ทุกวันนี้ มีลูกหนี้จำนวนมาก พอรู้กฎหมาย สั่งจ่ายเช็คทั้งที่ตัวเองไม่มีเงินพอชำระในบัญชี แบบไม่ใส่วันที่ โดยที่ไม่ได้คิดว่าการชำระเช็คดังกล่าวเมื่อเจ้าหนี้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บแล้วจะมีเงินเพียงพอให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหรือไม่ ซึ่งมีคำพิพากษาฎีกายืนยันมากมายว่าการกระทำดังกล่าว ไม่เป็นความผิดอาญาตามพรบ.การใช้เช็คฯ
ซึ่งวันนี้ทางผู้เขียนจะมาแนะนำทางแก้ของเจ้าหนี้แก้เผ็ดกับลูกหนี้รู้มาก กรณีสั่งจ่ยเช็คไม่ลงวันที่ดังนี้
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยตัดสินไว้คำพิพากษามีรายละเอียดดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2544
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
จำเลย ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ร่วม โดยส่งมอบเช็คให้ อ. พนักงานของโจทก์ร่วมในทันทีที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เมื่อ อ. รับเช็คแล้วได้กรอกจำนวนเงินและวัน เดือน ปี ที่ออกเช็คลงในเช็คต่อหน้าจำเลยและโดยความยินยอมของจำเลย แม้จำเลยเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค แต่รายการดังกล่าว จำเลยหาจำต้องเป็นผู้เขียนลงไว้ด้วยลายมือของจำเลยเองไม่ ถือได้ว่าเป็นการออกเช็คที่สมบูรณ์แล้วเมื่อจำเลยเป็นผู้ออกเช็ค และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
สรุป ทางแก้ของเจ้าหนี้ผู้รับชำระเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายไม่ลงวันที เมื่อได้รับเช็คแล้วกรอกวันที่ต่อหน้า ลูกหนี้โดยลูกหนี้ยินยอม ทำให้จากเดิมที่ลูกนี้ไม่มีความผิดจะหลายเป็นมีความผิดตามพรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2544 ฉบับเต็ม
มีปัญหาเกี่ยวกับคดีความเกี่ยวกับเรืองเช็คปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
0999170039