Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ทนายอินดี้สวนกลับความเห็นอัยการ เหตุทำไมศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ไม่ให้อัยการแก้ต่างคดีสลายการชุมนุม

ทนายอินดี้สวนกลับความเห็นอัยการ เหตุทำไมศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ไม่ให้อัยการแก้ต่างคดีสลายการชุมนุม

4088

 

 

อ้างถึง บทความความเห็นอัยการ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ช่วงกลางวัน ร้อนฉิบหายเลยครับ แต่พอเย็นๆมีฝนตกให้ชื่อใจสำหรับผู้เขียนนั้น ไม่ค่อยจะได้นอน ขณะตอนเขียนบทความนี้ ง่วงนอนเป็นบ้าเลยครับ

ว่ากันต่อครับ เข้าเนื้อเลย เอาให้เลือดออกซิบๆ คือเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 สำนักข่าวอิศรา ลงบทสัมภาษณ์ ท่านปรเมศวร์ หรือพวกนักกฎหมายหลายๆท่าน รวมถึงผมด้วยจะเรียกอาจารย์ เพราะอ่านเป็นทั้งอาจารย์แล้วอัยการ กล่าวโดยใจความ

ในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง คดีสลายการชุมนุมเมื่อปี 2551 หน้ารัฐสภานั้น อาจารย์ปรเมศวร์ ท่านก็มีชื่อเป็นหนึ่งในคณะทำงานที่รับแก้ต่าง ให้กับอดีตนายกรัฐมนตรีและพวกรวม 4 คน แต่ภายหลังมีมติของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีนี้ห้ามอัยการแก้ต่างให้จำเลย เนื่องจาก อัยการจะต่อสู้คดีกับแผ่นดินไม่ได้ แต่อาจารย์ปรเมศวร์มีความเห็นว่า “รับแก้ต่างให้ได้”  ผมก็อ่านๆดูแล้ว มีความเห็นว่า ผมไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของอาจารย์ปรเมศวร์ เป็นอย่างมากโดยจะเจาะรายละเอียดอธิบายเป็นฉากๆ เลยนะครับ

ในข้อความที่อาจารย์ปรเมศวร์กล่าวถึงในกรณี ที่ควรรับแก้ต่างให้ได้ แต่ในกรณีคดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลยังไม่ได้ไต่สวนให้เห็นเลยว่าถ้าอัยการรับแก้ต่างให้จะเป็นปริปักษ์หรือไม่ ศาลไม่ได้ถามอัยการเลยสักคำ? ตรงนี้ผมของตั้งข้อสังเกตุ ย้อนถามไปที่อาจารย์ว่า ในกรณีที่องค์กรอัยการรับคดีมาภายหลังองค์กรอัยการไม่ทำ แล้ว ปปช.ไปฟ้องคดีเอง เท่ากับ องค์กรอัยการ รับรู้หรือไม่ว่าข้อเท็จจริง จุดได้เปรียบหรือเสียเปรียบของฝ่าย ปปช.ที่ฟ้องคดีเองเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องรู้โดยทั่วไปโดยไม่ต้องถาม พนักงานอัยการชุดที่รับแก้ต่างเลยหรือเปล่าครับ

อย่างเช่น ถ้าผมในฐานะทนายในสำนักงานฯ วันดีคืนดี หัวหน้าสำนักงานรับคดีอะไรมาเรื่องนึง ผมไม่ได้ทำคดีนะครับ แต่รับผู้ข้อเท็จรับรู้เรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบในคดี จากโต๊ะอาหารที่สำนักงานฯ ได้ยินหัวหน้าสำนักงานคุยกับทนายคนอื่นในออฟฟิคเดียวกัน แล้วอยู่ดีๆผมไปรับงานให้จำเลยฝ่ายตรงข้าม แบบนี้ผมเป็นปรปักษ์หรือไม่ครับ  ผมจะโดนร้อง มรรยาททนายความหรือเปล่าครับ?  เดี๋ยวจะฉะ ประเด็นต่อไปครับ

