดยโจทก์คิดค่าธรรมเนียมจากจำเลยปีละ 500 บาท หากมีการต่อสัญญาออกไปจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีในอัตราเดียวกันทุกปี การใช้สินเชื่อดังกล่าวจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 26 ต่อปี และต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่โจทก์ออกใบแจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยในแต่ละเดือน แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ดังกล่าวไปซื้อสินค้าหรือบริการแทนเงินสดได้โดยตรงก็ตาม แต่ลักษณะที่โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์อำนวยความสะดวกให้แก่จำเลยในการถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้ตามความต้องการของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้ควบคุมวงเงินที่จำเลยจะเบิกถอนได้ และคิดค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการดังกล่าวเป็นรายปีจากการที่จำเลยสมัครเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อใช้บริการสินเชื่อในลักษณะนี้ จึงมีลักษณะที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินสดให้แก่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกเพื่อให้จำเลยสามารถเบิกเงินสดได้ตามเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติไปใช้จ่ายได้ตามความต้องการของจำเลยเองเช่นกัน โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้สมาชิก การที่โจทก์ให้สมาชิกนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 และต้องชำระเงินให้โจทก์ภายในวันที่ 7 เมษายน 2542 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงตั้งต้นนับแต่นั้น เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2545 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

________________________________

ศาลแขวงพระนครใต้ – นางสาวเสมอแข เสนเนียม
ศาลอุทธรณ์ – นายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2550 บริษัทไดเนอร์สคลับ (ประเทศไทย) จำกัด โจทก์
นายสุวัฒชัย ผ่องสุภาพ กับพวก จำเลย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า “ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้สงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวสงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับเฉพาะกรณีลูกหนี้ยอมชำระหนี้โดยสิ้นเชิงแล้วเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้วเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงกรณีที่ลูกหนี้ขอชำระหนี้บางส่วน การที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามเช็คมิใช่เป็นการชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้บอกกล่าวสงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับในเวลาที่รับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระ โจทก์ก็ไม่หมดสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองตามเงื่อนไขที่ระบุในใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกบัตรเครดิต โจทก์จึงชอบที่จะเรียกเบี้ยปรับดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองได้
________________________________

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ – นายทวีศักดิ์ จิวะวิทูรกิจ
ศาลอุทธรณ์ – นายมนตรี ยอดปัญญา

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายนิพนธ์ คำควร กับพวก จำเลย

จำเลยที่ 2 แต่งตั้ง พ. ทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่ พ. จะยื่นอุทธรณ์ แต่ พ. ก็ยังคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ได้ อำนาจทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่ พ. จึงมีอำนาจลงนามในฐานะทนายจำเลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ได้

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายนิพนธ์ คำควร กับพวก จำเลย

การที่จำเลยที่ 2 แต่งตั้ง พ. ทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่ พ. ทนายจำเลยที่ 2 จะยื่นอุทธรณ์ก็ตาม แต่ พ. ก็ยังคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ได้ อำนาจทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่ พ. จึงมีอำนาจลงนามในฐานะทนายจำเลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ได้ แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 จนถึงบัดนี้เกินกำหนด 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงสมควรให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7610/2549 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทบัตรกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) ผู้สวมสิทธิ โจทก์
นายกำลูน สมทบบูรณะ จำเลย

การที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตกับโจทก์ก็มีความประสงค์เพื่อการชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตรวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวเนื่องจากการใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น ดังนั้น หนี้ในคดีนี้จึงไม่ใช่หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหนี้บัญชีเดินสะพัดโดยตรง แต่เป็นการที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่จำเลยที่เป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)

________________________________
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2549 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายชาญณรงค์ ภิญโญโสภณ จำเลย

ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาเพียงว่าทนายจำเลยแถลงโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำสั่งที่อนุญาตตามคำร้องฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541 เท่านั้น ดังนั้น การที่ทนายจำเลยเพียงแต่จดแจ้งข้อโต้แย้งคัดค้านไว้ในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 5 มกราคม 2542 ถือไม่ได้ว่าทนายจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 26 และมาตรา 226 จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องฉบับดังกล่าว
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่

________________________________

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5944/2549 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์
นายชาญชัย อัศรัสกร จำเลย

เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแล้วก็ย่อมที่จะพิพากษายกฟ้องได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นเพราะไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 19 วรรคหนึ่ง
เมื่อพิจารณาใบสมัครสมาชิกบัตรเครดิตที่ระบุว่า สถานที่ส่งใบเรียกเก็บเงินคือที่ทำงานของจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และอยู่ในเขตศาลชั้นต้นแสดงว่าจำเลยได้เลือกเอาที่ทำงานของจำเลยโดยมีเจตนาชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 โจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้

________________________________
( สมชัย จึงประเสริฐ – บุญรอด ตันประเสริฐ – ชัชลิต ละเอียด )
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2549 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์
นางสาวพรประภา เลิศวิทยา จำเลย

โจทก์บรรยายฟ้องว่าสถานที่ที่จำเลยยื่นใบสมัครหรือทำสัญญาและสถานที่รับบัตรเครดิตจากโจทก์อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเลยจะสามารถนำบัตรเครดิตไปใช้ได้ตามสัญญานั้น กระทำที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงชอบที่จะเสนอคำฟ้องของโจทก์ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

________________________________
( มนตรี ยอดปัญญา – สบโชค สุขารมณ์ – ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล )

มีปัญหาคดีบัตรเครดิต ปรึกษาทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th (มี @ นำ )

Facebook Comments