Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ” กรณี ฟ้องให้รับผิดทางอาญาฐานบุกรุกแล้วไม่ฟ้องขับไล่ด้วย จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในที่ดินต่อไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด “

” กรณี ฟ้องให้รับผิดทางอาญาฐานบุกรุกแล้วไม่ฟ้องขับไล่ด้วย จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในที่ดินต่อไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด “

11014

” กรณี ฟ้องให้รับผิดทางอาญาฐานบุกรุกแล้วไม่ฟ้องขับไล่ด้วย จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในที่ดินต่อไปได้หรือไม่

เพราะเหตุใด “

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2552

ป.วิ.อ. มาตรา 43

ป.วิ.พ. มาตรา 173(1) วรรคสอง

คดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองในคดีนี้บุกรุกที่ดินของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ เป็นคดีที่มิใช่คดีใดคดีหนึ่งในคดีความผิด 9 สถาน ซึ่งบัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ที่ให้พนักงานอัยการเมื่อยื่นฟ้องคดีความผิดนั้นๆ มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย ดังนั้น แม้พนักงานอัยการในคดีอาญาดังกล่าวมีคำขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินรวมทั้งให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินโดยโจทก์คดีนี้เข้าร่วมเป็นโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกอันจะเป็นความผิดตามฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ตาม เมื่อความผิดฐานบุกรุกไม่มีกฎหมายรับรองให้พนักงานอัยการมีคำขอในส่วนแพ่ง แม้โจทก์คดีนี้จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญาดังกล่าว ก็มีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่บุกรุก มูลคดีของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกันกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

 

ดังนั้น  จึงพอสรุปได้ว่า  ฟ้องให้รับผิดทางอาญาฐานบุกรุกแล้วไม่ฟ้องขับไล่ด้วย จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในที่ดินต่อไปได้ เพราะการขับไล่ต้องใช้สิทธิทางแพ่งเท่านั้น

 

นายเกรียงศักดิ์   นวลศรี

น.บ  น.บ.ท   วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย   และ ผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

Facebook Comments