Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ไถ่สัญญาขายฝากหลังครบระยะเวลาโดยไม่มีหนังสือ เป็นการขยายระยะเวลาไถ่หรือไม่

ไถ่สัญญาขายฝากหลังครบระยะเวลาโดยไม่มีหนังสือ เป็นการขยายระยะเวลาไถ่หรือไม่

4513

 

คำถาม การที่จําเลยรับชําระเงินค่าสินไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกําหนดเวลาไถ่ตาม
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินดังกล่าวเป็นการขยายกําหนดเวลาไถ่หรือไม่

คำตอบ เคยมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๙๕๙/๒๕๕๖

การที่จําเลยรับชําระเงินค่าสินไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกําหนดเวลาไถ่ตาม
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินดังกล่าวเป็นการขยายกําหนดเวลาไถ่หรือไม่ เห็นว่า ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 496 วรรคสอง บัญญัติไว้มีใจความว่า การขยายกําหนดเวลาไถ่นั้นอย่างน้อยต้องมี
หลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ เมื่อพิจารณาจากหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินที่โจทก์
และจําเลยจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินระบุว่าหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินดังกล่าวมี
กําหนดเวลาสามปีนับแต่วันทําสัญญาคือวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ซึ่งหมายถึงโจทก์ต้องชําระ
เงินค่าสินไถ่ที่ดินที่ขากฝากภายในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการ
ขยายกําหนดเวลาไถ่โดยทําหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจําเลยเป็นผู้รับไถ่ไว้ ดังนั้น การ
ชําระเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท และ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ และวันที่ ๑๗
มกราคม ๒๕๔๗ ตามลําดับ จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการชําระเงินค่าสินไถ่ที่เกิดจากการขยาย
กําหนดเวลาไถ่ แม้จําเลยจะรับชําระเงินทั้งสองจํานวนดังกล่าวไว้จากโจทก์ก็ไม่ทําให้โจทก์มีสิทธิ
ไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนจากจําเลยได้
การที่โจทก์นําเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท ไปชําระแก่จําเลยเนื่องจากเข้าใจว่าโจทก์ยังมี
สิทธิที่จะไถ่ที่ดินที่ขายฝากได้ จึงไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์กระทําการตามอําเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อ
ชําระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชําระ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืน
จากจําเลยได้ การที่จําเลยได้รับเงินจํานวนดังกล่าวมาจากโจทก์จึงปราศจากมูลอันจะอ้างตาม
กฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีจึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา
๔๐๖ วรรคหนึ่ง จําเลยต้องคืนเงินจํานวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

สรุป หากไม่มีหนังสือถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระสินไถ่ที่เกิดจากการขยายระยะเวลา ผู้รับไว้ต้องคืนฐานลาภมิควรได้พร้อมดอกเบี้ย

มีปัญหาเกี่ยวกับการขายฝากที่ดินปรึกษาทนายกฤษดา

0999170039 LineID:Lawyers.in.th

Facebook Comments