Home ทริบเทคนิค/บทความ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่

ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่

9241

กรณีหญิงไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามี บุตรที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรนอกกฎหมายของสามี และบิดานอกกฎหมายไม่มีหน้าที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกสมรส แต่บุตรนอกสมรสนั้นจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้

ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้

1. บิดามารดาสมรสกันในภายหลัง

2.  บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร

3.  ศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กนั้นเป็นบุตร
มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

 

แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ โดยฟ้องให้ศาลพิพากษาว่า บิดาของเด็กเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในคดีเดียวกันเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1555(3) (4) (5) (7) ซึ่งบัญญัติว่า การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายให้มีได้ในกรณีต่อไปนี้

  1. เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
  2.  เมื่อปรากฎในทะเบียนคนเกิด
  3.  เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผย

  เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรตามกรณีข้างต้นแล้ว   ก็ย่อมส่งผลให้บิดามารดามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตามมาตรา 1564 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์

 

โดยหลัก  การที่จะมีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู  นั้นต้องพิจารณาต่อไปนี้

 

บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 เป็นการกำหนดให้สิทธิแก่บิดามารดากับบุตรสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันได้เท่านั้น

ส่วนการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมีบทบัญญัติมาตรา 1565 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองด้วย

 

บทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296

 

การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12

 

 

สำหรับการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น มีบทบัญญัติมาตรา 1565 บัญญัติไว้เป็นกรณีเฉพาะว่า นอกจากบุตรจะให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวตามมาตรา 1562 ได้แล้ว ยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาก็สามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวเองได้ด้วย

นอกจากนี้มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296

 

 

นายเกรียงศักดิ์   นวลศรี

น.บ   น.บ.ท   วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย   และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

 

 

Facebook Comments