กฎหมายใหม่ พรบ ลิขสิทธิ์ ใหม่ ใช้บังคับ เริ่ม 4 สิงหาคม 2558 ที่ควรรู้ดังนี้
โทษจำคุก-ปรับ
ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ 2558
เริ่ม 4 สิงหาคม 2558 นี้
ปัจจุบันการแชร์เนื้อหาสาระ การแชร์ข่าวผ่าน social network เช่น Line , facebook , youtube หรือแม้กระทั่ง การใช้ภาพและวีดีโอ จากทางอินเทอร์เน็ต หรือทาง Social Network นั้น ล้วนมีลิขสิทธิ์ หากคุณแชร์โดยไม่รู้กฎหมายลิขสิทธิ์ คุณก็มีสิทธิที่จะถูกฟ้องร้อง และอาจถูกทั้งจับคุกและปรับได้ซึ่งกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ 4 สิงหาคม 2558 นี้
อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
ที่ปรึกษาสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และที่ปรึกษาด้านกฏหมาย กล่าวถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คนทำเว็บและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องระวัง ในงานสัมมนางานจิบกาแฟคนทำเว็บ ( Webpresso ) เรื่อง ตอบคำถามกับปัญหาคาใจบนโลกออนไลน์ ว่า
“หากรูปใน facebook ถูก copy ไปใช้ในทางเชิงพาณิชย์ ในทางกฎหมาย ถ้าเราถ่ายเองหรือจ้างคนอื่นถ่าย ถือว่าภาพถ่ายนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของเรา ทั้งนี้รูปที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินดารา ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
และ
ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ กฎหมายลิขสิทธิ์จะมีผลบังคับใช้ หากคุณทำการลบลายน้ำในรูป หรือทำการตัดครอปรูปโดยไม่นำชื่อเจ้าของภาพ แล้วนำไปใช้ในเว็บตัวเอง หรือแชร์ทาง Social Network โดยไม่อ้างอิงเจ้าของตัวจริง
มีโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 2 แสนบาท ดังนั้น การ Copy รูปภาพบน facebook , youtube , instagram , twitter , flickr หรือจากเว็บอื่น ต้องให้ Credit ใส่ชื่อเจ้าของรูปอ้างอิงไว้ด้วยเสมอ”
กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ที่จะมีผลในวันที่ 4 สิงหาคม 2558 นั้น มีเจตนารมณ์คือ เวลาจะเอาผลงานของใครมาจะต้องเอาชื่อคนนั้นมาใส่ด้วย
คำถาม?
หากเป็นการ copy เนื้อหาบนหน้าเว็บมาโพสต์ทาง facebook หรือเว็บเรา ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?
คำตอบ
1.ถ้าเป็นรายบุคคลเป็น facebook ใช้ส่วนตัวสามารถใช้ได้ทั้งนี้ต้อง อ้างอิงแหล่งที่มาว่าใช้ส่วนตัว และ ไม่มีแสวงหาผลกำไร ถึงจะไม่ผิดลิขสิทธิ์
2.แต่ถ้าในกรณีนิติบุคคล ถือว่าไม่ได้ ถ้าเว็บไซต์คุณมีแบนเนอร์ หรือ facebook มีกิจกรรมชิงโชค ถือว่า ผิดลิขสิทธิ์
คำถาม?
ถ้าเว็บไซต์ หรือ blog ของเรา นำ embed วีดีโอจาก youtube แปะใส่ในหน้าเว็บเราล่ะ ทำได้มั้ย ผิดหรือเปล่า?
คำตอบ
embed ของ youtube ใส่หน้าเว็บเราเป็นสิ่งที่เป็นอันตราย เพราะลิขสิทธิ์ของเขา แต่อยู่ภายใต้เวบของเรา ซึ่งผิดลิขสิทธิ์
ดังนั้นวิธีแก้คือ ใส่ภาพนิ่งเป็นตัวอย่างภาพวีดีโอนั้น พร้อมกับทำลิงค์ไปยังวีดีโอเจ้าของคลิป อันนี้สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์
คำถาม?
หากกลุ่มผู้ผลิตรายการทีวี ต้องการนำคลิป Youtube ไปใช้ควรทำอย่างไร ?
คำตอบ
1.ต้องเผยชื่อ user youtube เจ้าของคลิปนั้น เพื่ออ้างอิง และคลิปที่ใช้ได้ต้องเผยแพร่แบบสาธารณะ
2.ถ้าเป็นคลิป youtube แบบ Private หรือแชร์ลิงค์เฉยๆที่ไม่ใช่สาธารณะนำมาใช้ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์
3.กรณีแฟนเพจ facebook แชร์ภาพของ fanpage อื่น เพื่อเรียกเรตติ้ง มีความเสี่ยงถูกฟ้อง เพราะเรื่องแสวงหาผลกำไร
ดังนั้นหากไม่อยากโดนฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ควรถ่ายเอง วาดเอง หรือขอจากเจ้าของรูปเอง ก็ใช้ได้ แต่ถ้าเอาจาก google อาจโดนฟ้องได้ และถูกเรียกเงินสูงด้วย
คำถาม?
ถ้าแปลจากเว็บต่างประเทศ แล้วอ้างอิงให้แล้ว ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?
คำตอบ
ถ้าเป็นเนื้อหาข่าว ไม่ผิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นบทความอาจผิดลิขสิทธิ์ได้ ถ้าใช้ในเรื่องแสวงหาผลกำไร หรือใช้ในเชิงพาณิชย์
ทั้งนี้ การนำเนื้อหามารีไรท์เรียบเรียงใหม่ ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้า copy paste แปลรายคำ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์
ตัวอย่าง
เนื้อหาข่าวที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์ เช่น เนื้อหาข่าวว่าเกิดอะไรขึ้น ข้อมูลทั่วไป ราคาหุ้น พยากรณ์อากาศ หนังฉายวันนี้ ราคาน้ำมัน ผลการแข่งขันฟุตบอล อันนี้ไม่เป็นลิขสิทธิ์ สามารถแชร์ หรือใช้ได้
แต่ถ้าเป็น พวกภาพข่าว รูป บทสัมภาษณ์ข่าว คอลัมน์ข่าว ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ หากนำไปใช้โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของภาพ หรือเจ้าของคอลัมน์ อาจเสี่ยงถูกฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
สรุป ความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์เริ่ม 4 สิงหา 2558 นี้ที่คนเล่น Net หากกระทำผิดจะต้องรับโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อมูลจาก ทนายเกิดผล แก้วเกิด
นายเกรียงศักดิ์ นวลศรี
น.บ น.บ.ท วิชาชีพว่าความ ที่ปรึกษากฎหมาย และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com