Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ กรณี ” ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรม เพียงแต่แจ้งเกิดและเลี้ยงดูผู้ตายมาแต่วัยเยาว์ จะมีสิทธิจัดการแทนผู้ตายหรือไม่ “

กรณี ” ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรม เพียงแต่แจ้งเกิดและเลี้ยงดูผู้ตายมาแต่วัยเยาว์ จะมีสิทธิจัดการแทนผู้ตายหรือไม่ “

4862

กรณี ” ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรม เพียงแต่แจ้งเกิดและเลี้ยงดูผู้ตายมาแต่วัยเยาว์ จะมีสิทธิจัดการแทนผู้ตายหรือไม่   “

 

คำตอบ

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1500/2558
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอ้างว่า เป็นมารดาของผู้ตายแต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องโจทก์ระบุว่า ผู้ร้องเป็นมารดาบุญธรรมของผู้ตาย ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ผู้ร้องแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรม เพียงแต่แจ้งเกิดและเลี้ยงดูผู้ตายมาแต่วัยเยาว์เท่านั้น ทั้งตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของผู้ร้องเคยให้การว่า ผู้ตายไม่ใช่บุตรผู้ร้อง จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่า ผู้ร้องไม่ใช่มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (4) และมาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 ได้

 

ดังนั้น  พอสรุปได้ว่า     ตามกรณี มาตรา  5  อนุมาตรา 2  บุพการีต้องถือตามความเป็นจริง  เเม้จะแจ้งเกิดและเลี้ยงดูผู้ตายมาแต่วัยเยาว์  ทั้งมิได้จดทะเบียนรับผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรม เช่นนี้จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (4) และมาตรา 5 (2)

 

นายเกรียงศักดิ์   นวลศรี

น.บ  น.บ.ท  วิชาชีพว่าความ   ที่ปรึกษากฎหมาย   และผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com

Facebook Comments