Home คดีแพ่ง กรณีศึกษา ชุมแพเงินด่วน ตอนที่ 1 กู้ยืมเงินที่ถูกต้องทำอย่างไร

กรณีศึกษา ชุมแพเงินด่วน ตอนที่ 1 กู้ยืมเงินที่ถูกต้องทำอย่างไร

5958

http://www.krobkruakao.com/ข่าวอาชญากรรม/147036/กองปราบบุกจับบริษัทเงินด่วนดอกเบี้ยโหดแหล่งใหญ่ที่ชุมแพ.html
image

ช่วงนี้ข่าวเรื่องบริษัทเงินชุมแพเงินด่วนกำลังดัง จากข่าวที่ออกมาจะเห็นได้ว่า ยังมีประชาชนอีกมากที่ยังไม่เข้าใจกฎหมายโดยเฉพาะเรื่องการกู้ยืมเงิน การชำระเงิน การขายฝากและการจดจำนอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ ที่คุณต้องอ่านทุกครั้งก่อนลงลายมือชื่อใดๆเพื่อทำนิติกรรม   ฉะนั้นวันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องการกู้ยืมเงินการจดจำนอง และการขายฝากกันดีกว่าค่ะ แต่เนื่องจากเรื่องนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันมาก ทนายขอแบ่งเป็นตอนๆ วันละตอน ให้ติดตามกันนะคะ ขอบอกอย่าพลาด  พลาดแล้วจะเสียเงินไม่รู้ด้วยนะ

 

ตอนที่ 1 กู้ยืมเงินที่ถูกต้องทำอย่างไร

1. จริงๆแล้วการยืมเงินกันนั้นเพียงแค่ส่งมอบเงินกันก็สมบูรณ์ แต่ที่เราต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินให้แก่ผู้ให้กู้เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม ผู้ให้กู้จึงจะฟ้องร้องต่อศาลได้ (ถ้ากู้ยืมเงินกันต่ำกว่าสองพันไม่ต้องมีสัญญาก็ฟ้องบังคับได้นะคะ)

ซึ่งคำว่า “หลักฐานเป็นหนังสือนี้” ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาเงินกู้อย่างเดียวนะคะ จะเป็นจดหมาย กระดาษเปล่าๆ หรือแม้กระทั่งถุงกล้วยแขก ก็ได้ ขอแค่มีข้อความว่า “ใครยืมเงินใคร จำนวนเท่าใด ลงลายมือชื่อ ……. ” ก็เพียงพอแล้ว

2.ส่วนดอกเบี้ยตามกฎหมาย กรณีบุคคลธรรมดาให้กู้ยืมกัน คิดได้แค่ ร้อยละ 15%ต่อปีเท่านั้นจ้าาาา (ไม่รวมถึงสถาบันการเงิน)

3. สำคัญสุด*** อ่านก่อนลงลายมือชื่อทุกครั้ง ตรวจดูว่าเป็นสัญญาอะไร จำนวนเงินที่กู้เท่าไร่  ดอกเบี้ยเท่าใด ครบกำหนดชำระเมื่อใด แล้วค่อยลงลายมือชื่อ  **** อย่าลืมขอคู่ฉบับหรือสำเนาสัญญาเงินกู้กลับมาด้วยนะ

วันนี้แค่นี้ก่อน อย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะคะ

BY MissLadyLawyer ทนายชีวารัตน์

………………………………………………………………………………………………..

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการกู้ยืมเงินไว้ว่า

มาตรา 650    อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งให้ยืมโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมี  กำหนดให้ ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิดและ ปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

‘’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’

มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
หมายเหตุมาตรา 653 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปพพ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2548

‘’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’

มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้า ในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้า ต่อปี

‘’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’

 

 

Facebook Comments