ข้อความต่อไปครับ ที่อาจารย์ปรเมศวร์ ให้สัมภาษณ์ “มีจำเลยในคดีนี้ มานั่งคุยกับผม เขาก็ไม่สบายใจ ด้วยความเคารพ ทนายฝ่ายโจทก์ (ป.ป.ช.) ก็เป็นเพื่อนผม เขาก็บอกว่า เหมือนถูกรุมกินโต๊ะ ผมก็บอกไปว่าอย่าห่วง ผมถามเขาว่าถ้าผมเป็นจะคัดค้านหรือไม่ เขาก็บอกว่าไม่คัดค้าน มาว่ากันในเนื้อหา ผมถึงบอกว่าอย่ามองเรื่องนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างหน่วยงานรัฐ เพราะถ้ารัฐทำไม่ถูกก็ไม่เอาด้วย เราต้องรักษากระบวนการยุติธรรม คำว่าทนายแผ่นดินเป็นเรื่องเล็ก แต่ความยุติธรรมของแผ่นดินคืออะไร คือการเข้าข้างรัฐหรือ ทุกเรื่องต้องเข้าข้างรัฐไหม”

ประเด็นตรงนี้ผมมองว่า เฮ้ย คิดได้ไง ว่าทนายแผ่นดินต้องเข้าข้างรัฐเหรอ? ผมถามว่าทุกวันนี้อัยการมีเงินได้จากเงินอะไร? งบประมาณแผ่นดินไหม? ไอ้งบประมาณแผ่นดินมาจากภาษีประชาชนไหม? แล้วที่บอกว่า ต้องรักษาความยุติธรรม ผมมองว่า ถ้าในคดีนี้อัยการเห็นว่าไม่ผิดจริง อัยการก็ได้รักษาความยุติธรรมแล้ว โดยการไม่สั่งฟ้องคดี และผมไม่เห็นความจำเป็นที่อัยการต้องเข้ามาแก้ต่างแทน จำเลยที่ถูก ปปช. ฟ้องคดีเองเลย ในเมื่อจำเลยก็ไม่ได้มีฐานะยากจน ถึงขนาดไม่มีปัญญาจ้างทนายความมาแก้ต่างแทนตัวเอง 

ประเด็นที่นักข่าวบอกว่าอัยการรู้จุดอ่อน-จุดแข็งของคดีหรือไม่  อาจารย์ปรเมศวร์ ได้อธิบายว่า วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นระบบไต่สวน ใช้สำนวนของ ป.ป.ช. เป็นหลัก มีการเปิดเผยสำนวนก่อนนำสืบพยาน ทนายฝ่ายโจทก์ และทนายฝ่ายจำเลย เป็นเพียงผู้ช่วยศาลค้นหาความจริง เช่น ถ้าผมจะถามพยาน ต้องจดให้ศาลอ่านและอนุญาตก่อนด้วยซ้ำว่า คำถามนี้มีซ้ำกับในสำนวนแล้วหรือไม่ ถ้าซ้ำก็ไม่ให้ถาม แต่ถ้าไม่ซ้ำก็ถามได้  “เราเป็นเพียงผู้ช่วยศาลค้นหาความจริง ถ้าพยานหลักฐานขาดเราก็เอามาเติมในสำนวนให้เต็ม”

ผมต้องบอกด้วยความเคารพว่า อาจารย์ครับคิดได้ไง ครับ ถ้าจะบอกว่าไม่เกี่ยวกันเลยอัยการพิทักษ์ความยุติธรรม แล้วช่วยศาลค้นหาความจริง ผมขอตั้งข้อสังเกตุต่อไปว่า ถ้าจะใช้ตรรกะนี้จริงๆ อัยการไม่ฟ้องคดี ปปช. ฟ้องคดีเองหาทนายมาฟ้องเพื่อวัตถุประสงค์ปกป้องผลประโยชน์รัฐ เพราะอัยการเห็นว่าไม่ควรสั่งฟ้อง แล้วอัยการมารับแก้ต่างให้ฝ่ายตรงข้าม  ผมว่าตลกมากครับ คือจะเอาแบบนี้ใช่ไหม จะอยู่แบบนี้ใช่ไหม จะมีมาตรฐานการควบคุมภายในที่มาตรฐานต่ำกว่า สภาทนายความ ใช่ไหม?  ผมขอเขียนต่อไปว่า ในส่วนของ ทนายความ สมุมติ ถ้าทนายผู้ใหญ่ในสำนักงานฯเดียวกันกับผมรับคดีมาเรื่องนึง ผมก็ไม่ได้รับรู้อะไรหรอก แต่รู้จุดอ่อนจุด-แข็ง ของคดีเพราะเห็นทนายอีกท่านทำงาน เห็นเอกสาร ได้รับฟังมา แล้วผมไปรับคดีให้คู่ความฝ่ายตรงกันข้าม แบบนี้ผมโดนร้องมรรยาททนายความถึงขนาดถูกลบชื่อออกจากการเป็นทนายความด้วยซ้ำ เพราะอยู่สำนักงานเดียวกันด้วยไง คณะกรรมการมรรยาทนายความคงพิจารณาลงโทษเป็แน่  คำถามคือ อาจารย์ปรเมศวร์อยากให้องค์กรอัยการเป็นแบบนี้จริงๆเหรอครับ ของทนายความเป็นข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ หมวด 3 ข้อ 13

