Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ รวมคำพิพากษาฎีกา สู้คดีรถชน (ละเมิด)

รวมคำพิพากษาฎีกา สู้คดีรถชน (ละเมิด)

105699

รวมคำพิพากษาฎีกา สู้คดีรถชน (ละเมิด)

lamerd
778/2532
แม้พนักงานอัยการจะ ได้ฟ้องขอให้ลงโทษ ส. ลูกจ้างของ โจทก์และจำเลยที่ 1 ฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส และรถยนต์ทั้งสองคันเสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 และ ศาลพิพากษาลงโทษ ส. แต่ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม เมื่อโจทก์ ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากมูลกรณีรถชนกัน และในข้อหา ความผิดต่อ พ.ร.บ. จราจรทางบก โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายที่มี อำนาจฟ้องหรือขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ พนักงานอัยการจึงไม่อยู่ในฐานะฟ้องคดีอาญาแทนโจทก์ ผล แห่งคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ใน ทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ที่ ส. ลูกจ้าง โจทก์เป็นผู้ขับ เพราะโจทก์ไม่ใช่คู่ความรายเดียวกัน จึง ต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งใหม่.

4390/2531

คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ราษฎรย่อมไม่เป็นผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นอนุญาต ให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาโดยจำเลย เป็นผู้ฎีกา แม้ศาลฎีกาพิพากษายืน ก็ให้ยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม

3869/2531
จำเลยขับรถยนต์โดยสารแซงรถยนต์บรรทุกของโจทก์และชน รถยนต์บรรทุกของโจทก์ในขณะที่รถยนต์บรรทุกของโจทก์กำลังเลี้ยวขวา แม้รถยนต์บรรทุกไม่ได้เลี้ยวตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด แต่การที่ รถยนต์บรรทุกของโจทก์ขับชิดทางด้านซ้ายตลอดมาจนกระทั่งเกิดเหตุ ไม่ได้ขับชิดทางด้านขวาของเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนในขณะให้สัญญาณไฟ เลี้ยวขวาเพื่อเป็นการเตรียมที่จะเลี้ยวขวา ดังนี้ รถยนต์บรรทุก ของโจทก์มีส่วนประมาท ก่อให้เกิดความเสียหายอยู่ด้วย โจทก์จึงควรมีส่วนรับผิดในค่าเสียหายที่รถยนต์โดยสารก่อขึ้น หนึ่งในสาม

3557/2531
การที่จำเลยขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส และรถจักรยานยนต์ ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายนั้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) ประกอบด้วย มาตรา 157 และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 การกระทำของ จำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อันเป็นบทหนัก เมื่อเกิดเหตุชนแล้ว จำเลยได้หลบหนีและไม่ให้ความช่วยเหลือ ผู้เสียหาย ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง ทันที เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากผู้เสียหายได้ขับ รถจักรยานยนต์ชนรถยนต์คันที่จำเลยเป็นผู้ขับขี่ตัดหน้าซึ่งเป็น การกระทำโดยเจตนาของจำเลยแยกต่างหากจากการกระทำครั้งแรก อันเป็นเรื่องต่างกรรม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง

