Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ความแตกต่าง ” ทางจําเป็น – ภาระจํายอม “

ความแตกต่าง ” ทางจําเป็น – ภาระจํายอม “

37806

 

15-03-2012001

ทางจําเป็น หมายถึง ที่ดินที่ถูกล้อมด้วยที่ดิน แปลงอื่นอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้หรือมี ทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ไม่สะดวก เช่น จะต้อง ข้ามบึง ทะเล หรือที่ลาดชันอันระดับที่ดินกับทาง สาธารณะสูงกว่ากันมาก (มาตรา ๑๓๔๙ แห่งป.พ.พ.) กฎหมายจึงให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมให้มี สิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๗๒/๒๕๔๖ (ประชุมใหญ่))

ภาระจํายอม หมายถึง ทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่ ตัดทอนอํานาจกรรมสิท ธิ์ โดยทําให้เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งซึ่งเรียกว่า ภารยทรัพย์ต้อง รับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของ ตน หรือทําให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องงดเว้นการ ใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์ (มาตรา ๑๓๘๗ ป.พ.พ.)

 

 

 

ความแตกต่าง ” ทางจําเป็น – ภาระจํายอม “

1. ทางจําเป็นเป็นที่ดินตาบอด  ภาระจำยอม ไม่จําเป็นต้องเป็นที่ดินที่ถูกล้อมหรือที่ดินที่อยู่ ติดกัน แม้ที่ดินไม่ได้อยู่ติดกันก็สามารถใช้ทางภาระ จํายอมได้ – ไม่จําเป็นต้องเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ภาระจํายอมไปสู่ที่ใดก็ได้

2. ทางจําเป็นต้องใช้ค่าทดแทน (1349ว. ท้าย) /ไม่ต้องใช้ค่า ทดแทน (1350)  ภาระจำยอมโดยนิติกรรม กฎหมายไม่ได้ กําหนดว่าจะต้องเสียค่าทดแทน แล้วแต่เจ้าของที่ดิน จะตกลงกันว่าจะมีการเสียค่าทดแทนหรือไม่

3. ทางจําเป็นไม่ต้องจดทะเบียน (1338) เป็นทรัพยสิทธิโดย สมบรูณ์แต่ภาระจํายอมไม่จดทะเบยีนไม่สมบรูณ์(1299ว.1/ ว.2)หากไม่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียน การได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะใช้บังคับได้เพียง ระหว่างคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิเท่านั้น ยกเว้น กรณีภาระจํายอมสิ้นไปโดยพ้น กําหนดเวลาที่ตกลงไว้ถือว่าเป็นอันยกเลิกไปโดยไม่ ต้องจดทะเบียนเลิกภาระจํายอม

4. ทางจําเป็นหมดความจําเป็นก็สิ้นไป ภาระจํายอมไม่ใช้ 10 ปี  หรือ จดทะเบียนยกเลิก

 

ทางจำ เป็น

มาตรา  1349

1. เป็นสิทธิตามกฎหมาย แม้ได้มาโดยรู้แต่ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต

ฎ. 5103/47 + ฎ. 7322/50 แม้รู้ว่าเป็นที่ดินตาบอด ก็ได้สิทธิเป็น ทางจําเป็น

ฎ. 3408/51 มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้หลายทางโดย เจ้าของไม่ได้หวงห้าม แต่ไปขอเปิดทางจําเป็นในที่ดินพิพาทที่ เขาต้องรื้อ บริเวณหลังบ้านออก เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

 

 

2. ผ่านทางโดยเจ้าของที่ดินยินยอมให้ผ่าน ขอเปิดทางจําเป็นใน ที่ดินอีกแปลงได้เพราะเจ้าของที่ดินที่ล้อมจะไม่ยินยอมให้ผ่าน เมื่อใดก็ได้โดยอาศัยหลักความเป็นเจ้าของตาม ม.1336

3. ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ หมายรวมถึงทางบก – ทางน้ำ – ถ้าเพียงแต่ไปมาไม่สะดวกเท่าทางบก แต่หากยังคงใช้สัญจร ได้ตามปกติก็ถือว่าเป็นทางสาธารณะ

4. แม้มีทางออกสู่ทางสาธารณะแต่ต้องข้ามสระ บึง ทะเล ถือว่า ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ

5. เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมเท่านั้น ที่ฟ้องร้องขอให้เปิดทางจําเป็นได้   ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน แม้จะถูกที่ดินอื่น ล้อมก็ไม่มีสิทธิขอให้เปิดทางจําเป็น ทางจําเป็นมิใช่ สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วย การที่ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมามีสิทธิใช้ทางพิพาทใน ที่ดินในฐานะทางจําเป็นมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า เจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจะได้สิทธิในทางพิพาทนั้น ด้วยอย่างภาระจํายอม (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๗/ ๒๕๐๙, ๒๑๙๖/๒๕๑๔) (เจ้าของที่ดินรวมถึงคนในครอบครัวและบริวาร)

6. ต้องใช้ค่าตอบแทนเป็นค่าใช้ที่ดิน แต่การฟ้องขอให้เปิดทางจําเป็น ไม่จําต้องเสนอชดใช้ค่าทดแทนก่อน

7. มีสิทธิใช้ยานพาหนะผ่านทางจําเป็นได้

ฎ. 653/16 แต่ต้องให้เสียหายน้อยที่สุด

8. ทางจําเป็นอาจเป็นภาระจํายอมโดยอายุความได้ถ้าใช้ทางจําเป็น ปรปักษ์กับเจ้าของ

9. ทางจําเป็นไม่จําเป็นต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๑๓๓๘) เพราะทาง จําเป็นเป็นการได้สิทธิตามกฎหมาย และผู้ที่จะขอใช้ทางจําเป็นไม่จําเป็นต้องใช้สิทธิมานาน ถูกล้อมวัน ไหน เวลาใด แม้จะเพิ่งเข้ามาอยู่ในที่ดินซึ่งถูกล้อมก็ ขอใช้ทางจําเป็นได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๘๒๒๑/ ๒๕๔๒, ๓๗๗๔/๒๕๔๙, ๓๘๙๒/๒๕๔๙) 

 

10. หมดความจําเป็นก็ขอเปิดทางจําเป็นไม่ได้

 

กรณี   มาตรา  1350

1. ต้องเป็นที่ดินแปลงใหญ่มาก่อนแล้วต่อมามีการแบ่งแยกที่ดิน ออกเป็นแปลงย่อย

2. การขอเปิดทางจําเป็นไม่มีอายุความ

3. ที่ดินแปลงย่อยถูกบังคับให้เปิดทางจําเป็นผ่านที่ดินแปลงเดิมที่ได้แบ่งแยกเท่านั้น  โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน   (คําพิพากษาฎีกาที่ ๙๒๔๘/๒๕๔๔, ๓๔๘๔-๓๔๘๕/๒๕๔๘)        จะเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินแปลงอื่นมิได้

 

 

นายเกรียงศักดิ์   นวลศรี

น.บ  น.บ.ท  วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย    และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

Facebook Comments