คำถาม: นาย ก ยืมเงิน นาย ข 250,000 บาทโดยลงลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญาเงินกู้แต่ไม่ได้กรอกตัวเลขที่กู้ยืมกันไว้ ต่อมานาย ก ไม่มาชำระหนี้ นาย ข มีสิทธิกรอกตัวเลขในสัญญากู้ยืมเงิน เกินกว่าจำนวนที่กู้ยืมจริง โดยที่นาย ก ไม่ยินยอม นาย ข มีสิทธินำสัญญากู้ที่กรอกตัวเลขเองแล้วนำมาฟ้องร้องได้หรือไม่
คำตอบ : แม้จะมีการกู้ยืมเงินกัน ส่งมอบเงินกันจริง แต่เมื่อไม่ได้กรอกจำนวนเงินในขณะทำสัญญากู้ยืมเงินกัน ภายหลัง นาย ข จะกรอกตัวเลขเอง สัญญากู้ย่อมเป็นเอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ เมื่อไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม นาย ข ก็ไม่สามารถฟ้อง นาย ก ได้
BY MissLadyLawyer ทนายชีวารัตน์
มีปัญหาเรื่องกู้ยืม ผิดนัดชำระหนี้ ปรึกษา 093-8791914 LINE ID:chompoo1103
///////////////////////////////////////////////////////////////////////
เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 759/2557
จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินไปจำนวน 390,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์กรอกจำนวนเงินในภายหลังว่าจำเลยกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวซึ่งมากกว่าจำนวนหนี้กู้ยืมที่มีอยู่จริงในวันทำสัญญากู้ยืมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย หนังสือสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นเอกสารปลอม และถือได้ว่าการกู้ยืมตามฟ้องโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยให้การรับแล้วที่โจทก์ไม่จำต้องอ้างสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินในจำนวนที่รับว่าได้กู้ยืมจากโจทก์