2509/2531
ข้อเท็จจริงในคด๊อาญาตามคำพิพากษาถึงที่สุดที่จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนรถ ผู้อื่นเสียหายตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ไปเฉี่ยวชนรถเก๋งของ ส. ได้รับความเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็น บริษัทประกันภัยมาฟ้องเป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ทั้งสองโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกดังกล่าวโดยประมาทเฉี่ยวชนรถของ ส. เสียหายและ โจทก์ได้ซ่อมแซมรถของ ส. ไปแล้ว จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้อง เช่นนี้ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจาราณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติ ให้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดี ส่วนอาญานั้น ย่อมใช้บังคับกับผู้ที่เป็นคู่ความในคดี อาญาเท่านั้นหรือในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ก็ใช้ บังคับกับผู้ที่เป็นผู้เสียหายในคดีอาญานั้นด้วย แต่ข้อหา ในคดีอาญาที่จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องดังกล่าวเป็นความผิดซึ่ง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนหรือ ส. เจ้าของรถที่ถูก เฉี่ยวชนมิใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว จึงมิได้เป็น คู่ความในคดีนั้น หาก ส. ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจาก จำเลยที่ 2 ในมูลกรณีเดียวกันนี้ ก็ไม่ผูกพันที่จะต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาที่จำเลยที่ 2 ถูก ฟ้อง ฉะนั้น โจทก์ซึ่งอ้างว่ารับช่วงสิทธิของ ส. ย่อมจะไม่ ต้องผูกพันให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาดังกล่าว ด้วย เป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งกันใหม่ โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และเริ่มสืบพยานโจทก์ด้วยการ ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่น และเมื่อสืบพยานประเด็นโจทก์ได้ 2 ปาก โจทก์ขอเลื่อนคดีนัดนั้นและ 3 นัดต่อมา แล้วโจทก์ขอ ให้ส่งประเด็นคืนศาลเดิม ศาลเดิมนัดสืบพยานโจทก์แต่โจทก์ ขอเลื่อนคดี 2 ครั้ง ครั้งแรกอ้างเหตุทนายความป่วย ครั้งที่ สองอ้างเหตุผลว่าเอกสารที่ส่งมาไม่ใช่เอกสารที่ประสงค์ขอ อ้าง ครั้นถึงครั้งที่สาม ผู้รับมอบฉันทะโจทก์มาศาลยื่นคำร้อง ของโจทก์ขอเลื่อนคดีอ้างว่าโจทก์ถอนทนายคนเดิม และไม่ สามารถตั้งทนายใหม่ได้ทัน ทนายจำเลยที่ 2 คัดค้าน ศาลชั้นต้น ไม่อนุญาตปรากฏว่าก่อนที่ศาลจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีใน นัดที่สาม ศาลได้กำชับว่าในนัดหน้าหากไม่มีพยานมาศาล ให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน และในวันที่ศาลนัดเป็นนัด ที่สามโจทก์มีพยานบุคคลที่จะสืบอีก 2 ปาก เป็นพยานหมาย แต่ โจทก์มิได้ขอให้ศาลหมายเรียพพยานดังกล่าว ทั้งมิได้ขอให้ศาล ออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลภายนอกมาประกอบการสืบพยานบุคคล อีกด้วย ประกอบกับปรกกฏจากคำฟ้องและใบแต่งทนายความว่า ทนายความ ที่โจทก์อ้างว่าได้ถอนจากการเป็นทนายมีสำนักงานอยู่ที่ ที่สำนักงานโจทก์ จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการถอนทนายจริง พฤติการณ์โจทกืเป็นการไม่ใส่ใจในการดำเนินคดีและประวิงคดี ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
แหล่งที่มา :

1955/2531 หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำ หนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ ซึ่งออกตาม ความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21, 22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น อันมีผลเท่ากับเป็นการปฎิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของ โจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดี มาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปี คดีของโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาท เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิด ต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับ จำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้อง รับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ เรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อ พ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
แหล่งที่มา :

1141/2531 เจ้าของรถที่เสียหายเพราะถูกรถที่จำเลยขับชนมิใช่ผู้ที่ ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกที่โจทก์ฟ้องอันเป็นความผิดเกี่ยวกับ รัฐ จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการ.
แหล่งที่มา :

26/2531 จำเลยขับรถจักรยานยนต์หลบหลีกเข้าไปในช่องทางเดิน รถโดยสารประจำทางชนผู้เสียหายอย่างแรงตรงทางม้าลาย จนเป็นเหตุ ให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ในขณะที่รถคันอื่น ๆ ต่างจอดรถให้ผู้เสียหายเดินข้ามถนนไปก่อนพฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการขับขี่รถที่ขาดความสำนึกที่ดี เป็นการประมาทอย่าง ร้ายแรงแม้จำเลยจะมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว เคยมี ความประพฤติดี และไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ก็ไม่สมควร รอการลงโทษ
แหล่งที่มา :

4738/2530 จำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์มาถึงทางแยกก่อนจนแล่นเข้าไปอยู่ ในช่องทางเดินรถช่องที่ 1 จะถึงช่องที่ 2 อยู่แล้ว รถยนต์ ที่ ส. ขับจึงชนรถจักรยานยนต์ของจำเลย ในลักษณะเช่นนี้ รถยนต์ของ ส. จะต้องให้รถจักรยานยนต์ของจำเลยผ่านไปก่อนตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71 (1) ส. ขับรถยนต์ด้วย ความเร็วสูงมากและไม่ลดความเร็วเมื่อถึงทางร่วมทางแยก แม้จะเป็นทางเอกก็เป็นฝ่ายประมาท.
แหล่งที่มา :

