กรณี ” มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น แต่ไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในกิจการของบริษัทฯ รวมถึงไม่เคยเข้าร่วมกิจการตามสิทธิของผู้ถือหุ้น เช่นนี้จะถือว่าเป็นผู้ถือหุ้น อันจะเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาของผู้แทนบริษัท ”
หรือไม่ ?
สำหรับในกรณีข้างต้น เห็นได้ว่าเพียงแต่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น แต่ไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในกิจการของบริษัทฯ รวมถึงไม่เคยเข้าร่วมกิจการตามสิทธิของผู้ถือหุ้น เช่นนี้จะถือว่าเป็นผู้ถือหุ้น อันจะเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาของผู้แทนบริษัท หาได้ไม่ จึงไม่เป็นผู้เสียหาย อันจะมีอำนาจฟ้องผู้แทนบริษัทดังกล่าว
ดังผมจะยกตัวอย่างแนวคำพิพากษาฎีกา ซึ่งเป็นฎีกาใหม่ ล่าสุด ปี ๒๕๕๘ ดังต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 12716/ 2558
ป.พ.พ. มาตรา 1169 ที่บัญญัติว่า ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้องผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ ถือเป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัท เฉพาะการเรียกค่าสินไหมทดแทน แต่การพิจารณาอำนาจฟ้องในคดีอาญา ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติในทางอาญา เมื่อโจทก์ทั้ง 7 เพียงมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นที่ได้รับโอนมาจาก ว. ตั้งแต่เป็นผู้เยาว์ ทั้งไม่ได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้น หรือได้รับมอบในหุ้น ซึ่งเป็นใบสำคัญสำหรับหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนในกิจการของบริษัทเมื่อพ้นภาวะการเป็นผู้เยาว์ ไม่ได้เข้าร่วมกิจการตามสิทธิของผู้ถือหุ้น เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น ร่วมรับกำไรหรือขาดทุนจากกิจการนั้น และไม่เคยมีส่วนได้ส่วนเสียจากกิจการของบริษัท อันจะฟังได้ว่าเป็นผู้ถือหุ้น ของบริษัท ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งจากการบริหารจัดการบริษัทของ ว.ซึ่งมีอำนาจเด็ดขาดในลักษณะของการบริหารกิจการเจ้าของคนเดียว โจทก์ทั้ง 7 ไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 ( 4) ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
นายเกรียงศักดฺิ์ นวลศรี
น.บ น.บ.ท วิชาชีพว่าความ ที่ปรึกษากฎหมาย
ผู้เขียนคอลัมน์กฎหมายง่ายนิดเดียว นิตยาสารพิดโลก มาร์เก็ต ในเครือพิษณุโลกธุรกิจ
และ ผู้เขียนบทความในเว็บตั๋วทนาย.com