ในสัมมนาสร้างแบรนด์ทนายความรุ่นที่ 3 ที่จะจัดวันที่ 1 พ.ย. นั้น เราจะคุยเจาะลึกเรื่องเทคนิคออนไลน์ให้คนค้นเจอแบรนด์ทนายของเราเป็นหลัก
แต่ว่าในการสร้างภาพลักษณ์ทนายให้เป็นแบรนด์ที่ถูกจดจำได้ง่ายนั้น เราจะ ใช้สไตล์สร้างความแตกต่าง ให้กับแบรนด์ทนายครับ โดยมีแนวทาง3 อย่างดังต่อไปนี้ (อาจมีเยอะกว่านี้)
เขียนให้อ่านง่าย
- ทนายความส่วนใหญ่มักใช้รูปแบบการเขียนที่คล้ายกัน คือมีการอ้างฎีกา ใช้ศัพท์วิชาการ และเขียนเหมือนกับกำลังพูดให้ศาลหรือทนายด้วยกันฟัง
- ปัญหาคือคนทั่วไปอ่านไม่รู้เรื่อง หลายคนเลิกอ่านตั้งแต่บรรทัดแรกๆ แต่กลุ่มคนที่อ่านต่อจนจบคือคนกำลังเจอปัญหานั้นจริงๆ
- ดังนั้นคนที่จะใช้บริการทนายความ ก็คือคนที่อ่านบทความแล้วเจอปัญหาที่ตรงกับตัวเอง แต่นั่นมีอยู่กี่เปอร์เซ็นต์กันล่ะ??
- ส่วนคนอื่นๆ ที่สนใจประเด็นแต่ยังไม่เจอปัญหานั้น ก็ไม่สามารถอ่านบทความจนจบ เพราะมึนหัวเสียก่อน
- แล้วสุดท้ายพวกเขาก็ยังจำแบรนด์ทนายความไม่ได้ (ขนาดอ่านยังไม่จบเลย)
ใช้รูป ลายเส้น ภาพวาด หรือภาพการ์ตูน ช่วยสื่อสารข้อความ
- เคยมีหนังสือเล่มหนึ่งที่ใช้ภาพการ์ตูนกับสถานการณ์จำลอง มาอธิบายเคสฟ้องร้องแต่ละแบบ
- รูปแบบการวาดนั้นไม่ได้เน้นความสวยงาม แต่เน้นให้เข้าใจได้ง่ายด้วยการมองเท่านั้น
- ปรากฏว่าหนังสือเล่มนั้นติดอันดับหนังสือขายดีคู่กับหนังสือการ์ตูนเม่าเล่นหุ้น (อันนี้เจ้าของเพจเม่าอินเวสเตอร์เล่าให้ผมฟังด้วยตัวเอง ว่านี่แหละคือพลังของการใช้ภาพสื่อความหมาย)
โฟกัสไปที่คดีเฉพาะด้าน
- สั้นๆ และง่ายๆ นะครับ … ระหว่างทนาย ก ที่คุยถึงคดีทุกประเภท กับทนาย ข ที่คุยเรื่องค้าขาย คนจะจำใครได้ง่ายกว่า
- กฎเหล็กของแบรนด์คือต้องโฟกัสให้คนจำเราที่เรื่องเดียว
- การจะให้คนจำว่าเราเป็นทนายนั้น เราทำได้ถ้าเราเป็นทนายที่มีผลงานมีบทความงานเขียนหรือออกสื่ออยู่ประจำ แต่ถ้าเราเป็นทนายใหม่กำลังเริ่มต้น การจะก้าวไปได้เร็วนั้นต้องใช้การ “โฟกัส” เป็นหลัก
- เมื่อทนายโฟกัสความเชี่ยวชาญของตัวเองได้ และพูดคุยในแฟนเพจแต่ในเรื่องนั้น คนก็จะจำแบรนด์ของเราได้ง่ายและเร็วขึ้น
ถ้าอยากฟังรายละเอียดเพิ่มเติม มาฟังในสัมมนาสร้างแบรนด์ทนายความรุ่นที่ 3 ได้นะครับ เราใช้สื่อออนไลน์ ทั้งบล็อก แฟนเพจ และเทคนิคการค้นหาคำที่ลูกความสนใจ เหมาะสำหรับยุคปัจจุบันที่ใช้ออนไลน์กันหมดแล้ว … เจอกันวันที่ 1 พ.ย. ครับ
Facebook Comments