หน้าที่ผู้จัดการมรดก
หลายคนไม่ทราบว่าการเป็นหรือมีผู้จัดการมรดกแล้วมีหน้าที่อะไรบ้างซึ่งวันนี้ทางทนายกฤษดา ขออนุญาตแจกแจง แจ้งหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามข้อกฎหมายให้ทุกท่านได้ทราบ ซึ่งรายละเอียดต่างๆเป็นไปตามข้อกฎหมาย ซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ดังนี้..
1. หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว (ม.๑๗๑๖)
2. หน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดก (วันฟังคำสั่งศาลหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว ตามข้อ ๑) (ม.๑๗๒๘)
3. ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน ๑ เดือน หากไม่เสร็จภายใน ๑ เดือน ผู้จัดการมรดกร้องขอต่อศาลอนุญาตขยายเวลาอีกได้ แต่ต้องขอขยายก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน (ม.๑๗๒๙)
4. บัญชีทรัพย์มรดกต้องมีพยาน ๒ คน และต้องเป็นทายาทที่มีส่วนได้เสียในกองมรดก (ม.๑๗๒๙ วรรค ๒)
(ข้อสังเกต* คำว่าบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งจัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดกหมายถึง บัญชีทรัพย์ซึ่งผู้จัดการมรดกที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลเป็นผู้ทำ หา ใช่บัญชีทรัพย์ที่ยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่เพราะขณะทำบัญชี ทรัพย์ถือว่ายังไม่มีหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๙๒-๑๒๙๓/๒๕๑๒)
– มาตรา ๑๗๒๘, ๑๗๒๙ เป็นบทบังคับให้ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่ใช่บทบังคับให้ทำบัญชีรับและจ่ายทรัพย์มรดก
– บัญชีทรัพย์มรดกต้องมีรายการแสดงว่าเป็นทรัพย์สิน, สิทธิเรียกร้องอะไรบ้างเงินมูลค่าเท่าใดและแจ้งจำนวนเจ้าหนี้ว่ามีใครบ้าง เป็นเงินรวมเท่าใด
5. ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดหรือบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการทุจริต หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้ (ม.๑๗๓๑)
6. ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่ และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันฟังคำสั่งศาล หรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้วเว้นแต่ทายาทโดยจำนวนข้างมาก หรือศาลจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ม.๑๗๓๒)
7. ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดกเว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทจำนวนข้างมากจะได้กำหนดไว้ (ม.๑๗๒๑)
8. ผู้จัดการมรดกจะทำพินัยกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล (ม.๑๗๒๒)
9. ผู้จัดการมรดกต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง (ม.๑๗๒๓)
10. ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใด ๆ หรือประโยชน์อื่นใด อันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าให้เป็นลาภส่วนตัวย่อมไม่ผูกพันทายาท เว้นแต่ทายาท เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย (ม.๑๗๒๔ วรรค ๒)
11. ผู้จัดการ มรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนด พินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มรส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร (ม.๑๗๒๕)
12. ทายาทจะต้องบอกทรัพย์สินมรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก (ม.๑๗๓๕)
13. ผู้จัดการมรดกต้องจัดแบ่งสินมรดกและมอบโดยเร็วโดยชำระหนี้กองมรดก (ถ้ามี) เสียก่อน (ม.๑๗๔๔)
จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของผู้จัดการมรดกไม่ได้มีแต่ไปโอนที่ดินหรือเก็บทรัพย์สินไว้กับตนแต่เพียงผู้เดียวขอบคุณครับ
มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการมรดกปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th