คำถาม : ชำระเงินไถ่ที่ดินที่ขายฝากเกินกำหนดระยะเวลาไถ่ได้หรือไม่ และเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้หรือไม่
คำตอบ : การขยายกําหนดเวลาไถ่ตามสัญญาขายฝากนั้น ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ หากไม่มีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการขยายระยะเวลาไถ่ เป็นผลให้ผู้ขายฝากไม่มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนจากผู้รับขายฝากได้
ส่วนเงินที่ชำระไปภายหลังจากวันครบกำหนดไถ่ ผู้รับขายฝากไม่สามารถรับได้ หากรับไว้ต้องคืนแก่ผู้ขายฝากในฐานะลาภมิควรได้
เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกา 14959/2556 ขายฝาก ลาภมิควรได้
การที่จําเลยรับชําระเงินค่าสินไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกําหนดเวลาไถ่ตามหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินดังกล่าวเป็นการขยายกําหนดเวลาไถ่หรือไม่ เห็นว่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 496 วรรคสอง บัญญัติไว้มีใจความว่า การขยายกําหนดเวลาไถ่นั้นอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ เมื่อพิจารณาจากหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินที่โจทก์และจําเลยจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินระบุว่าหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินดังกล่าวมีกําหนดเวลาสามปีนับแต่วันทําสัญญาคือวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ซึ่งหมายถึงโจทก์ต้องชําระเงินค่าสินไถ่ที่ดินที่ขากฝากภายในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการขยายกําหนดเวลาไถ่โดยทําหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจําเลยเป็นผู้รับไถ่ไว้ ดังนั้น การชําระเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท และ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ และวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๗ ตามลําดับ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชําระเงินค่าสินไถ่ที่เกิดจากการขยายกําหนดเวลาไถ่ แม้จําเลยจะรับชําระเงินทั้งสองจํานวนดังกล่าวไว้จากโจทก์ก็ไม่ทําให้โจทก์มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนจากจําเลยได้
การที่โจทก์นําเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท ไปชําระแก่จําเลยเนื่องจากเข้าใจว่าโจทก์ยังมีสิทธิที่จะไถ่ที่ดินที่ขายฝากได้ จึงไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์กระทําการตามอําเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชําระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชําระ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนจากจําเลยได้ การที่จําเลยได้รับเงินจํานวนดังกล่าวมาจากโจทก์จึงปราศจากมูลอันจะอ้างตามกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีจึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๐๖ วรรคหนึ่ง จําเลยต้องคืนเงินจํานวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
การที่โจทก์นําเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท ไปชําระแก่จําเลยเนื่องจากเข้าใจว่าโจทก์ยังมีสิทธิที่จะไถ่ที่ดินที่ขายฝากได้ จึงไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์กระทําการตามอําเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชําระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชําระ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนจากจําเลยได้ การที่จําเลยได้รับเงินจํานวนดังกล่าวมาจากโจทก์จึงปราศจากมูลอันจะอ้างตามกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีจึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๐๖ วรรคหนึ่ง จําเลยต้องคืนเงินจํานวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
BY MissLadyLawyer ทนายชีวารัตน์
มีปัญหาซื้อขาย ขายฝากที่ดิน ปรึกษา โทร 093-8791914 Line ID : chompoo1103
Facebook Comments