Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ” หากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้รับมรดก เป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ และ มีอำนาจฟ้องหรือไม่อย่างไร “

” หากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้รับมรดก เป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ และ มีอำนาจฟ้องหรือไม่อย่างไร “

3906

judges-gavel

 

แม้จะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้รับมรดก ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ และแม้จะรับมรดก ภายหลังเกิดเหตุก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10588/2553
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรม เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นมรดกของโจทก์ร่วม จำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทภายหลังเจ้ามรดกตาย โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ แม้โจทก์ร่วมจะจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทภายหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้วก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมร้องทุกข์ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทภายใน 3 เดือนนับแต่โจทก์ร่วมรู้เรื่องการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว การที่โจทก์ร่วมแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินพิพาทผิดพลาดเป็นเพียงรายละเอียด แม้ต่อมาจะมีการให้การเพิ่มเติมและส่งเอกสารเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในภายหลังโดยมีการแก้ไขเลขที่โฉนดให้ถูกต้องหลังจากพ้นกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่โจทก์ร่วมรู้ถึงการกระทำความผิด ก็ถือว่าการร้องทุกข์สมบูรณ์ตั้งแต่วันที่โจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ครั้งแรกแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

 

 

นายเกรียงศักดิ์    นวลศรี

น.บ   น.บ.ท   วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย    และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

 

 

Facebook Comments