3189/2530 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมต่างวาระกัน รวมจำคุก 7 ปี และปรับ 1,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลย บทหนักกรรมเดียว จำคุก 1 ปี 6 เดือน เช่นนี้ เป็นเพียงการแก้ไข เล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี คู่ความต้องห้ามฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โจทก์ ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมโดยรู้สึก ความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น หากแต่จำเลย พยายามบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับผิดมาแต่ต้นขอให้ลงโทษ จำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์เป็นการคัดค้าน ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดโทษจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
แหล่งที่มา :

2689/2530 สี่แยกที่เกิดเหตุไม่มีสัญญาณไฟจราจร และรถของจำเลยกับรถ ของ ป. แล่นมาคนละทางแล้วชนกันตรงบริเวณสี่แยก ปรากฏว่ารถ ของ ป. แล่นมาถึงสี่แยกก่อน จำเลยจึงจะต้องหยุดหรือชะลอ รถของจำเลยแล้วปล่อยให้รถของ ป.ผ่านไปก่อน แต่จำเลยกลับ ขับรถต่อไปจนเกิดเหตุชนกันขึ้น ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็น ฝ่ายขับรถโดยประมาท
แหล่งที่มา :

2096/2530 ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เป็นความผิดที่รัฐมีหน้าที่ดำเนินการกับผู้กระทำผิด ผู้เสียหายซึ่งถูกจำเลยขับรถชนมิใช่ผู้เสียหายในความผิด ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ของผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก
แหล่งที่มา :

1554/2530 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏในทาง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยอัตราความเร็วต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดและเข้าสี่แยก ในขณะมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้รถทางตรงในเส้นทาง ของจำเลยที่ 2 แล่นผ่านไปได้ ส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถเลี้ยวขวา ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรตัดหน้ารถของจำเลยที่ 2 จนเป็นเหตุให้ชนกันขึ้น ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทฝ่ายเดียว
แหล่งที่มา :

197/2530 เจ้าของรถยนต์คันที่ผู้ตายขับขี่และเกิดเหตุชนกับรถยนต์บรรทุก อีกคันหนึ่งซึ่งขับด้วยความประมาทไม่ใช่ผู้เสียหาย หรือผู้มีอำนาจ จัดการแทนผู้เสียหายในความผิด ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตราย แก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 291, 390 และความผิดตาม พ.ร.บ. จราจร พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 จึงไม่อาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับ พนักงานอัยการได้ แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่อำนาจฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมยก ปัญหาดังกล่าวไปวินิจฉัยได้ จำเลยขับรถยนต์บรรทุกออกจากไหล่ถนนและเลี้ยวขวาทันทีโดยไม่ได้ ใช้ความระมัดระวังดู รถที่แล่นมาในช่องทางเดินรถว่ามีรถแล่นมาหรือไม่ เป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งขับรถมาในช่องทางดังกล่าว หยุดรถไม่ทันและ หักหลบไม่พ้น จึงพุ่งชนท้ายรถจำเลยทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และ ว. จ. กับ อ. ซึ่งนั่งมาในรถที่ผู้ตายขับได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291, 300 ลงโทษ บทหนักตามมาตรา 291
แหล่งที่มา :

4721/2529 ขณะเกิดเหตุรถของจำเลยที่ 2 กำลังจอดอยู่กลางถนนจำเลยที่ 2 พยายามจะเคลื่อนรถให้พ้นจากการกีดขวางบนถนน แต่ทำไม่ได้ จึงได้เปิดไฟกะพริบหน้าหลังและเปิดไฟใหญ่หน้ารถไว้เป็นที่ สังเกต นับว่าเป็นการกระทำตามสมควรที่จำเลยที่ 2 จะกระทำได้ใน สถานการณ์เช่นนั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่ารถของตนกีดขวางการจราจร บนถนนอยู่ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถมาโดยเร็ว แล้วชนรถของ จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้มี คนได้รับอันตรายแก่กายและอันตรายสาหัส จึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว มิใช่เป็นผลจาก การกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วยจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐาน กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและอันตรายสาหัส
แหล่งที่มา :

