Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ กรณี ” ปั่นจักรยานไปกินเหล้า โดนตำรวจจับวัดแอลกอฮอล์ ผิดกฎหมายหรือไม่ ...

กรณี ” ปั่นจักรยานไปกินเหล้า โดนตำรวจจับวัดแอลกอฮอล์ ผิดกฎหมายหรือไม่ “

3796

 

 

 

กรณี ” ปั่นจักรยานไปกินเหล้า โดนตำรวจจับวัดแอลกอฮอล์ ส่งฟ้องศาล ศาลตัดสินยังไงมาดูกัน “

 

กรณีดังภาพข้างต้นเมื่อพิจารณาตามกฎหมายซึ่งกฎที่ใช้ในการพิจารณาในที่นี้  คือ   พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 

มาตรา ๔๓ บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ …(2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น…

มาตรา 160 ตรี “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปีหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาทและให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่”

มาตรา 84 เว้นแต่บทบัญญัติในลักษณะนี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น……

(ไม่ปรากฎว่ามีการบัญญัติให้นำมาตรา  43 (2)  มาใช้บังคับแต่อย่างใด  )

 

 

ดังนั้นพอสรุปได้ว่า  เมื่อตามฟ้องนั้นตามหลักกฎหมายในที่นี้คือ  พ.ร.บ  จราจรทางบก    มิได้บัญญัติไว้ว่าการที่บุคคลขับขี่จักรยานในขณะเมาสุรา  จะมีความผิดผิด  ตามมาตรา  84  ประกอบมาตรา   43  (2)   แต่อย่างใด   บุคคลนั้นเลยไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 160 ตรี   แต่อย่างใด

 

แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนี้จะมีความผิดตามบทลหุโทษ        มาตรา 378 ผู้ใดเสพย์สุราหรือของเมาอย่างอื่น จนเป็นเหตุให้ตน เมา ประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธารณ หรือ สาธารณสถาน  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือไม่อย่างไร  เขาขอตั้งขอสังเกตุไว้นะครับ

 

 

เอกสารอ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
  2. กฎกระทรวงฉบับที่ 16 ( พ.ศ. ๒๕๓๗ ) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒

3.   ภาพจาก   http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17458686.0

 

นายเกรียงศักดิ์  นวลศรี

น.บ  น.บ.ท  วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย   และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

 

Facebook Comments