Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เมื่อมีการกู้เพิ่ม หากลูกหนี้ไม่ได้เซ็นต์กำกับฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่

แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เมื่อมีการกู้เพิ่ม หากลูกหนี้ไม่ได้เซ็นต์กำกับฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่

9271

loanpr
คำถาม
แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เมื่อมีการกู้เพิ่ม หากลูกหนี้ไม่ได้เซ็นต์กำกับฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่

คำตอบ
เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2507 วินิจฉัยไว้ดังนี้

เดิมจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 3,100 บาท และได้ทำหนังสือกู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยขอกู้เงินโจทก์อีก 1,400 บาท โจทก์จำเลยขอให้ผู้เขียนสัญญาแก้จำนวนเงินในหนังสือกู้การเขียนจำนวนเงินกู้เพิ่มลงไปในหนังสือกู้โดยจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในการแก้ไข ถือได้ว่าไม่มีหลักฐานลงลายมือชื่อจำเลย จึงใช้ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ ส่วนการกู้ครั้งแรกจำนวนเงิน 3,100 บาท นั้น ได้ทำหนังสือกู้และลงลายมือชื่อจำเลยในหนังสือนั้นถูกต้องตามกฎหมายโจทก์จำเลยขอให้ผู้เขียนสัญญาแก้จำนวนเงิน การแก้ก็คงไม่มีผลให้ฟ้องร้องจำเลยตามที่แก้นั้นเท่านั้นโจทก์จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามหนังสือกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ดังเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 2 คราว คือ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2502 กู้ไป 3,100 บาท และเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2502 กู้ไปอีก 1,400 บาท รวม 2 คราวเป็นเงิน 4,500 บาท จำเลยไม่เคยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ ขอให้ศาลบังคับ
จำเลยให้การว่า จำเลยเคยเป็นหนี้โจทก์ 4,500 บาท แต่ชำระไปแล้ว และโจทก์ได้คืนสัญญาให้จำเลย และตัดฟ้องว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้เป็นเอกสารปลอม
ศาลชั้นต้นเชื่อว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงดังฟ้อง จึงพิพากษาให้จำเลยใช้ต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คดีโจทก์เป็นที่สงสัย จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เดิมจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 3,100 บาทจำเลยได้ทำหนังสือกู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยขอกู้เงินโจทก์อีก 1,400 บาท โจทก์จำเลยพากันไปหานายนากผู้ใหญ่บ้านให้แก้จำนวนเงินกู้แต่โจทก์จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในการแก้ไขจำนวนเงินที่กู้ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 50 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่” การเขียนจำนวนเงินกู้เพิ่มลงไปในหนังสือกู้ที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ในการกู้ครั้งแรกนั้น จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในการแก้ไข หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในการกู้ครั้งที่สอง ฉะนั้น การกู้ครั้งที่สองจำนวนเงิน 1,400 บาท จึงไม่มีหลักฐานลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีสำหรับการกู้ครั้งที่สองไม่ได้ ส่วนการกู้ครั้งแรกจำนวนเงิน 3,100 บาทนั้น ได้ทำหนังสือกู้และลงลายมือชื่อจำเลยในหนังสือนั้นถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์จำเลยไปขอให้นายนากผู้ใหญ่บ้านแก้จำนวนเงินการแก้ก็คงไม่มีผลให้ฟ้องร้องจำเลยตามที่แก้นั้นเท่านั้น โจทก์จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามหนังสือกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ดังเดิม
จึงพร้อมกันพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยใช้ต้นเงินกู้ 3,100 บาทแก่โจทก์ ดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมสามศาลแทนโจทก์ค่าขึ้นศาลให้เสียแทนเท่าที่โจทก์ชนะคดี กับให้จำเลยใช้ค่าทนายความสามศาล 500 บาทแทนโจทก์

สรุปการที่ผู้กู้ไม่ได้เซ็นต์กำกับ มีผลเท่ากับไม่ได้ลงลายมือชื่อตามมาตรา 653 จึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี ในจำนวนเงินที่เพิ่มได้ แต่ลูกหนี้ต้องรับผิดในมูลหนี้เดิมที่ลงรายมือชื่อเอาไว้
ทางแก้ ทุกครั้งที่มีการแก้ไขต้องให้ลูกหนี้เซ็นต์กำกับนะครับ

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
0999170039

Facebook Comments