4185/2529 จำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถด้านซ้ายมีรถบรรทุกสิบล้อ แล่นตามหลังหนึ่งคันและรถบรรทุกหกล้อที่จำเลยที่ 1 ขับตามมาอีกหนึ่งคัน การที่จำเลยที่ 2 ขับรถเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา อันเป็นระยะกระชั้นชิด กับช่วงที่จำเลยที่ 1 จะขับรถแซง โดยจำเลยที่ 2 มิได้ระมัดระวังดูรถ ที่แล่นตามมาทางด้านขวาให้ปลอดภัยเสียก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะให้สัญญาณไฟเลี้ยวหรือไม่ก็ตาม และการที่จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกหกล้อด้วยความเร็วสูงมากแซงรถบรรทุกสิบล้อคันหนึ่ง และจะแซงรถจำเลยที่ 2 ในคราวเดียวกัน โดยปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถของจำเลยที่ 2 ซึ่งเปลี่ยนช่องเดินรถออกมาทางขวา ดังนี้ เหตุชนกันจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ของผู้ตาย จึงไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจ ร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
แหล่งที่มา :

993/2527 โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสระหว่างพิจารณาผู้เสียหายถึงแก่ความตาย และได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมแล้วโจทก์จึงขอแก้ฟ้องเป็นขอให้ ลงโทษจำเลยฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายดังนี้ กรณีมีเหตุอันควรและสมควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา163ศาลจะไม่อนุญาต ให้โจทก์แก้ฟ้องเพราะเหตุเพียงว่าหากอนุญาตแล้วจะไม่มีอำนาจพิจารณา พิพากษาหาได้ไม่ เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องแล้วคดีเกินอำนาจศาลชั้นต้น ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15 ศาลฎีกา จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องและให้โจทก์นำคดีไปฟ้องต่อศาลชั้นต้น ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
แหล่งที่มา :

2288/2526 ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 51 (2) (จ) ที่บัญญัติว่าเมื่อรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่สวนมา ในทางเดินรถทางเดียวกันผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน เมื่อเห็นว่า ปลอดภัยแล้วจึงให้เลี้ยวขวาไปได้ เป็นบทที่ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ ในทางเดินรถที่ไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร หากใน ทางเดินรถใด มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรบังคับไว้โดยเฉพาะ ผู้ขับขี่ก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาและเครื่องหมายจราจรนั้นตามมาตรา 21, 22 การที่จำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์เลี้ยวขวาที่บริเวณสี่แยก ในขณะที่มี สัญญาณไฟจราจรลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวขวานั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งขับขี่รถ มาในทางตรงและมีสัญญาณไฟจราจรสีแดงมีหน้าที่จะต้องหยุดรถ อยู่ หลังเส้นให้รถหยุดตามมาตรา 22 (2) จะนำมาตรา 51 (2) (จ) มาใช้บังคับในทางเดินรถที่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร หาได้ไม่ เมื่อรถที่จำเลยที่ 2 ขับมาชนรถที่จำเลยที่ 1 ขับขณะ เลี้ยวขวาบริเวณสี่แยกดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมิได้เป็นผู้ขับขี่รถยนต์ โดยประมาท
แหล่งที่มา :

2243/2526 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบกโดยบรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายได้รับ บาดเจ็บถึงทุพพลภาพและป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20วัน หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยภายหลังวันเกิดเหตุเพียง 13 วัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจ ที่จะรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้วพิพากษาคดีโดย ไม่สืบพยานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176
แหล่งที่มา :

2278/2525 โจทก์ฟ้องด้วยวาจาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ว่าจำเลย กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัส และกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก ปรากฏในบันทึก คำฟ้องของศาลว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 31มิถุนายน 2524 อันเป็นวันภายหลังที่โจทก์ฟ้อง แต่ปรากฏตามบันทึกการตกลงชดใช้ ค่าเสียหายและคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าจำเลยกระทำผิด เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2524 และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2524 จำเลยมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน ในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยก็ยังได้ยื่นคำร้องยอมรับสารภาพว่าได้กระทำ ความผิดจริงแสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ การที่ศาลบันทึกวันกระทำผิดของจำเลย ผิดพลาดไปเป็นเรื่องของความพลั้งเผลอจึงหาใช่เป็นการฟ้องกล่าวหา ว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้องไม่ศาลพิพากษาลงโทษ จำเลยได้
375/2541 การที่ศาลมีคำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย เกิดขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดต่อ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติห้ามมิให้ ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่ง วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นทีอธิบดีกำหนดโดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งนอกจากต้องถูกลงโทษตาม มาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ยังมีบทบัญญัติในวรรคนี้เอง บัญญัติให้ศาลสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณา คดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ กฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประสาทของยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศ ลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็น ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 การที่พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ห้ามผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ เฉพาะวัตถุ ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุ ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น เมื่อต่อมาภายหลังเมทแอมเฟตามีน เปลี่ยนจากวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ซึ่งมีผล นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง อีกต่อไป ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกา ขึ้นมาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มี อำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185, 195 วรรคสอง, 215 และ 225 และมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57 ต้องรับโทษตามมาตรา 91 อันเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมาย ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำคุก 1 ปีลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก 6 เดือน ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ อันเป็น กฎหมายขณะกระทำความผิดซึ่งมีโทษเบากว่าเป็นคุณแก่ จำเลยจึงชอบแล้วเมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้
แหล่งที่มา :

