Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ในคดีมโนสาเร่ การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล จะผลอย่างไร ?

ในคดีมโนสาเร่ การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล จะผลอย่างไร ?

9804

ในคดีมโนสาเร่ การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล           จะผลอย่างไร ?  และจะมีทางแก้ไขอย่างไร

 

 

d13-19

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5098/2550
ใน คดีมโนสาเร่นั้นกฎหมายได้กำหนดกระบวนพิจารณาสำหรับกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลแตก ต่างไปจากคดีแพ่งสามัญ การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัด ข้องที่ไม่มาศาลห้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มิได้ให้ถือว่าโจทก์ขาด นัดพิจารณา ดังนั้น จึงนำมาตรา 202 ว่าด้วยการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญมาบังคับแก่คดีนี้หาได้ไม่ เพราะในคดีมโนสาเร่กฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์ของการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่มาศาลไว้เป็นพิเศษแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำให้การและแจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการ พิจารณาคดีต่อไป ศาลก็ไม่อาจมีคำสั่งให้มีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 202 ดังที่จำเลยอุทธรณ์ได้

 

หมายเหตุ

คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องและสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาแบบคดีมโนสาเร่ ซึ่งต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มาใช้บังคับโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 190 ทวิ การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ตามมาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งศาลจะต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเท่านั้น จะดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ แม้ว่าจำเลยจะมาศาลและได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีกับแจ้งต่อศาลขอให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามมาตรา 202 อันเป็นกรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาดังเช่นคดีแพ่งสามัญ และจะนำบทบัญญัติมาตรา 202 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ เพราะเกี่ยวกับเรื่องนี้บทบัญญัติในวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา กรณีจึงไม่มีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1578/2547 และ 5204/2547)

ทางแก้ของโจทก์ก็คือ
(1) โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีได้ตามมาตรา 223 ซึ่งถ้าเป็นคดีแพ่งสามัญ หากโจทก์ขาดนัด
พิจารณา โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 203
(2) โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ได้ เพราะการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีนั้น ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็น
อันเป็นเนื้อหาแห่งคดี จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144
หากข้อเท็จจริงเป็นในทางกลับกัน กล่าวคือ ถึงวันนัดพิจารณาโจทก์มาศาล แต่จำเลยไม่มาศาลโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลตามมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง (เดิม) ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และให้บังคับตามมาตรา 204 (202 เดิม) ซึ่งจะต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยจำเลยขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญมาปรับแก่คดี โดยให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว ส่วนกระบวนพิจารณาต่อจากนั้น ศาลก็จะอาศัยมาตรา 204 ประกอบมาตรา 206 วรรคสอง ซึ่งให้นำมาตรา 198 ทวิ ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลม เช่น ศาลอาจจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ได้ดังเช่นคดีแพ่งสามัญ
คำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้จึงเป็นบรรทัดฐานที่ยืนยันว่า ในคดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยากนั้นไม่มีกรณีที่จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาดังเช่นคดีแพ่งสามัญ

ไพโรจน์ วายุภาพ

ผู้พิพากษา

 

 

นายเกรียงศักดิ์   นวลศรี  

น.บ   น.บ.ท   วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย   และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

 

 

 

Facebook Comments