ประกันภัยค้ำจุน (guarantee insurance,surety insurance)
การประกันภัยค้ำจุน เป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่ง ที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกนั้น เช่น กรณีรถยนต์คันเอาประกันภัยไปเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกได้รับความเสียหาย หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายแล้ว บริษัทผู้รับประกันภัยก็มีหน้าที่เข้าไปรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นแทนผู้เอาประกันภัย
ประกันภัยค้ำจุน คือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย อนึ่งผู้รับประกันภัยนั้นแม้จะได้ส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้องเสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอาประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว
ประกันภัยค้ำจุน เป็นสัญญาประเภทหนึ่งของประกันภัย อยู่ในหมวดที่2ว่าด้วยประกันวินาศภัย แต่มีข้อแตกต่างจากประกันวินาศภัยปกติ ที่ผู้เอาประกันภัยนำตัวทรัพย์สินไปประกันความเสียหาย เช่น ประกันอัคคีภัย ก็คือการที่เอาตัวบ้านหรือ ทรัพย์อื่น เป็นวัตถุที่เอาประกันภัย เป็นต้น
แต่ ประกันภัยค้ำจุนนั้น วัตถุที่เอาประกันภัยคือ “ความรับผิด” ไม่มีตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัย บางครั้งจึงเรียกประกันภัยประเภทนี้ว่า “ประกันภัยความรับผิด”
หลักกฏหมายที่ที่อธิบายความหมายของประกันภัยค้ำจุน
นั้น มีบัญญัติไว้ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 887วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า“อันว่า ประกันภัยค้ำจุนคือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลกว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่บุคคลอีกบุคคลหนึง และซึ่ง ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ”
สัญญาประกันภัยค้ำจุน หมายถึง สัญญาประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีความรับผิดที่ต้องชำระหนี้ให้ผู้อื่น ซึ่งผู้เอาประกันภัย เอาความรับผิดไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัย อาจเป็นความรับผิดตามสัญญา หรือ ความรับผิดทางกโหมายก็ได้ เช่น ความรับผิดตามกฏหมายละเมิด ตัวอย่างเช่น
คำพิพากษาฏีกาที่ 977/2502 กรมธรรม์ ประกันภัยมีข้อความว่า ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยที่จะชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยที่จะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลสามอันเกิดจากการใช้ยานยนต์เป็นการประกันภัยค้ำจุน
คำพิพากษาฎีกาที่ที่ 1085/2511 ผู้รับประกันภัยทำสัญญากับผู้เอาประกันภัย ว่าผู้รับประกันภัยยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่บุคคลหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบมีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุน
สัญญาประกันภัยค้ำจุนไม่มีตัวผู้รับประโยชน์จนกว่าจะมีความเสียหายเกิดขึ้นบุคคลภายนอกมีสิทธิเรียกร้องเมื่อเกิดวินาศภัยโดยไม่ต้องแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์
อาจกล่าวได้ว่าสัญญาประกันภัยค้ำจุน จึงเป็นสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกผู้ซุึ่งเสียหายจากวินาศภัยที่เกิดขึ้นจากฝ่ายผู้เอาประกันภัยได้ก่อขึ้น หรือก็คือการที่ผู้รับเอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบบุคคลอีกคนหนึ่งนอกเหนือจากผู้เอาประกันภัย และข้อสำคัญคือ ต้องปรากฏว่าความรับผิดที่ได้เกิดขึ้นจากผู้เอาประกันภัยต้องเป็นความรับผิดตามกฏหมาย ไม่ว่าจะเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตามสัญญา หรือการทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ
สรุปใจความสำคัญได้ 2 ประการ
1.ต้องมีสัญญาประกันภัยระหว่างผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย และจะต้องไม่ใช่เป็นการรับประกันความเสียหายต่อทรัพย์ของผู้เอาประกันภัย แต่เป็นการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอก ในอนาคต
2. ผู้เอาประกันภัยเป็นต้องเป็นฝ่ายที่รับผิดตามที่กฏหมายได้บัญญัติไว้ใน ตอรท้ายของมาตราที่ 887 วรรค1
“เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่บุคคลอีกบุคคลหนึง และซึ่ง ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ”
เมื่อครบหลักเกณฑ์ทั้ง สองข้อแล้ว ผู้รับประกันภัยถึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอกแทน ผู้เอาประกันภัยตามสัญญา
มีปัญหาคดีความปรึกษาทนายกฤษดา
0999170039