6663/2540 ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 การเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็น วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ซึ่ง จำเลยผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 106 ตรี ต่อมา ก่อนการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2539 ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภท วัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิต และประสาท พ.ศ. 2518 เดิมทุกฉบับ และให้วัตถุออกฤทธิ์ ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว ไม่ได้ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภท ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ระบุไว้ ในบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติด ให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เท่านั้น จึงมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ผู้กระทำ ความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 91 และไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่าง กับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมาย ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก สำหรับข้อหาความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฎิบัติหน้าที่ เป็นผู้ประจำรถเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมาย ว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิ แม้การเสพเมทแอมเฟตามีน จะไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 102(3 ตรี) เพราะภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าว เมทแอมเฟตามีน ไม่ถือเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามกฎหมายว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่ความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาต ปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 102(3 ทวิ) และมาตรา 127 ทวิ และมีโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มิได้ถูกยกเลิกไป จึงมิใช่ กรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติภายหลังยกเลิกความผิด ดังกล่าวหรือบัญญัติให้เป็นคุณตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 และ 3 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อไม่มีกรณีที่จะต้องปรับบท ด้วยกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำของจำเลยยังคงเป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ ในขณะกระทำความผิด ส่วนข้อหาความผิดฐานจำเลยเป็นผู้ขับขี่ เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดย ฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิด ดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไปแต่ ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) ดังกล่าว และ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษ ผู้ขับขี่ซึ่งเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ อันเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ซึ่งต้องให้ผู้ที่ได้ กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิด ตามบทกฎหมายดังกล่าว และศาลไม่อาจสั่งจำเลยให้พักใช้ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลย ตามบทกฎหมายดังกล่าวตามคำขอ ท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 185, 215 และ 225 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือ เฉพาะบทความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ตรี และ 106 ตรี และพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิ เท่านั้น ซึ่งต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต และ ประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ตรี และ 106 ตรี อันเป็นบทหนักที่สุด
แหล่งที่มา :

6142/2540 ขณะจำเลยกระทำความผิด การเสพเมทแอมเฟตามีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ตรี ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ตรี ระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2539) ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ เดิมทุกฉบับ และให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทฯ ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศ กระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมิได้ระบุให้เมทแอมเฟตามีน เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์อีกต่อไป ต่อมารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภท ยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีน เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษฯ เท่านั้น จึงมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีน เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57 ต้องรับโทษตามมาตรา 91 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทฯ อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลัง การกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง เมื่อระวางโทษตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรี และ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 ต่างเป็นคุณ ต่อผู้กระทำความผิดคือถ้าดูในโทษขั้นสูงแล้ว พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรี เป็นคุณกว่า เพราะจำคุกอย่างสูงเพียงห้าปี แต่พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 ลงโทษอย่างสูงได้ถึงสิบปี แต่ถ้าดูโทษขั้นต่ำแล้ว พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 เป็นคุณกว่าเพราะจำคุกตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป แต่พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรี จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ฉะนั้น ถ้าศาลลงโทษจำคุกในอัตราขั้นสูงต้องใช้พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ เพราะเป็นคุณแก่จำเลย แต่ถ้าจะจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำต้องใช้พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษฯ เพราะเป็นคุณแก่จำเลย คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำคุก 1 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน การวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมาย ขณะกระทำความผิด คือ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทฯ ก็ได้ หรือใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลัง การกระทำความผิด คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายขณะกระทำความผิด ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ จึงชอบแล้ว ข้อหาความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุออกฤทธิ์ ต่อจิต และประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคหนึ่งนั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิด เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) และ พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ไม่มีบทบัญญัติลงโทษ ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษดังเช่น พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 แล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิด ตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ ในข้อหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185, 215 และ 225 การเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ขับรถยนต์ในทางสาธารณะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เป็นผลให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บล้มตายซึ่งเป็นการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจและสังคม นับได้ว่าเป็นภยันตรายที่ร้ายแรง ปรากฏให้เห็นเป็นประจำในสังคมปัจจุบัน การลงโทษสถานหนัก โดยให้จำคุกเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันและปรามปราม หยุดยั้งมิให้มีการกระทำความผิดเช่นนี้อีก จึงไม่สมควร รอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
แหล่งที่มา :