แต่อย่างว่า ก็ อาจจะบอกว่า นั่นระบบกล่าวหา  นี่ระบบไต่สวน  ไต่สวนต้องช่วยศาลหาความจริง คือตรรกะแบบนี้งงๆ เพราะผมมองว่า ไม่ว่ากล่าวหา หรือไต่สวน ทั้งสองฝ่ายก็ต้องช่วยศาลหาความจริง แต่ในระบบกล่าวหา คือศาลไม่ต้องลงไปค้นหาความจริง แต่เป็นหน้าที่ของคู่ความทั้งสองฝ่าย หาข้อมูล ข้อเท็จจริง มาให้ศาลเพื่อให้ศาลหาความจริง  ส่วนในระบบไต่สวนศาลหาข้อเท็จจริงเอง แต่คู่ความทั้งสองฝ่ายก็อาจช่วยศาลค้นหาความจริงได้ และศาลจะถามพยานบุคคลเองว่าความจริงเป็นอย่างไร ตรงนี้แหละสำคัญ เพราะถ้าใครรู้จุดอ่อนของอีกฝ่าย หรือจุดแข็งของอีกฝ่าย ก็จะเดาคำถามของศาลได้ไม่ยาก ไม่ใช่รึ?

และสุดท้ายครับ นักข่าวสำนักข่าวอิศรา ถามอาจารย์ปรเมศวร์ว่า “สังคมขณะนี้กำลังมองว่าอัยการเป็นผู้ดึงเรื่อง-เตะถ่วงให้เกิดความล่าช้าในคดี” อาจารย์ปรเมศวร์ ตอบนักข่าวว่า “ทำไมในที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรเขาถึงออกกฎหมายให้อัยการเป็นคนฟ้อง เพราะอัยการเป็นมืออาชีพ อัยการบางคนกินสินบาทคาดสินบนหรือไม่ผมไม่รู้ ไม่ว่ากัน แต่วันนี้ลองไปหยิบคดีเก่า ๆ มาดูว่าทำไมอัยการไม่ฟ้องให้ ผมยินดีตอบทุกเรื่องว่า คดีนี้ฟ้องเพราะอะไร ไม่ฟ้องเพราะอะไร”

รงนี้ ผมติดใจมาก อัยการอาชีพเดียวเหรอครับ ที่เป็นมืออาชีพในการฟ้องคดี ทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ปปช. ให้ฟ้องคดีเองไม่มีความเป็นมืออาชีพเหรอครับ?  เรียนกฎหมายมาคนละตัวเหรอครับ? เรียนการร่างฟ้องคนละภาษาเหรอครับ?  หรือเพราะเขาไม่ได้สอบเป็นอัยการเลยไม่ถือว่าเป็นมืออาชีพ? ถือว่าเป็นมือสมัครเล่น?  ผมว่าแนวความคิดนี้พอเถอะครับ เพราะโดยปกติ ในคดีอาญาทั่วไปก็ให้อำนาจผู้เสียหายฟ้องคดีเองได้อยู่แล้ว และในหลายๆคดี ทนายความก็ทำงานมีประสิทธิภาพมาก ด้วยซ้ำ  ด้วยความเคารพครับ

ผมขอจบบทความเพียงเท่านี้ครับ  (ห้วนๆเหมือนเดิม ตามภาษาIndy Lawyer) เห็นด้วยกับผม แชร์บทความนี้ แล้วติดแฮสเท็คว่า #ทีมทนายอ๋อง

11693949_939533946085437_2486809441536893960_n

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

นายวิฑูรย์  เก่งงาน

ทนายความ

 

หมายเหตุ บทความนี้เป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต โต้เถียงในมุมมองทนายความ เพื่อแสดงออกถึงความถูกต้อง

 

 

Facebook Comments