Home คดีอาญา ปลอมบิลเงินสดที่ไม่มีอยู่จริง เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารหรือไม่

ปลอมบิลเงินสดที่ไม่มีอยู่จริง เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารหรือไม่

15085

 

คำถาม ปลอมบิลเงินสด แต่ไม่มีต้นฉบับอันแท้จริงของบิลเงินสดจะเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ์หรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ความผิดฐานปลอมเอกสารจะต้องปลอมเอกสารที่มีอยู่แท้จริงเสมอไปหรือไม่

คำตอบ
มีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 611/2557

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆในเอกสารที่แท้จริงหรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร
ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าผู้ทำเอกสารปลอมสามารถทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับได้ดังนั้นการที่จำเลยปลอมบิลเงินสด โดยนำแบบพิมพ์บิลเงินสดมาเขียนกรอกข้อความมีสาระสำคัญว่าบิลเงินสดฉบับดังกล่าวออกโดยร้าน ย. เลขที่44/4 ถนนจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานครเล่มที่ 009 เลขที่ 057 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 ได้รับเงินจากบริษัท ป. เป็นข้าวผ้าพื้นสีขาวจำนวน 90 เมตรเป็นเงินจำนวน 3600 บาทและค่าผ้าพื้นสีดำจำนวน 90 เมตร เป็นเงิน 3600 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 7200 บาท แล้วจำเลยลงลายมือชื่อผู้รับเงินปลอมใบบิลเงินสดดังกล่าว แม่เอกสารต้นฉบับจะไม่มีต้นฉบับอันแท้จริงของบิลเงินสดก็เท่ากับเป็นการปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้เห็นว่าเป็นเอกสารที่ ได้ทำมาจากต้นฉบับที่แท้จริง การปลอมเอกสารตามกฎหมายหาใช่จำเป็นจะต้องปลอมจากเอกสารที่มีอยู่แท้จริงเสมอไปการทำของจำเลยก็เป็นการปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265 แล้ว

สรุปเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @Lawyers.in.th

Facebook Comments