5987/2540 จำเลยขับรถบรรทุกเสพเมทแอมเฟตามีน โจทก์ขอให้ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พระราชบัญญัติจราจรทางบก และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ต่อมามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้เมทแอมเฟตามีนเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ศาลต้องยกฟ้องข้อหานี้ และให้ยกคำขอพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เสพเมทแอมเฟตามีนขับรถบรรทุกเป็นภัยร้ายแรง ไม่รอการลงโทษ
แหล่งที่มา :

5296/2540 จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงบนถนนที่ลื่นเพราะ ผิวจราจรเปียกและมีเศษดินตกอยู่ทั่วไปแล้วแซงรถยนต์คันอื่น ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนชนรถที่แล่นสวนทางมา เป็นการขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อเป็นเหตุให้ผู้ขับและผู้ที่โดยสารอยู่ในรถที่แล่นสวนทางมา ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับอันตรายสาหัส 4 คน และ ถึงแก่ความตายในวันเกิดเหตุ 4 คน โดยที่ผู้ได้รับอันตรายสาหัส รายโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นกะโหลกศีรษะแตกร้าว มีเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองและตับแตก จึงสมควรที่จะต้อง ลงโทษจำเลยในสถานหนัก ส่วนการที่จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แต่เพียงบางส่วนและช่วยออกค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายผู้เสียหาย และโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 นั้น พอถือเป็นเหตุปรานี ให้รับโทษสถานเบาได้ แต่ไม่อาจถือเป็นเหตุรอการลงโทษให้ได้ เพราะไม่อาจชดเชยกับความสูญเสียและความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ที่เกิดแก่บรรดาผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติพี่น้องของผู้ตาย และผู้ได้รับบาดเจ็บได้ ทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยต้องรับผิด ในทางแพ่งอยู่แล้ว
แหล่งที่มา :

2849/2540 จำเลยขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้อง ใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ จำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา เพื่อให้ความผิดทั้งหมดเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกัน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2), 160 วรรคสาม ตามฟ้องได้
แหล่งที่มา :

2100/2540 แม้จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนเพียงอย่างเดียวก็เป็นความผิดสำเร็จในทันทีที่เสพ แต่ความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุออกฤทธิ์ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ และ ฐานเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถยนต์ไปตามทางหลวงและทางสาธารณะโดยขณะขับรถได้ เสพเมทแอมเฟตามีน การกระทำดังกล่าวยังอาศัยองค์ประกอบความผิดฐานเสพ เมทแอมเฟตามีนประกอบกับการขับรถยนต์ด้วยจึงจะเป็นความผิด ดังนั้น การที่โจทก์ ฟ้องว่าภายหลังจากจำเลยได้เสพเมทแอมเฟตามีนเข้าสู่ร่างกายแล้ว จำเลยได้ปฏิบัติ หน้าที่เป็นผู้ขับรถจึงเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำหลายอย่างประกอบกันซึ่งการเสพ เมทแอมเฟตามีนเป็นเพียงองค์ประกอบความผิดส่วนหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็น กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
แหล่งที่มา :

978/2540 จำเลยขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นและขับรถด้วย ความเร็วสูง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทอันเป็นการ กระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้รถคันที่จำเลย ขับข้ามเกาะกลางถนนไปชนรถคันอื่นและบ้านของผู้อื่นได้รับ ความเสียหายและมีผู้ได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นการกระทำ กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
แหล่งที่มา :

7194/2539 คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 เวลากลางคืนหลังเที่ยงจำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมาย (ก) จำเลย ได้เสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เข้าสู่ ร่างกายโดยวิธีรับประทานอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย (ข) จำเลยซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถยนต์บรรทุกได้ปฎิบัติ หน้าที่ผู้ประจำรถโดยเป็นผู้ขับรถยนต์บรรทุกไปตามทางหลวง และถนนสาธารณะโดยขณะขับรถได้เสพเมทแอมเฟตามีนตามคำฟ้อง ข้อ (ก) เข้าสู่ร่างกายโดยวิธีรับประทาน อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ กฎหมาย ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนต่างเวลา และต่างจำนวนกัน แต่กลับยอมรับว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลย เสพตามฟ้อง ข้อ (ก) กับที่จำเลยเสพขณะขับรถยนต์บรรทุกตามฟ้อง ข้อ (ข) เป็นจำนวนเดียวกันและเสพในครั้งหนึ่งคราวเดียวกัน แม้การเสพเมทแอมเฟตามีนเพียงอย่างเดียวจะเป็นความผิดสำเร็จ ในตัวเอง แต่ความผิดฐานขับรถยนต์บรรทุกไปตามทางหลวงและ ทางสาธารณะโดยขณะขับรถได้เสพเมทแอมเฟตามีนก็เป็นกรรมเดียว ที่เกิดจากการกระทำหลายอันเพราะต้องอาศัยองค์ประกอบความผิด คือการเสพเมทแอมเฟตามีนประกอบกับการขับรถไปตามทางหลวง หรือทางสาธารณะด้วยจึงจะเป็นความผิดดังนั้น การกระทำของจำเลย ตามฟ้องจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
แหล่งที่มา :

6973/2539 จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนในขณะปฎิบัติหน้าที่ขับรถยนต์ซึ่งตาม ลักษณะและสภาพความผิดการกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
แหล่งที่มา :

2659/2539 กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ตาย ค่าปลงศพ ผู้ตายรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ และค่า ขาดไร้อุปการะ เนื่องจากเหตุที่ผู้ตายได้รับอันตรายแก่ร่างกาย และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมานั้นเป็นปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายหรือไม่ อันเป็นประเด็นในคดีอาญา ที่พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุ ให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ซึ่งโจทก์เป็นผู้เสียหายตามนัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4), 5 (2) ใน ส่วนนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษา คดีส่วนแพ่งศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษา คดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 แม้โจทก์จะมิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีอาญาด้วย โจทก์ก็ต้อง ผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญานั้น โจทก์ร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้อง ของพนักงานอัยการ ที่ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโดยพิจารณาตามคำฟ้อง ที่ได้บรรยายว่าผู้ตายได้กระทำผิดด้วย โจทก์จึงไม่ใช่ ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ เป็นการวินิจฉัยว่า มีเหตุที่จะอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์โดยอาศัยสิทธิตาม คำฟ้องนั้นได้หรือไม่ มิใช่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ที่จะถือเป็นยุติว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย ดังนั้นในข้อหาที่ พนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตาย ถึงแก่ความตายอันเป็นประเด็นโดยตรงที่จำเลยถูกฟ้อง ยังต้อง ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามนัยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น การที่โจทก์มิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ เกิดผลที่จะให้ศาลในคดีส่วนแพ่งไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตาม คำพิพากษาคดีส่วนอาญา ส่วนในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ ของโจทก์เป็นเงิน 20,113 บาท กับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของ โจทก์เพื่อติดต่อสอบถามดำเนินการอันเนื่องมาจากเหตุรถชนกัน เป็นเงิน 5,000 บาท นั้น เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลย ทำละเมิดต่อตัวทรัพย์ของโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ในคดีอาญาที่พนักงาน อัยการฟ้องจำเลย โดยเป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับข้อหาที่ จำเลยถูกฟ้องตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 ที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ดังนั้น ในส่วนนี้โจทก์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ในการ พิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎ ในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่เป็นกรณีที่ต้องฟังข้อเท็จจริง กันใหม่จากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันมาในสำนวนคดีนี้
แหล่งที่มา :

1770/2539 ก่อนเกิดเหตุ มีผู้โดยสารเคาะกระจกให้จำเลยที่ 1 จอดรถจำเลยที่ 1 จึงจอดรถเข้าข้างทางให้ผู้โดยสารลง ขณะที่ผู้โดยสารกำลังลงจากรถ จำเลยที่ 2 ก็ขับรถจักรยานยนต์ แล่นมาชนท้ายรถของจำเลยที่ 1 แม้จะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถเร็ว แต่พฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่า จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ตามหลังรถของจำเลยที่ 1 ด้วยความประมาท โดยไม่เว้นระยะห่างพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถโดยปลอดภัย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 157
แหล่งที่มา :

1765/2539 พนักงานอัยการและผู้ร้องต่างฟ้องจำเลยเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 และพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ แต่ผู้ร้องได้ขอถอนฟ้องคดีของตน และยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็น โจทก์กับพนักงานอัยการ แม้ว่าผู้ร้องอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้โดย ไม่จำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้า ร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่ผู้ร้อง เพิ่งจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังจากที่ได้ถอนฟ้องคดีเดิม ไปแล้วเป็นเวลานานกว่า 10 เดือน แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะถอนฟ้อง จำเลยเด็ดขาดแล้วตั้งแต่ต้นตามความหมายใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญา มาฟ้องของผู้ร้องจึงระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
แหล่งที่มา :

1078/2539 จำเลยเสพแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ขณะที่ขับรถยนต์เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงเป็นการกระทำ อันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความ ยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
แหล่งที่มา :

680/2539 ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องและลงโทษต่ำกว่า ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง แต่โจทก์ มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษจำเลย ให้สูงขึ้นอีกได้
แหล่งที่มา :

9334/2538 หลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษา เสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดี ซ้ำสองแก่จำเลยทั้ง จะต้องปรากฎว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูก ฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฎว่าคดีก่อนเป็นการ ฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าเป็นการกระทำกรรม เดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้อง และศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดี มาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะ ดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลย ขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส. โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้อง จำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส. โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็น ลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังปรากฎด้วยว่า ทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้ และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียง แต่นำนางส. มารดาเด็กหญิง ส. ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อ หวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์ คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีก เท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย อย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับ ไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่า ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลย เคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าว นั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาล ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการ ดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์ หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวน ไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาให้ข้อหาความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็น ว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แหล่งที่มา :

5594/2538 ขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถมาตามถนนรัชดาภิเษกขาเข้ามุ่งหน้า จะไปห้วยขวางด้วยความเร็วประมาณ 70-80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เป็นการใช้ความเร็วไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งก่อน เกิดเหตุชนกันรถของจำเลยแล่นอยู่ในทางตรงและขณะผ่านสี่แยก ที่เกิดเหตุ ช่องเดินรถของจำเลยได้รับสัญญาณไฟเขียว เมื่อ ปรากฏว่าชนกับรถของ พ. ซึ่งแล่นมาตามถนนรัชดาภิเษกขาออก จะเลี้ยวขวาเข้าถนนสุทธิสารย่อมแสดงว่า พ. เป็นผู้ฝ่าฝืน สัญญาณไฟแดงเลี้ยวขวาตรงสี่แยกที่เกิดเหตุตัดหน้ารถจำเลย ทำให้ ภ. ซึ่งโดยสารมากับรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตาย ดังนี้ ผลที่ เกิดขึ้นหาได้เป็นผลโดยตรงมาจากการที่จำเลยมิได้ชะลอความเร็ว ของรถลงแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
แหล่งที่มา :

2870/2538 ข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 4 มกราคม 2529 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 8 มิถุนายน 2537 คดีของโจทก์สำหรับ ความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำ คดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) ปัญหานี้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
แหล่งที่มา :

1930/2538 ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องมีเพียง 194,114.18 บาท จึงไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เหตุพิพาทคดีนี้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2 แม้ศาล จะฟังว่ารถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋งก็เป็นเหตุสุดวิสัย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาท มิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทมาตรา ดังกล่าวข้างต้น ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 46, 157 รัฐเป็น ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญา ดังกล่าว ในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า รถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์ รับประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใด ศาลจึง กำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหาย กับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหาย มีเพียงใด โจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวน หาได้ไม่
แหล่งที่มา :

1118/2538 พระราชบัญญัติ ญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 มาตรา 30 เป็นการแก้ไข พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(1)(2)(5) หรือ (8) และมาตรา 78 เมื่อโจทก์มิได้ ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(1)(2)(5) หรือ (8) และมาตรา 78 มาด้วยจึงไม่ต้องปรับ บทลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 มาตรา 30

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมทนายกฤษดา
0999170039
IMG_0548-0

Facebook Comments